Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/937
Title: ความถูกต้องและประสิทธิผลของการพยากรณ์อุปสงค์สำหรับการบริหารคลังยา
Other Titles: PRECISION AND EFFECTIVENESS OF DEMAND FORECASTING FOR DRUG INVENTORY MANAGEMENT
Authors: พึ่งศักดิ์, อนุพงษ์
Pungsak, Anupong
Keywords: การพยากรณ์
รูปแบบของอุปสงค์
การบริหารคลังยา
FORECASTING
DEMAND PATTERN
DRUG INVENTORY MANAGEMENT
Issue Date: 30-Nov-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพยากรณ์อุปสงค์ที่มีต่อประสิทธิภาพในการบริหารคลังยาโดยใช้ข้อมูลการใช้ยาจริงย้อนหลัง 3 ปี (ปีงบประมาณ 2554-2556) ของโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาการวิจัยนี้ศึกษาเฉพาะยากลุ่ม A 135 รายการ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีมูลค่ามากที่สุดเมื่อจำแนกโดยใช้ ABC Analysis ทำการวิเคราะห์และพยากรณ์โดยใช้โปรแกรม CB Predictor ในการพยากรณ์อุปสงค์ของยาในปีงบประมาณ 2557 แต่ละรายการ จากนั้นพิจารณาปริมาณและรูปแบบของอุปสงค์ที่พยากรณ์ได้เปรียบเทียบกับข้อมูลการใช้ยาจริงของโรงพยาบาลในปีเดียวกัน โดยใช้การวัดความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ด้วย Mean Absolute Percent Error (MAPE) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Wilcoxon Signed-rank Test ผลการพยากรณ์อุปสงค์ของยาจำนวน 135 รายการ พบว่ายาจำนวน 81รายการ (ร้อยละ 60.0) มีความถูกต้องในการพยากรณ์โดยให้ผลไม่แตกต่างจากการใช้จริง โดยในกลุ่มที่พยากรณ์ถูกต้องมีรูปแบบของอุปสงค์การใช้ยาที่พบมากที่สุด คือแบบ Horizontal มี 39 รายการ (ร้อยละ 48.1)โดยเทคนิคพยากรณ์ที่ควรใช้คือ Single Moving Average รูปแบบของอุปสงค์ที่มีการใช้รองลงมา คือแบบ Trend มี 31 รายการ (ร้อยละ 38.3) ส่วนเทคนิคพยากรณ์ที่ควรใช้คือ เทคนิค Double Moving Average กลุ่มยาที่มีการพยากรณ์ถูกต้องมากที่สุดคือ Gastro-intestinal system รองลงมาคือ Central nervous system ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเภสัชกรหรือผู้รับผิดชอบบริหารคลังยาซึ่งสามารถใช้เทคนิคการพยากรณ์ที่เหมาะสมกับรูปแบบของอุปสงค์จากการวิจัยครั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารคลังยาของโรงพยาบาลต่อไป This research aimed to study the effectiveness of demand forecasting to drug inventory management. Drug utilization data of Ayutthaya Hospital were retrospectively retrieved 3 fiscal years (2011-2013). Only 135 items of drug group A which being the most valuable drug items, categorizing by ABC analysis, was analyzed and forecasted. The CB Predictor program was used to forecast each drug item’s demand in fiscal year 2014. Then the forecasted demand quantity and pattern were compared with actual drug utilization in the same year. Mean Absolute Percent Error (MAPE) was presented as the forecasting error. The statistics used in data analysis were descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation and inferential statistics such as Wilcoxon Signed-rank Test.Of 135 drug items, 81 items (60.00%) was forecasted precisely or did not differ from actual drug utilization. The most demand patterns found in the precisely forcasted drugs was Horizontal (39 items, 48.1%), which Single Moving Average technique should be used for forecasting. The second most patterns found was Trend (31 items,38.3%), which Double Moving Average technique should be used for forecasting. The most precise forecasting of drug types was Gastro-intestinal system. The second most precise forecasting of drug types was Central nervous system. The findings from this research are beneficial for a pharmacist or a person who is responsible for drug inventory management. The demand patterns and forecasting techniques can be applied to further increase efficiency of hospital drug inventory management.
Description: 54362206 ; สาขาวิชาการจัดการทางเภสัชกรรม -- อนุพงษ์ พึ่งศักดิ์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/937
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54362206 อนุพงษ์ พึ่งศักดิ์.pdf926.13 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.