Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/949
Title: การพัฒนากลยุทธ์การจัดการความรู้เชิงรุก สำหรับชุมชนผู้ผลิตวัตถุดิบในห่วงโซ่อุปทานของกิจการเพื่อสังคม
Other Titles: STRATEGIC DEVELOPMENT OF PROACTIVE KNOWLEDGE MANAGEMENT FOR COMMUNITY’S SUPPLIERS OF RAW MATERIALS IN SUPPLY CHAINS OF SOCIAL ENTERPRISE
Authors: ตรีมงคล, ปัชฌา
Treemongkol, Patcha
Keywords: การจัดการความรู้
กลยุทธ์การจัดการความรู้เชิงรุก
ห่วงโซ่อุปทาน
กิจการเพื่อสังคม
KNOWLEDGE MANAGEMENT
PROACTIVE KNOWLEDGE
SUPPLY CHAIN
SOCIAL ENTERPRICE
Issue Date: 29-Dec-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวโน้มการจัดการความรู้สำหรับชุมชนผู้ผลิตวัตถุดิบในห่วงโซ่อุปทานของกิจการเพื่อสังคม 2) ศึกษาองค์ประกอบการจัดการความรู้สำหรับชุมชนผู้ผลิตวัตถุดิบในห่วงโซ่อุปทานของกิจการเพื่อสังคม และ 3) พัฒนากลยุทธ์การจัดการความรู้เชิงรุกสำหรับชุมชนผู้ผลิตวัตถุดิบในห่วงโซ่อุปทานของกิจการเพื่อสังคม โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา ใช้วิธีการเก็บข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร การวิจัยเชิงพื้นที่ การถอดบทเรียนโดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพ และใช้วิธีการสนทนากลุ่ม ผ่านการวิเคราะห์ SWOT การวิเคราะห์ TOWS Matrix ประยุกต์เทคนิคเชิงปริมาณประเมินกลยุทธ์ตามคะแนน Cohen’s Kappa Statistic เพื่อพัฒนากลยุทธ์การจัดการความรู้เชิงรุกสำหรับชุมชนผู้ผลิตวัตถุดิบในห่วงโซ่อุปทานของกิจการเพื่อสังคม ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ สมาชิกกลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 13 คน ซึ่งเป็นชุมชนผู้ผลิตวัตถุดิบสมุนไพรให้กับมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวโน้มการจัดการความรู้สำหรับชุมชนผู้ผลิตวัตถุดิบในห่วงโซ่อุปทานของกิจการเพื่อสังคม มี 3 แนวโน้ม คือ แนวโน้มการจัดการความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น แนวโน้ม การจัดการความรู้จากภาวะผู้นำชุมชน แนวโน้มการจัดการความรู้จากการมีส่วนร่วมในชุมชน 2) องค์ประกอบของการจัดการความรู้สำหรับชุมชนผู้ผลิตวัตถุดิบในห่วงโซ่อุปทานของกิจการเพื่อสังคม มี 6 องค์ประกอบหลัก คือ วัฒนธรรมชุมชน โครงสร้างชุมชน กระบวนการจัดการความรู้ เทคโนโลยี การตลาด การวัดผล และมี 24 องค์ประกอบย่อย 3) กลยุทธ์การจัดการความรู้เชิงรุกสำหรับชุมชนผู้ผลิตวัตถุดิบในห่วงโซ่อุปทานของกิจการเพื่อสังคม มี 4 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์การพัฒนาผู้ผลิตและการตลาด กลยุทธ์การพัฒนากระบวนการผลิต กลยุทธ์การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและสุขภาพ และ กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และข้อค้นพบสำคัญจากงานวิจัยที่ช่วยขับเคลื่อนกลยุทธ์ดังกล่าว คือ เครือข่ายชุมชน อัตลักษณ์ชุมชน ฉันทามติชุมชน และปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งส่งผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ คือ ชุมชนมีการสร้างรายได้ มีการกระจายรายได้ และมีรายได้มั่นคง กิจการเพื่อสังคมมีผลกำไรและกิจการอยู่รอด ในด้านสังคม คือ ชุมชนมีการพึ่งพาตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีการช่วยเหลือแบ่งปัน โดยกิจการเพื่อสังคมมีส่วนช่วยทำให้ชุมชนมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และในด้านสิ่งแวดล้อม คือ ชุมชนและกิจการเพื่อสังคมมีกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม The purposes of this research were 1) to consider the trends of knowledge management for community suppliers of raw materials in the supply chain of social enterprises, 2) to examine components of their knowledge management, and 3) to develop strategies of the proactive knowledge management.This study was research and development. The qualitative data were obtained by means of related documents, area research, lessons learned, and participatory action research (PAR). In addition, focus group method was employed via SWOT analysis, TOWS Matrix analysis, applied qualitative technique, strategy assessment based on Cohen’s Kappa Statistics to develop the strategies of proactive knowledge management. The key informants were 13 herbal group members of Ban Dong Bang in Prachinburi province. They supply herbal raw materials for Chao Phraya Abhaibhubejhr Hospital Foundation. The results showed that 1) there were three trends in the knowledge management for community suppliers of raw materials in the supply chain of social enterprises including the trends in the knowledge management of local wisdoms, local leadership, and community’s involvement. 2) There were six main components of their knowledge management consisting of community’s culture, structure, knowledge management process, technology, marketing, and assessment. There were 24 sub – components. 3) There were four strategies of proactive knowledge management, namely the strategic development of producers and marketing, production process, learning center for agriculture and health tourism, and products. It was also found that the significant factors facilitating those strategies were community’s networking, its identity, its consensus, and local intellectuals. These factors influenced the community’s economy, society, and environment in terms of making income, income distribution, steady income, for-profit social enterprises, business survival, community’s self-reliance and sharing, better quality of life, batter standard of living, as well as environmentally-friendly production process and products .
Description: 56604705 ; สาขาวิชาการจัดการ -- ปัชฌา ตรีมงคล
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/949
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56604705 ปัชฌา ตรีมงคล.pdf12.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.