Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/775
Title: ภาพจับ
Other Titles: THE MOVEMENT IN BATTLE OF RAMAYANA
Authors: ใจว่อง, วีระยุทธ
Jaiwong, Weerayut
Keywords: งานสร้างสรรค์จิตรกรรมไทย
ภาพจับ
CREATIVE PAINTING THAILAND
THE MOVEMENT IN BATTLE OF RAMAYANA
Issue Date: 5-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: วิทยานิพนธ์ หัวข้อเรื่อง ภาพจับ เป็นการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกผ่านเทคนิคการวาดเส้นเฉพาะตัว โดยอาศัยความจริงทางกายภาพ และประสบการณ์ส่วนตัวมาเป็นสื่อสัญลักษณ์ในแสดงออก ด้วยการนำเอาภาพจับในเรื่องราวรามเกียรติ์ในขณะต่อสู้กันมาสร้างสรรค์ จัดองค์ประกอบเพื่อให้เกิดรูปทรงใหม่ ผสมกับความรู้สึกภายใน สะท้อนให้เห็นถึงฝ่ายธรรมะอธรรม โดยแสดงออกในลักษณะที่ทับซ้อนจนก่อเกิดจนก่อเกิดพลังการเคลื่อนไหวต่อสู้กันภายในรูปทรง เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของความขัดแย้งที่ถูกเก็บไว้ภายใต้จิตใจของมนุษย์ ผลงานวิทยานิพนธ์นี้ เป็นการศึกษารูปแบบผลงานจิตรกรรมไทย เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ของรูปทรงของการต่อสู้ในเรื่องรามเกียรติ์ รวมถึงการศึกษารูปแบบผลงานศิลปะของศิลปินที่ได้รับอิทธิพลจากกระบวนการวาดเส้น และกายวิภาค มาวิเคราะห์รูปแบบ เทคนิค กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน โดยอาศัยประสบการณ์ตรงของผู้สร้างสรรค์และได้นำเอาหลัก ทัศนธาตุ รูปทรงการต่อสู้ในวรรณคดีไทย และเทคนิค ตอบรับอารมณ์ความรู้สึก ขั้นตอนการสร้างสรรค์ คือ 1. การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล 2. การสร้างภาพร่าง 3. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยมีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ขยายภาพแบบร่าง สร้างภาพผลงาน และวิเคราะห์ผลงานตรวจดูความเรียบร้อย ความสมบูรณ์ของผลงาน เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาผลงานขั้นต่อไปให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผลของการศึกษาและสร้างสรรค์ในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์และสร้างสรรค์ผลงานให้ตรงต่อวัตถุประสงค์ และตอบสนองแนวความคิด จำนวน 8 ชิ้น ขนาด 120 x 160 ซม. จำนวน 6 ชิ้น และขนาด 150 x 190 ซม. จำนวน 2 ชิ้น ซึ่งแสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้สร้างสรรค์ โดยถ่ายทอดเป็นผลงานในรูปแบบผลงานจิตรกรรมไทยแนวประเพณี Thesis titled “The movement in battle of Ramayana” conveys emotion through specific drawing technique based on the physical fact and the personal experience as a symbol in expression. The movement in battle of Ramayana’ images in the Ramayana were used in creation and composition, in order to get new shapes. Mixed with inner feelings reflect dharma and evil conflict, by expressing the overlapping characteristics, and creating power movement conflict within the shapes to convey the emotions of the conflict that were kept under the human mind. This thesis is the study of the painting patterns to show the relation of the battle in the Ramayana shape, including the study of the art works of artists influenced by the process of drawing and anatomy, to be the patterns, technique, and the creative process were analyzed based on the experience of the artist whereas, using the visual elements and the movement in battle in Thai literature’s shapes and technique that meet the emotion. The creative process is as follow; 1. Studying and analysis data 2. Creating sketches 3. Operating procedures by preparing materials and equipment enlarge the sketches and details check in order to develop for the further step to complete the work. The result of the study and creation, I have analyzed and created work to meet the purpose and concept, and 8 pieces size 120 x 160 cm, 6 pieces and size 150 x 190 cm 2 pieces. of tradition painting work express my feeling and emotion, as well.
Description: 57901324 ; สาขาวิชาทัศนศิลปศึกษา -- วีระยุทธ ใจว่อง
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/775
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts and Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57901324 วีระยุทธ ใจว่อง.pdf7.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.