Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/882
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พยัคฆ์เดช, อัญชลี | - |
dc.contributor.author | Payakdech, Anchalee | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-31T03:59:18Z | - |
dc.date.available | 2017-08-31T03:59:18Z | - |
dc.date.issued | 2560-01-03 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/882 | - |
dc.description | 57156342 ; สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ -- อัญชลี พยัคฆ์เดช | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบอัตลักษณ์สินค้าพื้นบ้านจากมรดกวัฒนธรรม จังหวัดพิษณุโลก สามารถสื่อสารสินค้าให้มีบทบาทในวิถีชีวิตผู้บริโภคปัจจุบันมากยิ่งขึ้นโดยยังคงความเป็นเอกลักษณ์ไทยได้อย่างเหมาะสม โดยมีรากฐานศิลปวัฒนธรรมรองรับซึ่งวัฒนธรรม และภูมิปัญญาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสังคมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการพัฒนาจังหวัดพิษณุโลก เนื่องด้วยจังหวัดพิษณุโลกมีความโดดเด่น และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีผู้มีความรู้ด้านภูมิปัญญาไทยมากมายกระจายอยู่ทุกพื้นที่ ซึ่งหากสามารถพัฒนา และใช้ประโยชน์จากทุนดังกล่าวได้อย่างเต็มที่แล้ว ก็จะนำมาซึ่งการสร้างสรรค์คุณค่า และมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยรวมถึงเพิ่มความน่าสนใจ การประยุกต์ใช้รูปแบบของศิลปวัฒนธรรมที่ได้นำมาผสมผสาน สร้างสรรค์ให้เกิดเป็นลวดลายที่มีเอกลักษณ์และมีความงามทางศิลปะเฉพาะตัว ปัจจุบันผู้คนได้ให้ความสนใจในแบบอย่างศิลปะตะวันตกมากขึ้นทำให้ศิลปะไทยขาดช่วงหายไปไม่มีการพัฒนาการที่ต่อเนื่องจึงได้นำรูปแบบของความเป็นไทยมาประยุกต์ใช้ในงานออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้ได้มากยิ่งขึ้น แนวทางการศึกษาหารูปแบบของอัตลักษณ์สินค้าพื้นบ้านจากมรดกวัฒนธรรม จังหวัดพิษณุโลก มีวิธีวิจัยโดย เริ่มจากการค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูลทางเอกสารที่เกี่ยวข้องกับจังหวัด พิษณุโลก และการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อที่จะได้ข้อมูลทางด้านเชื้อชาติ วิถีการดำเนินชีวิต อาชีพ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มเป้าหมาย 110 คน จากนั้นได้ทำการวิเคราะห์สินค้าพื้นบ้าน และจัดประเภท ลักษณะของสินค้า เพื่อนำข้อมูลมาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบสินค้า และอัตลักษณ์ นำผลงานออกแบบไปประเมินผลโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและกลุ่มเป้าหมายเพื่อประเมินผลงานออกแบบในแง่ของการสื่อสาร การออกแบบ การใช้งานเพื่อหาข้อบกพร่อง และข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษารวมทั้งเป็นข้อมูลสำหรับอ้างอิงให้แก่ผู้ที่สนใจการออกแบบอัตลักษณ์สินค้าพื้นบ้านของจังหวัดพิษณุโลกที่ต้องการแสดงถึงวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม ผลงานการวิจัยสามารถสรุปออกมาเป็นผลงานการออกแบบได้ดังนี้ ตราสัญลักษณ์สินค้าพื้นบ้านจังหวัดพิษณุโลก ตัวอย่างอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษตัวอย่างสีประจำจังหวัด ตัวอย่างเลขนศิลป์พื้นฐานประจำจังหวัด เลขนศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ ตัวอย่างสินค้าของที่ระลึก ตัวอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ This research aim to study local product corporate identity from arts and the cultural heritage; Phitsanulok Province, which able to communicate the product that play a key role in consumer lifestyle now and still Thai unique appropriately by support from arts and culture foundation. The cultural and wisdom are one element of society that the most important to development Phitsanulok Province. Due to Phitsanulok is outstanding, it has a cultural diversity and there is a lot of literati in Thai wisdom which spread in every areas. If we can develop and take advantage of this, we will can value creation and add value to economic and social. Moreover, it added interest in model on arts and culture which led the unique pattern and exclusive arts as design process procedural to product. No wadays, most of people interest in western arts, which lead to lose Thai arts and discontinuous its development. This research used Thai unique to applied in product design that forward to value added. Study method of local product corporate identity from the cultural heritage; Phitsanulok Province used research methodology by collected document data that related to Phitsanulok Province and in – depth interviews for sample ethic, way of living, occupation, arts and culture and local knowledge. The samples of this research were 110 people. And then analysis local products, classify and the characteristics of the product for lead the data to guidelines product design and identities that assessed by design strategy expert and target group to find out in terms of communication, design and usability. This research would like to find out the mistake and suggestion. Besides, to benefit in education as well as a source for the person who interest in local product corporate identity will see the connection from arts and culture foundation; Phitsanulok Province. The result of this research can be identified as design sample for the province, graphic design work piece as follows: Local product brand, graphic design on packaging, examples souvenirs and examples of media. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | สินค้าพื้นบ้าน | en_US |
dc.subject | การออกแบบอัตลักษณ์ | en_US |
dc.subject | ศิลปวัฒนธรรม | en_US |
dc.subject | LOCAL PRODUCT | en_US |
dc.subject | CORPORATE IDENTITY | en_US |
dc.subject | ARTS AND CULTURE | en_US |
dc.title | การออกแบบอัตลักษณ์จากมรดกศิลปวัฒนธรรม จังหวัดพิษณุโลก | en_US |
dc.title.alternative | LOCAL PRODUCT IDENTITY DESIGN FROM THE CULTURAL HERITAGE OF PHITSANULOK PROVINCE | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Decorative Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57156342 อัญชลี พยัคฆ์เดช .pdf | 25.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.