Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/88
Title: การศึกษาความต้องการด้านวิศวกรรมของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน
Other Titles: THE STUDY OF ENGINEERING DEMANDS FOR THAI AUTOPART MANUFACTURES UNDER ASEAN FREE TRADE AREA AGREEMENT
Authors: ธาราเวชรักษ์, ภัทรเวช
THARAWETCHARAK, PATTRAWET
Keywords: ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดกลางและขนาดย่อมไทย
เขตการค้าเสรีอาเซียน
ความสามารถในการแข่งขัน
แบบจำลองเพชร
การวิจัยเชิงสำรวจ
SMALL AND MEDIUM ENTERPRISES IN THAI AUTO-PART MANUFACTURES
COMPETITIVENESS
ASEAN FREE TRADE AREA (AFTA)
DIAMOND MODEL
SURVEY RESEARCH
Issue Date: 31-Mar-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาความต้องการด้านวิศวกรรมและความสามารถในการแข่งขันรวมไปถึงประเทศคู่ค้าที่สำคัญของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน เมื่อไทยเข้าร่วมเขตการค้าเสรีอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 อย่างเต็มรูปแบบ จากสถานการณ์การแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยปัจจัยการเข้าสู่เขตการค้าเสรีอาเซียนของไทย ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วน การวิจัยนี้เริ่มต้นจากการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหลาย ๆ แหล่ง อาทิเช่น กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันยานยนต์ กรมการค้าต่างประเทศ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จากนั้นผู้วิจัยได้เลือกแบบจำลองเพชร ในการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันจากข้อมูลทุติยภูมิ จากนั้นได้ทำการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงลึก โดยทำการสำรวจกลุ่มผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ในลำดับที่ 2 และลำดับที่ 3 ของห่วงโซ่อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย และเป็นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในสามองค์ประกอบหลัก ได้แก่ กลุ่มระบบห้ามล้อและกันสะเทือน กลุ่มการตกแต่งภายใน และกลุ่มการตกแต่งภายนอก ที่มีการขึ้นทะเบียนกับสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย จากผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่นั้น ไม่มีการเสริมสร้าง ตราผลิตภัณฑ์เป็นของตนเองมากถึงร้อยละ 65.2 และยังเกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือมาถึงร้อยละ 62.3 ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมชิ้นส่วน ยานยนต์ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยมีความจำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องปรับตัวรับกับการแข่งขัน โดยเฉพาะในประเด็นการพัฒนานวัตกรรมที่ต้องอาศัยความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยี 5 ด้าน อันได้แก่ พลาสติกวิศวกรรม การขึ้นรูปเหล็กกล้า ความเค้นสูง การขึ้นรูปชิ้นส่วนอลูมิเนียม วิศวกรรมแม่พิมพ์ และวิศวกรรมดิจิทัล นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มเทคโนโลยีที่ต้องมีการพัฒนาอย่างเร่งด่วนคือ วิศวกรรมแม่พิมพ์ซึ่งมีความต้องการมากถึงร้อยละ 56.5 และวิศวกรรมดิจิทัลร้อยละ 53.6 นอกจากนั้น ผลการวิจัยครั้งนี้ยังได้เสนอแนะการบูรณาการความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชนในการให้ความช่วยเหลือต่อไป This research aimed to study the engineering needs, the competitiveness, and competitor countries of Thai auto-part manufacturers under ASEAN Free Trade Area (AFTA) agreement. Since, Thai became a member of ASEAN Economic Community (AEC) in 2015, the manufacturers should improve themselves rigorously. This research started with the review of the secondary data from many trustable sources; such as Ministry of Industry, Thailand Automotive Institute, Department of Foreign Trade, and National Science and Technology Development Agency. The researcher deployed the Diamond model to analyze the competitiveness from the secondary data. Then, the researcher conducted a survey research on critical needs of small and medium enterprises (SMEs) who categorized in tier 2 and tier 3 in Thai auto-part industrial chain and fall into 3 main groups (break/suspension system, internal decoration, external decoration) as registered with Thai auto-part manufacturers association. The results of the study showed that most of the manufacturers do not build their own brands, up to 65.2 %, and do lacking of skilled workforce, up to 62.3 %. Thailand is still a competitive nation in the auto-part industry. However, Thai SMEs are required to improve themselves; especially, in innovation development. The 5 core technologies that Thai SMEs should recognize are engineering plastics, high tensile strength steel forming, aluminum parts forming, mold/die engineering, and digital engineering. Moreover, the researcher found that the most important technology that need to be developed hastily are mold/die engineering, up to 56.3 %, and digital engineering, up to 53.6 %. This research also recommended the integrated working among government, academic, and private sectors in order to accomplish the mission.
Description: 57405309 ; สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม -- ภัทรเวช ธาราเวชรักษ์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/88
Appears in Collections:Engineering and Industrial Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ภัทรเวช ธาราเวชรักษ์.pdf5.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.