Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/788
Title: | การใช้ภาพตัวแทนความตายเป็นสื่อสัญลักษณ์ในงานศิลปะร่วมสมัยไทย (พ.ศ. 2545-2555) |
Other Titles: | REPRESENTATIONS OF DEATH IN THAI CONTEMPORARY ART (2002-2012) |
Authors: | กล้าเกิด, รัชฎากรณ์ Klakerd, Ratchadakorn |
Keywords: | ภาพตัวแทนความตาย สื่อสัญลักษณ์ ศิลปะร่วมสมัยไทย ศพ โครงกระดูก หัวกะโหลก |
Issue Date: | 25-Dec-2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจการใช้ภาพตัวแทนความตายเป็นสื่อสัญลักษณ์ในการสร้างงานศิลปะร่วมสมัยไทย โดยได้ทำการศึกษาผลงานศิลปะร่วมสมัยไทยที่อยู่ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2545-2555) ที่มีการใช้ภาพตัวแทนความตายอย่าง ศพ โครงกระดูกและหัวกะโหลกในผลงาน จากการศึกษาพบว่าภาพตัวแทนความตายถูกนำมาใช้ในงานศิลปะอย่างหลากหลาย โดยที่ศิลปินได้ใช้ภาพตัวแทนความตายเพื่อเชื่อมโยงกับบางสิ่ง ซึ่งการสำรวจผลงานประกอบข้อมูลจากเนื้อหาซึ่งได้จากหลักฐานเอกสารเกี่ยวกับผลงานชิ้นนั้นๆ ทำให้สามารถแบ่งความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาและภาพตัวแทนความตายออกเป็น 6 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มภาพตัวแทนความตายสัมพันธ์กับชีวิตและความตาย 2.กลุ่มภาพตัวแทนความตายสัมพันธ์กับปรัชญาศาสนาและความเชื่อ 3.กลุ่มภาพตัวแทนความตายสัมพันธ์กับสังคม 4.กลุ่มภาพตัวแทนความตายสัมพันธ์กับการเมือง 5.กลุ่มภาพตัวแทนความตายสัมพันธ์กับจิตใต้สำนึก 6.กลุ่มภาพตัวแทนความตายสัมพันธ์กับธรรมชาติ เมื่อได้ทำการแบ่งกลุ่มภาพตัวแทนความตายจึงเป็นผลมาสู่การวิเคราะห์ภาพตัวแทนความตายเชื่อมโยงกับสังคมร่วมสมัยไทยที่สถานะทั่วไปของภาพความตายเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจ ขยะแขยงอันส่งผลต่อบทบาทของภาพตัวแทนความตายที่ถูกนำเสนอในงานศิลปะ เมื่อพิจารณาแล้วสามารถแบ่งภาพตัวแทนความตายในงานศิลปะร่วมสมัยไทยออกเป็น 2 ลักษณะ 1.ภาพตัวแทนความตายที่มีลักษณะไม่ขัดแย้งกับแนวคิดสังคม กล่าวคือ ภาพตัวแทนความตายถูกนำเสนอโดยไม่ขัดแย้งกับการรับรู้ทั่วไปของสังคม ซึ่งศิลปินมีกลวิธีในการนำเสนอ เช่น นำเสนอภาพตัวแทนความตายผ่านงานทัศนศิลป์ ประเภทจิตรกรรมและประติมากรรมหรือการนำเสนอด้วยความงามทางศิลปะ เป็นต้น 2.ภาพตัวแทนความตายที่มีลักษณะท้าทายกับแนวคิดสังคม กล่าวคือเป็นภาพตัวแทนความตายที่มีลักษณะท้าทายกับแนวคิดส่วนใหญ่ของสังคม ซึ่งศิลปินมีกลวิธีการนำเสนอ เช่น การนำเสนอความจริง อย่างศพจริง หรือการนำเสนอผ่านวีดิทัศน์และภาพถ่าย เป็นต้น The objective of this study is to study and understand the use of representations of death as symbols in the creation of Thai contemporary arts. The study explores Thai contemporary arts that use representations of death such as corpses, skeletons and skulls over the ten-year period (2002 -2012). The study finds that representations of death have been used widely in art works. Artists use such pictures to connect with something. From the survey of artworks together with information from documents about those works, the relationship between content and representations of death can be categorized into 6 categories: 1. Representations of death in relation to life and death 2. Representations of death in relation to religious philosophy and belief 3. Representations of death in relation to the society 4. Representations of death in relation to politics 5. Representations of death in relation to subconscious 6. Representations of death in relation to nature. After such categorization, this study further analyzes representations of death in connection with the contemporary Thai society, in which the death pictures are considered disgusting. This, in turn, affects the role of the representations of death presented in the artworks. Representations of death in Thai contemporary arts can be synthesized into two main types: 1. representations of death that are not contradictory to the society. This means that representations of death are presented without any conflicts with general perceptions of the society. Under this type of artworks, artists use various strategies and modes to present their work such as visual arts, paintings, sculptures or other aesthetic forms of art. 2. Representations of death that challenge the concept of the society. This means that representations of death are presented with challenges to the general perceptions of the society. Under this type of artworks, artists use various strategies such as using real corpses or presenting the reality through videos and photos. |
Description: | 54005208 ; สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์ -- รัชฎากรณ์ กล้าเกิด |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/788 |
Appears in Collections: | Painting Sculpture and Graphic Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
54005208 รัชฎากรณ์ กล้าเกิด.pdf | 54005208 ; สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์ -- รัชฎากรณ์ กล้าเกิด | 6.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.