Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/75
Title: การให้บริบาลทางเภสัชกรรมสาหรับชาวพม่าในร้านขายยา อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: PHARMACUETICAL CARE FOR BURMESE AT A DRUG STORE IN AMPHOE THONG PHA PHUM, KANCHANABURI PROVICE
Authors: ธนะฐากรกุล, รัชภร
THANATHAKORNKUL, RATCHAPORN
Keywords: การให้บริบาลทางเภสัชกรรม
ชาวพม่า
ร้านขายยา
PHARMACUETICAL CARE
BURMESE
DRUG STORE
Issue Date: 6-Jul-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: ปัจจุบันมีชาวพม่าเข้ามาทางานและอาศัยอยู่ในประเทศไทยมากขึ้น และพบว่าเมื่อเจ็บป่วยร้านขายยา เป็นสถานบริการสุขภาพด่านแรกที่ชาวพม่าสามารถเข้าถึงได้ การบริบาลทางเภสัชกรรมของเภสัชกรชุมชนจึงมี ความสาคัญในการให้บริการผู้รับบริการกลุ่มนี้ การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทของเภสัชกร และผลการบริบาลทางเภสัชกรรมสาหรับชาวพม่าในร้านขายยา อาเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี สัมภาษณ์ชาว พม่าที่มาใช้บริการในร้านขายยา จานวน 360 คน ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึง 30 สิงหาคม 2558 ประมวลผลใช้ โปรแกรมสาเร็จรูปคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การบริบาลทางเภสัชกรรมในร้านขายยาพบ 4 ลักษณะหลัก คือ การจ่ายยาหรือผลิตภัณฑ์รักษาตาม อาการ การให้บริการผลิตภัณฑ์/ยาตามที่ลูกค้าระบุและให้คาแนะนา การคัดกรองโรคเรื้อรังการส่งต่อ โดยพบการ จ่ายยาหรือผลิตภัณฑ์รักษาตามอาการมากที่สุด (ร้อยละ 70.27) รองลงมา คือ การให้บริการผลิตภัณฑ์/ยาตามที่ ลูกค้าระบุ และให้คาแนะนาเพิ่มเติม (ร้อยละ 27.22) การบริบาลด้านการคัดกรองโรคเรื้อรัง (ร้อยละ 1.11) โดย ทั้งหมดเป็นคัดกรองโรคความดันโลหิต และมีการส่งต่อเพื่อไปรับการรักษาจากแพทย์ (ร้อยละ 0.83) การประเมินปัญหาเกี่ยวกับยาในครั้งแรก ณ วันที่มารับบริการ และวันที่ติดตามผล 1 สัปดาห์หลังรับ บริการ พบปัญหาการร่วมมือในการใช้ยามากที่สุด ณ วันที่มารับบริการ ร้อยละ 9.72 และ ณ วันที่ติดตามผลร้อยละ 7.22 ตามลาดับ รองลงมาคือ ได้รับยาที่ไม่มีความจาเป็นสาหรับโรคหรืออาการที่เป็นอยู่ ณ วันที่มารับบริการ ร้อย ละ 9.44 และ ณ วันที่ติดตามผลร้อยละ 3.34 ตามลาดับ ปัญหาที่พบ เช่น การใช้ยาคุมกาเนิดผิดวิธี การใช้น้าเกลือ ทางหลอดเลือดเมื่อ อ่อนเพลีย การใช้ยาชุด และการใช้ยาปฎิชีวนะไม่ครบขนาดและใช้ยาไม่สอดคล้องกับอาการที่ เป็น การบริบาลที่ใช้แก้ไขปัญหาที่พบ คือ การให้คาแนะนาเกี่ยวกับการใช้ยา พร้อมทั้งใช้ฉลากช่วยที่เป็นภาษาพม่า ที่พัฒนาขึ้น ผลการให้บริบาลทางเภสัชกรรม ติดตามหลังวันที่รับบริการ 1 สัปดาห์ ติดตามได้ร้อยละ 70.27 โดย ร้อยละ 45.83 ติดตามทางโทรศัพท์ และ ร้อยละ 24.44 ติดตามผลเมื่อกลับมารับบริการที่ร้าน ผลการให้บริบาลฯ พบกลุ่มที่หายเป็นปกติและไม่พบปัญหาการใช้ยามากที่สุด (ร้อยละ 29.72) รองลงมา คือ กลุ่มที่มีอาการดีขึ้นแต่ด้วย ความรุนแรงของโรคต้องทานยาต่อเนื่อง (ร้อยละ 16.38) และกลุ่มการเรียกหาผลิตภัณฑ์ ได้รับการบริการ ผลิตภัณฑ์ ตามต้องการและไม่พบปัญหาการใช้ยา (ร้อยละ 9.72) ตามลาดับ และในผู้ที่ติดตามได้ มีความพึงพอใจในการรับ บริการทุกราย การจ่ายยา การให้คาปรึกษา และแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา เป็นบทบาทที่สาคัญในการ บริบาลเภสัชกรรมสาหรับชาวพม่าในร้านขายยา การใช้ฉลากช่วยภาษาพม่า การติดตามผลการบริบาลทางโทรศัพท์ สามารถนามาใช้ช่วยในการให้บริบาลในร้านขายยาได้จริง Currently, a lot of Burmese came to work and live in Thailand. When they got minor illness, drug stores were prior health facilities they used. Pharmaceutical cares from community pharmacists were essential to serve this population. The purposes of this descriptive research were to study the roles of the pharmacist and outcome of pharmaceutical cares for Burmese at a drug store in Amphoe Thong Pha Phum, Kanchanaburi province. The data were collected by interviewing 360 Burmese used the service at a drug store during 1st June - 30th August 2015. Percentage, frequency, average, and standard deviation were used to analyze data. There were 4 types of pharmaceutical care activities in drug store; medicines dispensing for relieving the symptoms (70.27 %), providing products/ medicines as customers requesting and giving advices (27.22%), screening for chronic disease (1.11%) and referring to physician (0.83%). Drug-related problems (DRPs) were explored at the first visit and at one-week follow-up. Patient adherence and unnecessary drug use were found. Patient adherence was most found 9.72% at the first visit and 7.22% at one-week follow-up. Unnecessary drug use was found 9.44% and 3.34% respectively. Problems such as using oral contraceptives incorrectly, intravenous injection or intravenous infusion when fatigue, use of antibiotics improperly or without indications were mostly found. Pharmaceutical care activities mostly provided to them was medication counseling regarding with providing Burmese language labels. The assessments of providing pharmaceutical care were conducted through 70.27% of clients by telephone (45.83 %) and at the returning to drug store (24.44%). Most of them were normal condition without DRPs (29.72 %). The rater group was a symptom improved by treatment but need continuous medication (16.38%). And clients received require service and advice without DRPs was followed at 9.72%. All of followed-up clients were satisfied with pharmaceutical care activities. Dispensing, counseling and solving of drug-related problems were important roles of pharmaceutical care for Burmese at drug store. Burmese labeling and assessment via telephone could be applied with pharmaceutical care in drug store.
Description: 56352307 ; สาขาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข -- รัชภร ธนะฐากรกุล
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/75
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1.56352307 รัชภร ธนะฐากรกุล.pdf6.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.