Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/940
Title: | การพัฒนาโมเดลความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์เพื่อผลการดำเนินงาน ที่ยั่งยืนของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย |
Other Titles: | THE DEVELOPMENT OF STRATEGIC CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY MODEL FOR HOTEL BUSINESS' S SUSTAINABLE PERFORMANCE IN THAILAND |
Authors: | หนูนิล, สานิตย์ Noonin, Sanit |
Keywords: | ความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การมุ่งเน้นตลาด การสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความพร้อมของทรัพยากรองค์กร ชื่อเสียงขององค์กร ผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน STRATAGIG CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY TRANFORMATIONAL LEADERSHIP MARKET ORIENTATION STAKEHOLDER ENGAGEMENT ORGANIZATIONAL RESOURCE READINESS ORGANIZATIONAL REPUTATION SUSTAINABLE PERFORMANCE |
Issue Date: | 23-Dec-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและรูปแบบของความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจโรงแรมโรงแรมในประเทศไทย 2) พัฒนาโมเดลความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์เพื่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์เพื่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย และ 4) ตรวจสอบค่าอิทธิพลของโมเดลความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์เพื่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมระดับ 4 ดาว และ 5 ดาว จำนวน 238 ราย รวมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในกรวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบของความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย ประกอบด้วย การดำเนินงานเชิงนโยบาย การมุ่งเน้นเป้าหมายระยะยาว การเชื่อมโยงกับกระบวนการทางธุรกิจ และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่วนรูปแบบความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจขององค์กร ด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางสังคม และด้านการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลการวิเคราะห์โมเดลการวิจัยที่พัฒนาขึ้น พบว่า โมเดลตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่า 2 เท่ากับ 115.01 p-value ของค่า 2 เท่ากับ 0.93 ค่า 2/df เท่ากับ 1.17 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า GFI เท่ากับ 0.96 ค่า AGFI เท่ากับ 0.95 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.00 ผลการการวิเคราะห์โมเดลตามสมมติฐานการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การมุ่งเน้นตลาด การสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และความพร้อมของทรัพยากรองค์กร มีผลกระทบทางตรงต่อความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ 2) ความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์มีผลกระทบทางตรงต่อชื่อเสียงขององค์กร 3) ความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์มีผลกระทบทางอ้อมต่อ ผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนโดยผ่านชื่อเสียงขององค์กร และ 4) ชื่อเสียงขององค์กรมีผลกระทบทางตรง ต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน ผลที่ได้จากการศึกษานี้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย และการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ขององค์กรให้ประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน This research aimed to 1) study the components and approaches of strategic corporate social responsibility of hotel businesses in Thailand 2) develop a model of strategic corporate social responsibility (strategic CSR) for sustainable performance of hotel businesses in Thailand 3) check the consistency of the model of strategic CSR for sustainable performance of hotel businesses in Thailand and 4) determine the influence of the model of strategic CSR for sustainable performance of hotel businesses in Thailand. The data were collected from 4 and 5 star rated hotels nationwide, a total 238 hotels, as well as including data were collected by in-depth interviews. The confirmatory factor analysis and path analysis were used to analyze the data. The results show that; the components of strategic corporate social responsibility consist of the operating policies that focus on the long-term goals. There is a link between the business processes and the corporate social responsibility implementation as well as the involvement of different groups of stakeholder. The approaches of strategic corporate social responsibility of hotel businesses in Thailand can be divided into three areas as follow: economic development perspective, social strengthening perspective and environmental friendly perspective. The results of the model analysis showed that the model based on assumptions were in harmony with the empirical data by 2 = 115.01, the p-value of 2 = 0.93, 2/df = 1.17, CFI = 1.00, GFI = 0.96, AGFI = 0.95 and RMSEA = 0.00. The results of hypothesis testing showed that 1) transformational leadership, market orientation, stakeholder engagement and organizational resources readiness have a direct effect on strategic CSR, 2) strategic CSR has a direct effect on corporate reputation, 3) strategic CSR has an indirect effect on sustainable performance through corporate reputation and 4) corporate reputation has a direct effect on sustainable performance. The results of this research will be useful as a guide for policy making and applying in the field of strategic corporate social responsibility for sustainable performance. |
Description: | 56604906 ; สาขาวิชาการจัดการ -- สานิตย์ หนูนิล |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/940 |
Appears in Collections: | Management Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
56604906 สานิตย์ หนูนิล.pdf | 33.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.