Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/855
Title: | การพัฒนากิจกรรมศิลปวิจารณ์ เพื่อส่งเสริมสุนทรียะและการประเมินค่า สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 |
Other Titles: | THE DEVELOPMENT OF ART CRITICISM ACTIVITIES TO DEVELOP AESTHETIC AND ASSESSMENT FOR SECONDARY STUDENTS |
Authors: | รุ่งทวีทรัพย์, สิทธินันท์ Rungtaweesub, Sittinan |
Keywords: | กิจกรรมศิลปวิจารณ์ สุนทรียะ การประเมินค่า ART CRITICISM ACTIVITIES AESTHETIC ASSESSMENT |
Issue Date: | 10-Jan-2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมศิลปวิจารณ์ เพื่อส่งเสริมสุนทรียะและการประเมินค่า สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เปรียบเทียบสุนทรียะและการประเมินค่าก่อนและหลังเรียน โดยใช้กิจกรรมศิลปวิจารณ์เพื่อส่งเสริมสุนทรียะและการประเมินค่า สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนในการจัดกิจกรรมศิลปวิจารณ์ เพื่อส่งเสริมสุนทรียะและการประเมินค่า สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 แผนการเรียนศิลป์คำนวณ โรงเรียนฐานปัญญา กรุงเทพฯ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 21 คน ทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 1 ระยะเวลา 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ (Interview) 2) แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาศิลปะเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนฐานปัญญา และกิจกรรมท้ายบทเรียนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมศิลปวิจารณ์ 3) แบบประเมินสุนทรียะ 4) แบบวัดการประเมินค่า และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ผลการวิจัย พบว่า 1. กิจกรรมศิลปวิจารณ์ เพื่อส่งเสริมสุนทรียะและการประเมินค่า สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (80/80) สูงกว่าเกณฑ์ คือ 82.03/84.60 2. ผลคะแนนสุนทรียะ และผลคะแนนการประเมินค่าของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมศิลปวิจารณ์ เพื่อส่งเสริมสุนทรียะและการประเมินค่า โดยผลคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมศิลปวิจารณ์เพื่อส่งเสริมสุนทรียะและการประเมินค่า ในภาพรวมอยู่ในระดับที่มากที่สุด This research aims 1) to study and develop for an effectiveness of art criticism activities to develop aesthetic and assessment for secondary students, 2) to compare the aesthetics and values before and after utilizing art criticism activities to develop aesthetic and assessment for secondary students, and 3) to investigate the students’ satisfaction after being taught with art criticism activities to develop aesthetic and assessment for secondary students. The experimental group consisted of 21 students in Mathayomsuksa 5/2 of Tharnpanya school, Bangkok. The study was conducted with 16 periods, in 2016, in the first semester of the school year. The instruments of this study were 1) interview form 2) lesson plans, additional art courses of visual arts and the activities in each learning 3) aesthetic evaluation 4) Evaluate assessment, and 5) the students’ satisfaction after being taught with art criticism activities. The findings of the study were as follows: 1. Art criticism activities to develop aesthetic and assessment for secondary students reached the efficiency that compared the percentage of formative assessment score = 82.03 with the summative assessment score = 84.60 Which was higher than the established requirement of 80/80 2. Aesthetic scores and evaluate scores of the students before and after utilizing art criticism activities to develop aesthetic and assessment for secondary students in posttest were significantly higher than pretest scores at .05 level. 3. The students’ satisfaction towards art criticism activities was at the highest level. |
Description: | 57901325 ; สาขาวิชาทัศนศิลป์ศึกษา -- สิทธินันท์ รุ่งทวีทรัพย์ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/855 |
Appears in Collections: | Painting Sculpture and Graphic Arts and Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57901325 สิทธินันท์ รุ่งทวีทรัพย์.pdf | 9.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.