Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/822
Title: สถาปัตยกรรมจากการก่อรูปขององค์ประกอบอาคารภายใต้กฏเกณฑ์ของพฤติกรรมการรวมกลุ่ม
Other Titles: NON - COMPOSITIONAL ARCHITECTURE : THE CONSTRUCTION OF ARCHITECTURAL ELEMENTS THROUGH SWARMING ALGORITHM
Authors: พงษ์กิจการุณ, สิทธนา
Phongkitkaroon, Sitthana
Keywords: สถาปัตยกรรมที่ไม่ถูกจัดวางองค์ประกอบ
องค์ประกอบอาคาร
พฤติกรรมการรวมกลุ่ม
NON-COMPOSITIONAL ARCHITECTURE
ARCHITECTURAL ELEMENTS
WARMING ALGORITHMS
Issue Date: 12-Jul-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำกฎเกณฑ์ของพฤติกรรมการรวมกลุ่ม ที่มีการตอบ สนองต่อสภาพแวดล้อม มาเป็นเครื่องมือในการออกแบบสถาปัตยกรรม ที่เป็นการท้าทายแนวคิด และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหน้าที่รวมถึงการทำงานของสถาปนิก โดยลดหน้าที่ในการจัดวาง องค์ประกอบอาคารทำให้กระบวนการออกแบบสิ้นสุดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้การวิจัยจึงแบบออกเป็น 3 ช่วงคือ 1) ศึกษาทฤษฎี กฎเกณฑ์ หลักการและรูปแบบของการเกิดพฤติกรรมการรวมกลุ่ม ที่มีอยู่ ตามธรรมชาติเพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ของที่ว่างระหว่างหน่วยย่อยภายในการรวมกลุ่ม 2) สร้าง โปรแกรมการออกแบบจากระบบพฤติกรรมการรวมกลุ่มผ่านการควบคุมตัวแปรต่างๆ ดังนี้ 2.1) ประเภทขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม 2.2) รูปพรรณขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม 2.3) ประเภทของกิจกรรม และ 2.4) ปริมาณของผู้ใช้งาน ในขณะเดียวกันก็ทำการแปลงความจาก หลักการพฤติกรรมการรวมกลุ่มเชิงวิทยาศาสตร์มาสู่เชิงสถาปัตยกรรมเพื่อเป็นเครื่องมือในการ ออกแบบ และ 3) การออกแบบและวัดผลโดยที่ ออกแบบสถาปัตยกรรมจากหลักการพฤติกรรมการ รวมกลุ่มที่แปลงเป็นเชิงสถาปัตยกรรมและวัดผลด้วย 3.1) พื้นที่ใช้สอยของโครงการโดยการนำ พื้นที่ใช้สอยอาคารที่เกิดขึ้นจริงหลังออกแบบที่ใช้พฤติกรรมการรวมกลุ่มเปรียบเทียบกับพื้นที่ โครงการที่ถูกคำนวณหาโดยวิธีการที่นิยมใช้แพร่หลาย และ 3.2) การมองเห็นภายในโครงการจาก โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (DepthmapX) ว่าระบบการมองเห็นจากภายในโครงการที่ผ่านการออกแบบ ด้วยระบบพฤติกรรมการรวมกลุ่มนั้นจะมีความคล้ายคลึงกับระบบการมองเห็นที่เกิดขึ้นในการรวม กลุ่มที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ผลการวิจัยที่เกิดขึ้นหลังทำการออกแบบสถาปัตยกรรมผ่านหลักการของพฤติกรรมการ รวมกลุ่ม โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมการจัดองค์ประกอบอาคารนั้นแสดงให้เห็นว่าอาคารที่ ถูกออกแบบผ่านกระบวนการจะมีขนาดของพื้นที่ใช้สอยลดลง 15% เมื่อเทียบกับการหาพื้นที่ ใช้สอยตามระบบปกติ และเมื่อวัดผลจากการมองเห็นที่ว่างภายในโครงการก็แสดงให้เห็นอีกว่ามี ระบบการมองเห็นที่ใกล้เคียงจนถึงเหมือนกับการรวมกลุ่มตามธรรมชาติ The purpose of this project is to how architects can design buildings without involvement in making composition. The first phase of the project investigates swarming theory to identify relationships between space and agent in swarming. Next phase is about creating architectural program which cover these following control variables 1.Type of architectural elements, 2.Architectural elements profiles 3.Type of activities and 4.Quantity of user. Meanwhile creating tools using the interpretation of swarming theory from scientific concepts and transform into architectural concepts. The final phase involved architectural design which using computational tools and can be measured from 1.Building area and 2.Visibilities in building. By designing architecture without involve in composition, this project will allow the change and challenge in architectural design process which has been used in the past to the present. This is to create an easier way to design architecture in consistent with current technology, architecture will also respond to the environment better
Description: 57054219 ; สาขาวิชาสถาปัตยกรรม -- สิทธนา พงษ์กิจการุณ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/822
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57054219 สิทธนา พงษ์กิจการุณ.pdf161.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.