Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/948
Title: การพัฒนาไมโครอิมัลชัน ไมโครอิมัลเจล และออร์แกโนเจลสำหรับนำส่งสารสกัดกระชายดำทางผิวหนัง
Other Titles: DEVELOPMENT OF MICROEMULSIONS, MICROEMULGELS AND ORGANOGELS FOR TRANSDERMAL DELIVERY OF Kaempferia parviflora EXTRACT
Authors: วัฒนศรี, ไพสิฐ
WATTANASRI, PAISIT
Keywords: ไมโครอิมัลชัน
ไมโครอิมัลเจล
ออร์แกโนเจล
สารสกัดกระชายดำ
นำส่งทางผิวหนัง
KAEMPFERIA PARVIFLORA EXTRACT
MICROEMULSION
MICROEMULGEL
ORGANOGEL
TRANSDERMAL DELIVERY
Issue Date: 28-Feb-2560
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับไมโครอิมัลชันไมโครอิมัลเจล และ พลูโรนิค เลซิทิน ออร์แกโนเจล (พีแอลโอเจล) สำหรับนำส่งสารสกัดกระชายดำทางผิวหนัง ศึกษาอิทธิพลของส่วนประกอบในตำรับที่มีต่อคุณลักษณะและการซึมผ่านผิวหนัง โดยสารสกัดกระชายดำมีสารเมทอกซีฟลาโวนเป็นส่วนประกอบหลักประกอบด้วยไดเมทอกซีฟลาโวน (ดีเอ็มเอฟ) ไตรเมทอกซีฟลาโวน (ทีเอ็มเอฟ) และ เพนตะเมทอกซีฟลาโวน (พีเอ็มเอฟ) โดยใช้สารเหล่านี้เป็นสารมาตรฐานของสารสกัดกระชายดำ ระบบไมโครอิมัลชันซึ่งประกอบด้วยกรดโอเลอิก ทวีน 20 โพรพิลีนไกลคอล และน้ำ ได้เลือกตำรับที่ประกอบด้วยสารลดแรงตึงผิวและสารลดแรงตึงผิวร่วมที่อัตราส่วน 1:2 เพื่อบรรจุสารสกัดกระชายดำ ความเข้มข้นร้อยละ10 ลิโมนีนใช้เป็นสารเพิ่มการซึมผ่านทางผิวหนังเพื่อเพิ่มการซึมผ่านของสารสกัดกระชายดำ ไมโครอิมัลชันที่บรรจุสารสกัดกระชายดำและมีลิโมนีนร้อยละ 10 ให้ค่าฟลักซ์ของเมทอกซี ฟลาโวนสูงสุด จึงเลือกตำรับนี้มาผสมกับสารก่อเจลเพื่อเตรียมเป็นไมโครอิมัลเจล จากการใช้สารก่อเจล หลายชนิดพบว่ามีเพียงแซนแทนกัมเท่านั้นที่สามารถเตรียมเป็นไมโครอิมัลเจลได้ แซนแทนกัมที่ปริมาณ ร้อยละ 1.8 มีความหนืดที่เหมาะสมสำหรับใช้ในทางผิวหนัง เมื่อเปรียบเทียบค่าฟลักซ์พบว่าตำรับ ไมโครอิมัลชันที่บรรจุสารสกัดกระชายดำจะให้ค่าฟลักซ์สูงกว่าตำรับไมโครอิมัลเจลที่บรรจุสารสกัด กระชายดำ 3 เท่า ส่วนสารสกัดกระชายดำในตำรับพีแอลโอเจลนั้นมีปัจจัยที่มีผลต่อการซึมผ่านทางผิวหนัง ได้แก่ ชนิดของน้ำมัน ปริมาณของพอลอกซาเมอร์ 407 และปริมาณของลิโมนีน ซึ่งสารสกัดกระชายดำบรรจุในพีแอลโอเจลที่ประกอบด้วย สารสกัดกระชายดำร้อยละ 10 เลซิตินร้อยละ 10 ไอโซโพรพิลไมริสเตต ร้อยละ 5 กรดโอเลอิกร้อยละ 5 ลิโมนีนร้อยละ 5 พอลอกซาเมอร์ร้อยละ 20 และน้ำร้อยละ 45 ให้ค่าฟลักซ์ สูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบค่าฟลักซ์ของทั้ง 3 ตำรับโดยเรียงจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ สารสกัดกระชายดำบรรจุในไมโครอิมัลชันที่มีลิโมนีนร้อยละ 10 > สารสกัดกระชายดำบรรจุไมโครอิมัลเจลที่มีลิโมนีนร้อยละ 10 > สารสกัดกระชายดำบรรจุในพีแอลโอเจลกับลิโมนีนร้อยละ 5 โดยตำรับเหล่านี้มีเสถียรภาพดีที่สภาวะการเก็บที่อุณหภูมิห้องและสภาวะเร่งในระยะเวลา 3 เดือน การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าตำรับไมโครอิมัลชัน ไมโครอิมัลเจล และพีแอลโอเจลนี้มีศักยภาพในการเป็นระบบนำส่งสารสกัดกระชายดำทางผิวหนังได้ The aim of this study was to develop microemulsions (ME), microemulgels and pluronic lecithin organogel (PLO gel) for transdernal delivery of Kaempferia parviflora extract (KP extract). The influences of the composition on the characteristics and in vitro skin permeation were evaluated. The main methoxyflavone compounds of KP extract contain 5,7-dimethoxyflavone (DMF), 5,7,4’-trimethoxyflavone (TMF) and 3,5,7,3’,4’-pentamethoxyflavone (PMF) that were used as markers of KP extract. The ME systems composed of oleic acid, Tween 20, propylene glycol and water were formulated. The formulation consisting of the mixture of surfactant/co-surfactant at the ratio of 1:2 was selected for incorporating 10% KP extract. Limonene was used as the skin enhancer for enhancing the skin permeation of KP extract. 10% limonene incorporating into ME showed the highest total methoxyflavones flux. KP extract-loaded ME with 10 % limonene were selected for incorporating gelling agent to form microemulgels. Among gelling agents, only xanthan gum could form microemulgels. 1.8% w/w xanthan gum had a suitable viscosity for transdermal application. In comparison, the methoxyflavones flux of KP extract-loaded ME was 3.0-fold higher than KP extract-loaded microemulgel. In KP extract-loaded PLO gels, the factors affecting the skin permeation were types of oils, amount of poloxamer 407 and amount of limonene. KP extract-loaded PLO gels containing 10 % KP extract, 10% lecithin, 5% oleic acid, 5% IPM, 5% limonene, 20% poloxamer 407 and 45% water showed the greatest skin permeation flux. In comparison, the skin permeation flux of methoxyflavones was in the order of KP extract-loaded ME with 10 % limonene > KP extract-loaded microemulgels with 10 % limonene > KP extract-loaded PLO gels with 5 % limonene. These formulations showed good stability at room temperature and accelerated condition for 3 months. The results indicated that this ME, microemulgels and PLO gels system had a potential to be the transdermal drug delivery of KP extract.
Description: 57364203 ; สาขาวิชาวิทยาการทางเภสัชศาสตร์ -- ไพสิฐ วัฒนศรี
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/948
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57364203 ไพสิฐ วัฒนศรี.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.