Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/755
Title: | บันทึกจากสวนยาง |
Other Titles: | MEMORY IN RUBBER TREES |
Authors: | พัฒนศิลป์, วรรณวิสา Phattanasin, Wanwisa |
Keywords: | บันทึกจากสวนยาง MEMORY IN RUBBER TREES |
Issue Date: | 5-Aug-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | ความประทับใจ จากความสุขและความทรงจำ จากความผูกพันของครอบครัวกับอาชีพการทำสวนยางพารา เกิดเป็นแรงบันดาลใจซึ่งถ่ายทอดผ่านการสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงถึงเนื้อหาเรื่องราวในวิถีชีวิตชาวใต้ ด้วยการใช้วัสดุที่มีความเป็นพื้นถิ่น เพื่อมุ่งเน้นให้เห็นวัสดุในการสร้างสรรค์ ที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับเนื้อหาที่ต้องการแสดงถึงวิถีชีวิตของชาวใต้โดยมองถึงความสำคัญของอาชีพการทำสวนยางพารา ตั้งแต่วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการศึกษาในครั้งนี้ ดังนี้ 1.ขอบเขตของเทคนิควิธีการ จิตรกรรมผสมลงบนต้นยางพารา การปะติดวัสดุ การเขียนสี การเกะเนื้อไม้ ใช้วัสดุที่มีความเป็นพื้นถิ่น โดยเน้นที่เรื่องราววิถีชีวิตให้วัสดุและการเขียนเป็นตัวประสานกัน 2.ขอบเขตของรูปแบบ เกิดการผสมผสานทางด้านวัสดุและรูปทรงลงบนต้นยางพารา ก่อให้เกิดรูปทรงทางอารมณ์การประกอบสร้างของชิ้นงาน รูปแบบสื่อผสม 2 มิติกึ่ง 3 มิติลอยตัว 3.ขอบเขตด้านเนื้อหาเรื่องราว วิถีชีวิตครอบครัวเป็นหลัก เนื้อหาที่บอกได้ถึงวิถีชีวิต ของชาวบ้านในภาคใต้ ที่มีความผูกพันกับการกรีดยางพารา ถ่ายทอดออกมาจากความประทับใจ ความสุขและความทรงจำ จากครอบครัว ผลงานการศึกษาและสร้างสรรค์จากรูปทรงและพื้นผิว ของต้นยางพารามีความเป็นเอกลักษณ์ นำไปสู่มุมมองวิถีชีวิตความเป็นอยู่การประกอบอาชีพ วัฒนธรรมที่มีอยู่ในพื้นถิ่นของข้าพเจ้า ซึ่งมีความเรียบง่ายพอเพียง เกิดเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะ “บันทึกจากสวนยาง” ในรูปแบบสื่อผสม สองมิติกึ่งสามมิติลอยตัว ซึ่งสามารถมองได้จากด้านหน้าและด้านข้าง เชิงสัญลักษณ์และวัสดุเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพการทำสวนยางพารา ที่ต้องการสะท้อน วิถีชีวิต ความสุข วัฒนธรรม อาชีพการทำสวนยางพาราทางภาคใต้ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ผ่านพื้นผิวและร่องรอยลงบน ต้นยางพารา The impression comes from the happiness, the memories and the relationship of my family which is getting the rubber plantation. All of these make me have an inspiration creating a task that reflects the southern lifestyle. The task made from the materials are local which focus on the creative material according to the same way of content for showing the southern lifestyle. The importance of a professional rubber plantation including the materials and tools that are relevant to the daily lives. 1) Scope of techniques painting mixed into the rubber tree. The collage painting materials for wood Miyake. The material is used as a vernacular. The story focuses on the life and material to write a symphony. 2) The scope of the form the combination of materials and shapes onto the rubber. Causing emotional contours of the workpiece assembly building. Mixed Media 2D style semi-floating three-dimensional 3) Scope of the subject matter. Family life is villagers in south with ties to the rubber trees. Emanates from impressive Joy and memories from family. The outcomes are analyzed in parallel with the aim and the concept of the thesis. The shape and the texture of rubber trees are identity that lead to a way of life in the profession and my culture where occur in my hometown. The reasons make me have the inspiration to create a masterpiece of art “Memorandum of the rubber plantation”, In mixed media Two-dimensional, semi three-dimensional which can be viewed from the front and sides. Symbolic materials and tools that to use the professional rubber plantation. The symbolic will be reflect the lifestyle, happiness, culture and also to be the main career in southern region which is the specific local identity. Therefore ,the art would be presented its mark on the surface and the rubber tree. |
Description: | 57901322 ; สาขาวิชาทัศนศิลปศึกษา -- วรรณวิสา พัฒนศิลป์ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/755 |
Appears in Collections: | Painting Sculpture and Graphic Arts and Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57901322 วรรณวิสา พัฒนศิลป์.pdf | 12.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.