Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/908
Title: การแสดงเดี่ยวโอโบระดับมหาบัณฑิต
Other Titles: GRADUATE OBOE RECITAL
Authors: สุดใจ, ปัทมา
Sudjai, Pattama
Keywords: เครื่องดนตรีโอโบ
การหายใจ
โอโบ
OBOE
BREATHING
AIR CONTROL
Issue Date: 10-Jan-2560
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: งานวิจัยเรื่องการแสดงเดี่ยวโอโบระดับมหาบัณฑิตชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการหายใจและการใช้ลมในการฝึกซ้อม เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการแสดงเดี่ยวโอโบ โดยรวบรวมวิธีการแก้ปัญหาจากตำรา แบบฝึกหัด และเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้วิจัยได้คัดเลือกบทเพลงทั้งสี่บทเพลงนี้ เป็นเครื่องมือพัฒนาในเรื่องของการหายใจและเรื่องการใช้ลมในการฝึกซ้อม ได้แก่ 1. Sonata for Oboe and Piano ประพันธ์โดย ฟร็องซีส ปูลอง (Francis Poulenc) 2. Concerto for Oboe and Small Orchestra ประพันธ์โดย ริคาร์ด ซเตราซ์ (Richard Strauss) 3. L’horloge de Flore ประพันธ์โดย ฌ็อง ฟร็องเซ (Jean Françaix) 4. Oboe Quartet in F Major K. 370 (368b) ประพันธ์โดย โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) ซึ่งบทประพันธ์ที่ได้ถูกคัดเลือกข้างต้นนั้น เป็นบทเพลงอันมีชื่อเสียงและเป็นบทเพลงมาตรฐาน ที่ใช้ในการบรรเลงทั้งในระดับบัณฑิตและมหาบัณฑิต โดยปัญหาส่วนใหญ่ที่ผู้วิจัยรวบรวม สามารถแบ่งออกได้ 4 ข้อหลักดังนี้ 1. ปัญหาความทนทานในการบรรเลงประโยคเพลงที่มีความต่อเนื่องยาวนาน 2. ปัญหาของลมที่ไม่สัมพันธ์กับช่วงเสียงสูงในระดับเสียงเบา ตั้งแต่โน้ต Db D Eb E F ในช่วงเสียงที่สามของโอโบ 3. ปัญหาของลมไม่เพียงพอส่งผลถึงความสัมพันธ์กับนิ้ว และ 4. ปัญหาของลมที่ไม่สัมพันธ์กับช่วงเสียงระหว่างโน้ตกระโดด ขณะบรรเลงเสียงต่อเนื่อง (Legato) สรุปผลการวิจัยที่ได้จากการแสดงเดี่ยวโอโบในระดับมหาบัณฑิต โดยการค้นคว้าแหล่งข้อมูลต่างๆ ผู้วิจัยได้สุ่มเลือกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินผลพัฒนาการในการฝึกซ้อม และการบรรเลงบทเพลงของผู้วิจัย พบว่า ผู้วิจัยมีความรู้ความเข้าใจในการหายใจและการใช้ลม ในการบรรเลงบทเพลงที่ไม่มีช่วงพักระหว่างท่อนเสถียรมากขึ้น ร่างกายมีความทนทานต่อการเฉลี่ยลมของแต่ละประโยคได้ยาวนานมากขึ้น ความสัมพันธ์ของลมในการเคลื่อนไหวในประโยคเพลงและระหว่างโน้ตดีขึ้น มีการควบคุมลมที่ใช้ในระดับเสียงดังและเบา รวมถึงคุณภาพของเสียงได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งผู้วิจัยได้นำความเชื่อมโยงสรีระศาสตร์ ทางด้านวิทยาศาสตร์และด้านการแพทย์มาประยุกต์ใช้ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการของสรีระร่างกายในการฝึกซ้อมอย่างถูกวิธี โดยจากผลการทดลองเรื่องการหายใจและการใช้ลมอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นจากเดิม The purpose of the research is to focus on the study of breathing and air control techniques while still prolonging sound on the instrument. It includes four main problems: stamina or endurance while performing a lengthy piece, playing piano and pianissimo in high notes which concentrate on pitching at a normal and extreme dynamics level (Db, D, Eb, E and F for oboe’s third octave), insufficient air which does not coordinate with finger change, and trouble sustaining legato sound in big leaps. The researcher has dealt theoretically with methodology and began to collect data associated with various strategies and techniques of oboe performances from textbooks, past researches and also from interviewing the experts in field of music. Furthermore, the pieces composed by famous composers namely Sonata for Oboe and Piano by Francis Poulenc, Concerto for Oboe and Small Orchestra by Richard Strauss, L’horloge de Flore by Jean Françaix and Oboe Quartet in F Major K. 370 (368b) by Wolfgang Amadeus Mozart. They have been selected as additional texts for demonstration of oboe repertoires. Later, these pieces of music were used as repeating exercise to prepare for oboe recital. The research revealed that playing the oboe employed similar principles to any kind of wind instruments of which most players have to produce an articulated tone without interruption. On the other hand, practicing of fingers movement and the breathing techniques are significantly important to play oboe efficiently. To demonstrate the concept to act, the researcher has performed oboe recital and was being evaluated by experts in fields of music and conclusively indicated by satisfactory scores. All the processes and skill levels were rated past medium-well, especially; the transition from note to note, the air control or airflow without interruption while playing to enhance the quality of sound of instrument have been qualified by observers for the best performance. The research is a combination of artistic and scientific knowledge, therefore it can be a beneficial and applicable learning tool to any musician to master music instrument as professional musician.
Description: 56701309 ; สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา -- ปัทมา สุดใจ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/908
Appears in Collections:Music

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56701309 ปัทมา สุดใจ.pdf5.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.