Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/96
Title: | การใช้กฎความสัมพันธ์ในการศึกษารูปแบบการใช้ยารักษาผู้ป่วย โรคซึมเศร้าชาวไทยตามกลุ่มความร่วมมือในการใช้ยา |
Other Titles: | USING ASSOCIATION RULES TO STUDY PATTERNS OF MEDICINE USE IN THAI ADULT DEPRESSED PATIENTS BASED ON MEDICAL ADHERENCE |
Authors: | สุคนธวารี, ชมภูนุช SUKONTAVAREE, CHUMPOONUCH |
Keywords: | เทคนิคกฎความสัมพันธ์ การทำเหมืองข้อมูล โรคซึมเศร้า ความร่วมมือในการใช้ยา ยา ASSOCIATION RULES DATA MINING DEPRESSED ADHERENCE MEDICINE |
Issue Date: | 8-Feb-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชโรคหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหดหู่, อยากฆ่าตัวตาย และ รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย โดยโรคซึมเศร้าจัดเป็นโรคที่มีการสูญเสียปีสุขภาวะเนื่องจาก ความบกพร่องทางสุขภาพอันดับที่ 4 ของโลกในปี พ.ศ. 2545 และคาดการณ์ว่าจะเปลี่ยนเป็นอันดับ ที่ 2 ในปี พ.ศ. 2573 ในปัจจุบันพบว่าประชากรมากกว่าสามร้อยห้าสิบล้านคนทั่วโลกทรมานจากการ เป็นโรคซึมเศร้า งานวิจัยนี้ได้หารูปแบบการใช้ยาร่วมกันในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าชาวไทยตาม กลุ่มความร่วมมือในการใช้ยาโดยใช้กฎความสัมพันธ์ โดยได้นำเสนอวิธีการใหม่ 3 วิธีคือ 1) นำเสนอ วิธีการวัดความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดยใช้วิธีการวัดอัตราการครอบครองยาแบบ ปรับปรุง วิธีการแบบปรับปรุงนี้สามารถจัดระดับของความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย นอกจากนี้ผล ที่ได้จากการใช้วิธีนี้พบว่าจำนวนผู้ป่วยมากกว่าครึ่งไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยา ผู้ป่วยให้ความ ร่วมมือในการใช้ยา จำนวน 1,230 คน คิดเป็นร้อยละ 43.40 และผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ ยา จำนวน 1,604 คน คิดเป็นร้อยละ 56.60 ผลจากการวัดอัตราการครอบครองยาแบบปรับปรุงทำ ให้ทราบว่าผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาอยู่ในระดับที่ไม่ทานยาเกือบทุกรายการ 2) พัฒนา วิธีการใหม่ในการวัดความร่วมมือในการใช้ยาโดยวัดตามรายการยา พบว่ายาที่นิยมใช้ในการรักษาโรค ซึมเศร้ามากที่สุดคือ ยาฟลูออกซีทีน มีจำนวนผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาดีเพียงร้อยละ 48.23 นอกจากนี้ยังพบว่าส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาอีกหลายรายการ และ 3) การใช้กฎความสัมพันธ์ศึกษารูปแบบการใช้ยาตามความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย พบว่ารูปแบบ การใช้ยาร่วมกันที่มีอัตรกิริยาความรุนแรง และเป็นรูปแบบการใช้ยาร่วมกันที่นิยมใช้มากที่สุดคือ การ ใช้ยาทราโซโดนร่วมกับยาฟลูออกซีทีน โดยมีค่าสนับสนุนของผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการใช้ยาร้อย ละ 15.30 และค่าสนับสนุนของผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาร้อยละ 19.00 และยังได้พบ รูปแบบการใช้ยาร่วมกันแล้วเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาอีกหลายรูปแบบ รูปแบบการใช้ยาเหล่านี้ควร จะมีการรายงานให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ผลงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการประเมินความ ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย ความร่วมมือของผู้ป่วยต่อการใช้ยาแต่ละรายการยา รวมทั้งหารูปแบบ การใช้ยาร่วมกันที่ก่อให้เกิดอัตรกิริยาโดยใช้กฎความสัมพันธ์ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้เป็นเกณฑ์ในการ คัดเลือกผู้ป่วยโดยการใช้รูปแบบยาที่ผู้ป่วยใช้ร่วมกันมาเป็นเกณฑ์ที่จะคัดเลือกเข้ามาในโปรแกรม เพื่อให้ความรู้เรื่องความร่วมมือในการใช้ยากับผู้ป่วย เพื่อนำไปสู่ผลทางคลินิกที่ดีขึ้นในอนาคต Depression is a mental disorder which is characterized by feeling of guilt, suicidal tendencies and disturbed bodily functions. In 2002, depression is ranked as the fourth of disease burden in worldwide and it will be changed to the second rank in 2030. Furthermore, more than 350 million people worldwide suffer from depression. This research discovers patterns of medicine use in Thai adult depressed patients based on medical adherence by association rules. Three new methods are proposed. Firstly, a modified method of medication possession ratio for measuring adherence of patients is introduced. This modified method can be used to classify levels of patients’ adherence. In addition, the result reported from this method indicates that more than half of outpatients are non-adherent patients. The numbers of adherent patients and non-adherent patients are 1,230 (43.40%) and 1,604 (56.60%), respectively. As the result from this method, non-adherent patients do not take almost all medicines. Secondly, the method for measuring adherence by medicines is developed. From results, fluoxetine is a popular medicine for treatment depression. The percentage of adherent patients of this medicine is only 48.23%. Moreover, almost all patients are non-adherent patients for several medicines. Finally, patterns of associated medicines based on medical adherence are explored using association rules. The most popular pattern of associated medicines which is the cause of severe drug interaction is using Trazodone with Fluoxetine. These have support values of 15.30% and 19.00% in adherent and non-adherent patients, respectively. Moreover, several patterns of drug interactions are found. These patterns should be reported to clinical staffs. In conclusion, proposed methods can be applied for evaluating patients’ adherence, adherence for each medicine and finding patterns of medicine use which may be cause of severe drug interactions. These will be applied for selecting patients and medicines which are filled in the adherence training program for the better clinical result in the future. |
Description: | 54363204 ; สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ -- ชมภูนุช สุคนธวารี |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/96 |
Appears in Collections: | Pharmacy |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2.54363204 ชมภูนุช สุคนธวารี.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.