Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/886
Title: | โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์ไหมอีรี่ เพื่อสร้างรูปทรง 3 มิติ ของกลุ่มทอผ้าบ้านหนองหญ้าปล้อง จังหวัดขอนแก่น |
Other Titles: | THREE DIMENSIONAL ERI-SILK'S PRODUCT BASED ON BAAN NONGYAPLONG WOVEN FABRIC GROUP, KHON KAEN PROVINCE |
Authors: | สายทิพย์, พิมพ์ทิพย์ Saithip, Pimthip |
Keywords: | ไหมอีรี่ รูปทรง 3 มิติ ERI SILK THREE DIMENSIONAL PRODUCT |
Issue Date: | 12-Jan-2560 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการสร้างและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากไหมอีรี่ให้มี หลากหลายรูปลักษณ์ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับไหมอีรี่ที่ยังคงไว้ด้วยภูมิปัญญา ท้องถิ่นและเอกลักษณ์ของไหมอีรี่ ซึ่งชาวบ้านสามารถจัดร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการผลิตและขยายกลุ่มตลาด จากเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการทอผ้าของกลุ่มผู้ผลิต รวมทั้งศึกษาความ ต้องการของกลุ่มผู้ผลิต2) เพื่อทดสอบวัสดุจากไหมอีรี่ในการนำไปใช้ในการขึ้นรูปทรง 3 มิติ 3) เพื่อออกแบบ ผลิตภัณฑ์จากไหมอีรี่แนวทางใหม่ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มผู้ผลิตและกลุ่มผู้บริโภค การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงทดลอง ดำเนินการโดยการสัมภาษณ์ ผู้ผลิตจากกลุ่มทอผ้าบ้านหนองหญ้าปล้อง ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การทดลอง ทดสอบวัสดุสำหรับใช้ ขึ้นรูปทรง 3 มิตินำผลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์จากไหมอีรี่ พิจารณาความ เหมาะสมจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญและนักการตลาด จำนวน 5 ท่านด้วยการพิจารณาแบบ และนำมาพัฒนา ปรับปรุงและสร้างต้นแบบ เพื่อนำไปศึกษาความความพึงพอใจจากกลุ่มผู้ผลิต 3 คนและกลุ่มผู้บริโภค 100 คน โดย การวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ จากการวิจัยพบว่า ในการพิจารณารูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ด้านในการคัดเลือก แนวความคิดที่ ได้คะแนนมากที่สุดคือ เรื่องราวของวัฏจักรวงจรชีวิตไหมอีรี่ ซึ่งแนวความคิดมาจากตัวผีเสื้อ ได้ค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ x = 4.16 (S.D. = 0.4) จึงนำมาพัฒนาปรับปรุงรูปแบบและนำไปศึกษาความพึงพอใจจากผู้บริโภค และผล จากการประเมินความพึงพอใจจากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 103 คน พบว่า การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มโคมไฟจากไหมอีรี่ ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในระดับมากค่าเฉลี่ยเท่ากับ x = 4.03 ( S.D. = 0.45) จากการออกแบบครั้งนี้ทำให้ทราบว่า การแปรรูปไหมอีรี่ให้เป็นแบบแผ่นเหมาะสำหรับการสร้าง รูปทรงหรือขึ้นรูปทรง 3 มิติได้ง่ายและหลากหลายรูปแบบ โดยการดัดจากแผ่นแบบ 2 มิติ ประกอบขึ้นรูปทรงเป็น 3 มิติ การทำไหมอีรี่แบบแผ่นช่วยลดระยะเวลาในขั้นตอนการเตรียมวัสดุจากเดิมที่ต้องนั่งสาวเส้นไหม ใช้ตัวประสาน คือ แป้งมันสำปะหลังและกาว ซึ่งแป้งมันสำปะหลังเป็นวัสดุจากธรรมชาติ ไม่สร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมและกาว เป็นวัสดุที่หาง่าย ราคาถูกและขั้นตอนการผลิตไหมอีรี่แบบแผ่นสามารถผลิตได้ในชุมชน This study aims at creating and developing different shapes of 3 Dimensional Eri silk' products in order to provide an opportunity for the locals to transform Eri silk whilst, preserving local wisdom and it's unique characteristics so that the locals can participate in production and market expansion process. The purposes of this research comprises of 1) the study on weaving process and the need of manufacturers’ group, 2) the test of Eri silk characteristics to form 3 Dimensional shapes, 3) the initiated design of Eri silk products, and 4) the satisfaction evaluation of manufacturers and consumers. This study is a qualitative and experimental research. The information collection was implemented by interviews with manufacturers in Ban Nongyaplong weaving group. The selection of interviewees was made through a purposive sampling. Regarding Eri silk characteristics experiment, the researcher made several 3-D shape of Eri silk samples to be as a guidance of product design and development. The appropriateness of sample designs was considered by 5 experts, composed of specialists and marketers. Then, the approved designs were developed to create prototypes for satisfactory evaluation of 3 manufacturers’ groups and 100 consumers. The statistical methods for collected information analysis were analytical mean and percentage. Based on consideration of experts, regarding design selection, life cycle of Eri silkworm inspired by butterfly gained the highest average equated to x = 4.16 (S.D. = 0.4). The researcher then developed the design to study satisfactory level of consumers. The result from satisfaction evaluation questionnaires completed by 103 respondents showed that the lamp product design from Eri silk gained the satisfaction rate from the consumers at high level equate to x = 4.03 (S.D. = 0.45). The design in this research indicated that the transformation of Eri silk into sheets was appropriate and easy to create various 3 Dimensional shapes: products were realized by adjusting 2-D silk sheet into 3 Dimensional shape. Such transformation helps shorten the silk pulling process. The material transformation was completed with adhesives, which were Tapioca starch and glue that do not cause pollutions to environment and are not difficult to find, and their price is affordable. Additionally, this transformation is practical for community manufacturers’ group. |
Description: | 57155201 ; สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ -- พิมพ์ทิพย์ สายทิพย์ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/886 |
Appears in Collections: | Decorative Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57155201 พิมพ์ทิพย์ สายทิพย์.pdf | 10.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.