Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/866
Title: | นามธรรมของสายน้ำ |
Other Titles: | ABSTRACT OF WATER |
Authors: | เจริญจิตร ตนานนท์, อัจจิมา JAROENCHIT TANANONT, ATJIMA |
Keywords: | นามธรรม ABSTRACT |
Issue Date: | 26-Dec-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | การสร้างสรรค์มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างสรรค์ชุดผลงานจิตรกรรมสีน้ำมัน รูปแบบศิลปะนามธรรมตะวันออก เนื้อหาจังหวะสายธารชีวิตเปรียบดั่งจังหวะลีลาของสายน้ำ2)การนำปรัชญาพุทธและเซนเป็นแรงบันดาลใจคือสรรพสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลงเป็นอนิจจังแล้วน้อมยอมรับการเปลี่ยนแปลงสู่การดำเนินชีวิตตามกฎธรรมชาติด้วยใจที่เป็นกลาง และ 3) ศึกษาและอธิบายงานศิลปะนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ทฤษฎีที่ใช้ในการสร้างสรรค์คือการกำหนดวิเคราะห์ผลงานแต่ละทฤษฎีแบ่งเป็น 4 ส่วน 1. กฎธรรมชาติคือการเปลี่ยนแปลงในปรัชญาพุทธและเซนมาวิเคราะห์เป็นความบันดาลใจ, 2.การศึกษาปัญญาญาณและปรัชญาปฏิบัตินิยมเชื่อมโยงกับศิลปะนามธรรม, 3. การวิเคราะห์ผลงานศิลปะนามธรรมสะท้อนปรัชญาความงามและความจริงในแบบอัตวิสัย, 4. การวิเคราะห์ผลงานชุดนามธรรมของสายน้ำจากการพัฒนา 3 ด้านคือ ความหมาย, ความงามและความคิด ผลการวิจัยพบว่า 1. การสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมชุดนี้แสดงออกเป็นศิลปะนามธรรมตะวันออกที่สัมฤทธิ์ผลด้วยเทคนิคเฉพาะตัว, เนื้อหาเกี่ยวกับลีลาจังหวะต่างๆของคลื่นน้ำเปรียบดังสายธารชีวิตที่เผชิญการเปลี่ยนแปลงด้วยภาวะใจที่สมดุลย์ 2. การตีความปรัชญาพุทธที่สอนให้ดำเนินชีวิตสอดคล้องกับกฎธรรมชาติแม้อยู่ท่ามกลางความเจริญในสังคมเมือง ยังคงตระหนักในคุณค่าของธรรมชาติและความงามที่สุขสงบด้านจิตใจที่สำคัญกว่าความพอใจทางกาย 3. การชมศิลปะไม่ควรมองด้านรูปธรรมที่เหมือนจริงเท่านั้น แต่ควรมองหาความรู้สึกที่เป็นคุณค่าทางใจ(นามธรรม)ความหมายลึกซึ้งที่ศิลปินสร้างเป็นภาษาเฉพาะ คล้ายการฟังท่วงทำนองดนตรีที่รับรู้ถึงความรู้สึกโดยไม่มีเนื้อร้อง สำหรับผู้สร้างสรรค์ศิลปนามธรรมเชื่อว่าคำพูดไม่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกตรงใจได้เท่ากับภาษาภาพวิทยานิพนธ์ชุดนี้จะช่วยเพิ่มสุนทรียภาพการชมต่อไป The purposes of this creative research were 1) to create the contemporary paintings in abstract art; the rhythm of life compare to the rhythm of water. 2) to concern the concept with the philosophy of Buddhism and Zen "Everything changes impermanent, accept this to the rule of nature neutrally with equanimity" as the inspiration. 3) to study and evaluate for abstract art reasonably. The theory of creation analysts to 4 parts; Rule of nature - Impermanent in Buddhism and Zen as inspiration, Study intuition and pragmatism to link to abstract art, Analyst the abstract art to reflect the beauty and the truth in subjective, Analyst the "Abstract of water" from development of meaning, beauty and thought. The results were as follow: 1. Creation painting series present the eastern abstract art with the unique technique, the rhythm of water comparable to the rhythm of life with equanimity. 2. Interprets the philosophy of Buddhism which teaches us to accept the rule of nature even in the civilization of society and realizes its value which is more important than the physical satisfaction. 3. Art appreciation should not judge what looks realistic but from inner feelings. The hidden meaning from the artist would seem listening to the music without lyrics. For artists of abstract art believes languages could not explain all the artist's thought except for picture. This thesis will increase art aesthetics and appreciation for the next exhibitions. |
Description: | 56007813 ; สาขาวิชาทัศนศิลป์ -- อัจจิมา เจริญจิตร ตนานนท์ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/866 |
Appears in Collections: | Painting Sculpture and Graphic Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
56007813 อัจจิมา เจริญจิตร ตนานนท์.pdf | 12.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.