Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/890
Title: | การออกแบบเครื่องประดับเพื่อการบูชาสักการะ |
Other Titles: | JEWELRY DESIGN FOR SACRIFICE |
Authors: | ศรีสวัสดิ์, ฤมาภา SRISAWAT, RUEMAPA |
Keywords: | เครื่องประดับ บูชาสักการะ ความศักดิ์สิทธิ์ อามิสบูชา JEWELRY SACRIFICE ACJECTIVE INCENTIVE OFFERINGS |
Issue Date: | 11-Jan-2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวความคิดในเรื่องของการบูชาสักการะประเภท อามิสบูชา ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ชาวพุทธนิยมใช้ดอกไม้ในการบูชาสักการะพระพุทธรูปเป็นประจำ เพื่อความสบายใจ และความเป็นสิริมงคลกับชีวิต ซึ่งภายหลังจากที่ได้นำดอกไม้มาบูชาสักการะแล้วนั้น ก็นิยมนำไปทิ้ง เพราะดอกไม้ แห้งเหี่ยวไปตามการเวลา ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ข้าพเจ้าเกิดแรงบันดาลใจและนำไปสู่การออกแบบผลงานเครื่องประดับอามิสบูชาประเภทดอกไม้ ให้มีความคงทน และสามารถที่จะสวมใส่เพื่อประดับติดตัวไปได้ในชีวิตประจำวัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้ ส่วนแรก คือ ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เพื่อรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับแนวความคิดและความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ดอกไม้ในการบูชาพระตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งประเภทของดอกไม้ ความหมายของดอกไม้ รวมถึง กลิ่นและสีของดอกไม้ที่นิยมนำมาใช้ในการบูชา เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ในการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับ ส่วนที่ 2 คือ ข้อมูลที่ได้รับจากการทดลองวัสดุ ไม่ว่าจะเป็นประเภทของดอกไม้ หรือ วิธีการถนอมดอกไม้ให้มีรูปทรงและสีที่คงทนมากที่สุด เผื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตอบสนองต่อการบูชา และการสวมใส่ในรูปแบบของเครื่องประดับ เช่น สามารถคงสภาพรูปทรงและสีสันไว้ได้นาน ภายหลังจากการบูชา เพื่อที่จะนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานเครื่องประดับต่อไป ส่วนที่ 3 คือ ข้อมูลที่ได้รับจากการสวมใส่ภายหลังจากการบูชา เพื่อที่จะดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในด้านสุนทรียภาพทางจิตใจ ผลการวิจัย พบว่า คติหรือความเชื่อในการบูชา คือการสร้างสมาธิ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์และยกระดับจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้น ซึ่งในกระบวนการบูชานี้ การสร้างสรรค์ดอกไม้เพื่อบูชา และพัฒนามาเป็นงานเครื่องประดับ ต้องมีความสอดคล้องกัน โดยได้เลือกใช้ร้อยมาลัยดอกไม้ที่ผ่านการบูชามาแล้ว มาดัดแปลง สร้างสรรค์ให้เกิดเป็นผลงานขึ้น เพราะมีความเชื่อว่า ดอกไม้ที่ผ่านการบูชามาแล้วนั้น ย่อมมีความบริสุทธิ์ ความความศักดิ์สิทธิ์ มีความงามทางด้านจิตใจ และมีคุณค่าในตัวเอง The research is intended to present concepts of incentive offerings, which in most cases buddhists use flowers to worship Buddha on a regular basis. For peace of mind and the prosperity of our life after the flowers was left dry and haggard. Which how to away. For this reason, I am inspired by the offering flowers. Which adorn jewelry everyday. The instruments used were as follows: The first part is studied and analyzed. primary data and secondary data for together information about concepts and beliefs about the use of flowers in worship from the past to the present. Both types of flowers the meaning of flowers, the scent and color of flowers commonly used in worship to be used as baseline data. Second part is the creation of jewelry information obtained from the experimental material. Whether it is a type of flower or how to care for flowers, shapes and colors are the most durable. The results that respond to the offering and worn in the form of jewelry, such as shapes and colors that can be maintained for long. After the offering, In order to bring about a constructive contribution. 3 jewelry is worn after the offering in order to see the outcome of the aesthetics in mind. The research found that belief in worship is a passion make mental purification and uplifting of human performance which, in check during procedures worshiped. Creative flowers to the altar and developing a jewelry must be consistent in the choice of flowers. It is believed that jewelry adorn by flower offering ritual will purity and remain value in itself. |
Description: | 55157306 ; สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ -- ฤมาภา ศรีสวัสดิ์ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/890 |
Appears in Collections: | Decorative Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
55157306 ฤมาภา ศรีสวัสดิ์.pdf | 10.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.