Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/897
Title: ลักษณะทางกายภาพที่พึงประสงค์ของถนนคนเดิน: กรณีศึกษาถนนถลาง จังหวัดภูเก็ต
Other Titles: DESIRED PHYSICAL ENVIRONMENT OF WALKING STREET: A CASE STUDY OF THALANG STREET, PHUKET
Authors: ไถเหี้ยม, เมติญา
Thaihiam, Maytiya
Keywords: ถนนคนเดิน
ถนนถลาง
ลักษณะทางกายภาพที่พึงประสงค์
WALKING STREET
THALANG STREET
PHYSICAL ENVIRONMENT
Issue Date: 22-Nov-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาลักษณะทางกายภาพในปัจจุบันของถนนถลาง และความเหมาะสมสำหรับการเป็นถนนคนเดิน 2. ศึกษาสภาพปัญหา พฤติกรรมการใช้งาน และ รูปแบบกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ถนนคนเดิน 3. เสนอแนวทางในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมถนนคน เดินถนนถลาง จังหวัดภูเก็ต การศึกษานี้มีการเก็บข้อมูล 2 ลักษณะ คือ การสำรวจและการสัมภาษณ์ โดยในการ สำรวจนั้นทำการเก็บข้อมูลลักษณะทางกายภาพ การใช้พื้นที่ และลักษณะกิจกรรมที่เกิดขึ้น ส่วนการ สัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่มาใช้ถนนคนเดินนั้นใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือใน การรวบรวมข้อมูลเพื่อสนับสนุนข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ รวมถึงการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีที่เกี่ยวกับ ถนนคนเดิน เพื่อนำมาวิเคราะห์หาข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่า ถนนถลางมีปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพที่พึงประสงค์ สำหรับการเป็นถนนคนเดิน ได้แก่ ความเหมาะสมของตำแหน่งที่ตั้ง ความหลากหลายในการสัญจร เข้าถึงพื้นที่ และความสะดวกในการเชื่อมต่อกับโครงข่ายการสัญจรอื่น แต่อย่างไรก็ตามยังพบว่า จุด จอดรถรับส่งผู้โดยสาร รถบริการ และพื้นที่จอดรถยังไม่เหมาะสม ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและ องค์ประกอบทางกายภาพมีความเหมาะสม ได้แก่ ความกว้างถนน สภาพพื้นผิวถนน รวมถึงรูปแบบ การตั้งร้านค้าในถนนคนเดิน ปัจจัยด้านทัศนียภาพและความงามทางสายตามีความเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ท้องถิ่น ปัจจัยด้านกิจกรรมค่อนข้างมีความ เหมาะสม และปัจจัยด้านการบริหารจัดการของพื้นที่ยังไม่เหมาะสม ปัญหาห้องน้ำ จุดนั่งพัก อุปกรณ์ ถนน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ควรได้รับการปรับปรุง The main objective of the research were 1. to study the current physical features of Thalang Road and the reasonable suitability for using the road as a walking street, 2. to identify existing proplems, user behaviours, and activity patterns which occurred in the walking street area, 3. to bring up the solution for developing the physical environment of Thalang Road in Phuket. The study involved two data collection methods, observation and interviews. While the data were collected by survey and fieldwork observation which gathered the physical environment, the useability of the road, and the activities on the road; the user opinions and theories as to walking street were used to analyse the data for finding the results and suggestions for Thalang Road. The results revealed that Thalang Road contained several desired physical conditions in terms of suitable location, various accesses to the site, and conveniences to connect to other transportation networks. However, while bus stops, shuttle services, and parking spaces were still not suitable, the environmental and physical elements of the road were appropriate such as the road width, the road surface, and the arrangments of stalls. Moreover, the scenery and visual aesthetics of the walking street were acceptable, especially the architectural style of buildings with distinctive local identity while the occurrence of current activities on the road was also appropriate. Lastly, as the walking street management were inefficient, the matters of toilets, sitting areas, street furniture, and several other facilities should be solved.
Description: 57060204 ; หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- เมติญา ไถเหี้ยม
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/897
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57060204 เมติญา ไถเหี้ยม.pdf16.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.