Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/80
Title: การวิเคราะห์หาตำแหน่งการแข่งขันของผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ไทยภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน
Other Titles: THE COMPETITIVE POSITION ANALYSIS OF THAI-AUTOPART MANUFACTURERS UNDER ASEAN FREE TRADE AREA AGREEMENT
Authors: จันทรวิภาค, อรรถพล
CHANTARAVIPARK, ATHAPON
Keywords: เขตการค้าเสรีอาเซียน
ตำแหน่งการแข่งขัน
แบบจำลองแรงผลักดัน 5 ประการ
SWOT Analysis
TOWS Matrix
การวิจัยเชิงสำรวจ
ASEAN FREE TRADE AREA (AFTA)
COMPETITIVE
FIVE FORCE MODEL
SURVEY RESEARCH
Issue Date: 2-Jun-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาการวิเคราะห์หาตำแหน่งการแข่งขันของผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ไทยภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 รัฐบาลไทยมีนโยบายในการผลักดันไทยเข้าร่วมเขตการค้าเสรีอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้อุตสาหกรรมในประเทศไทยเกิดการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้ประกอบการต้องมีการปรับตัวอย่างเร่งด่วน งานวิจัยนี้เริ่มต้นจากการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหลายๆ แหล่ง เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันยานยนต์ กรมการค้าต่างประเทศ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นต้น จากนั้นผู้วิจัยได้เลือกแบบจำลองแรงผลักดัน 5 ประการ ในการวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันที่เกิดขึ้นของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยจากข้อมูลทุติยภูมิ หลังจากนั้นได้ทำการศึกษาข้อมูลโดยการทำวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มบริษัทผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ในลำดับที่ 2 และลำดับที่ 3 ของห่วงโซ่อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย จากผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่มีการเติบโตในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์มากขึ้นภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน แต่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องปรับตัวรับกับการแข่งขัน โดยเฉพาะในประเด็นที่ต้องศึกษาสภาวะการแข่งขัน แนวโน้มในการพัฒนาขีดความสามารถและนวัตกรรมของประเทศคู่แข่งในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และยังพบว่าแรงผลักดันที่เป็นอุปสรรคต่อสภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรงคือ แรงจากอำนาจการต่อรองของลูกค้า และแรงจากการแข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่า คู่แข่งที่สำคัญของไทยได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งเป็นประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และต้นทุนการจ้างแรงงานที่ไม่สูงมากนัก การวิจัยครั้งนี้ยังได้เสนอแนะการบูรณาการความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชนในการให้ความช่วยเหลือต่อไป The objective of this research is to analyze the competition, trends and threats of Thai small and medium enterprises (SMEs) in Thai auto-part manufacturers. As Thai becomes a member of Asean Economic Community (AEC), the manufacturers should improve themselves rigorously. This research starts at literature review on secondary data from other many trustable sources such as Ministry of Industry, Thailand Automotive Institute, Department of Foreign Trade, and National Science and Technology Development Agency. Then, the five force model−Bargaining force of suppliers, Bargaining force of buyers, Threats of new entrance, Threats of substitute products, Rivalry among existing firms−is applied to analyze the secondary data. Next, the survey research is implemented on the 2nd and 3rd tier manufactures in auto-part industry chain. We found that Thailand is still increasing in growth rate of auto-part industry under Asean free trade area agreement. But, the most of Thai auto-part manufacturers need to improve their competitive; especially, in study of competitiveness and trends in development capabilities and innovation of competitors. We also found that the strong force are the bargaining force and the rivaling among existing firms. Moreover, we found that competitors of Thailand include: Indonesia, Malaysia, CLMV (Cambodia, Laos, Myanmar and Vietnam). These countries are low cost workers and plenty of natural resources. This research also recommended the integrated working among government, academic, and private sectors in order to accomplish the mission.
Description: 57405313 ; สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรม -- อรรถพล จันทรวิภาค
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/80
Appears in Collections:Engineering and Industrial Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
9.57405313 อรรถพล จันทรวิภาค.pdf4.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.