Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/982
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorแก้วมณี, อารยา-
dc.contributor.authorKAEWMANEE, ARAYA-
dc.date.accessioned2017-08-31T04:38:47Z-
dc.date.available2017-08-31T04:38:47Z-
dc.date.issued2559-12-06-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/982-
dc.description57252368 ; สาขาวิชาการบริหารการศึกษา -- อารยา แก้วมณีen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของกลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตหนองหญ้าไซ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของกลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตหนองหญ้าไซ เมื่อจำแนกตามตำแหน่งของผู้ตอบแบบสอบถาม 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของกลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตหนองหญ้าไซ โดยใช้โรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตหนองหญ้าไซ จำนวน 12 โรงเรียนเป็นหน่วยวิเคราะห์ (unit of analysis) ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน หัวหน้ากลุ่มสาระ 1 คน และครูผู้สอน 1 คน รวมทั้งสิ้น 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (arithmetric means) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของกลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตหนองหญ้าไซ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 5 ด้าน คือ กำหนดให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งเสริมสนับสนุนทรัพยากร แต่งตั้งคณะกรรมการ วางแผนพัฒนาครู บุคลากร และผู้เกี่ยวข้อง ประชุมคณะกรรมการ และอยู่ในระดับปานกลาง 4 ด้าน คือ การสรุปและรายงานผลการดำเนินงานพร้อมประชาสัมพันธ์ จัดตั้งเครือข่ายในสถานศึกษา สนับสนุนให้ครูและบุคลากรในสถานศึกษาเป็นสมาชิกสมาคม/ชมรมครูอาเซียน และกำหนดให้มีการนิเทศภายในสถานศึกษา 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของกลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตหนองหญ้าไซ พบว่า ตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของกลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตหนองหญ้าไซในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน โดยตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา มีค่ามัชฌิมเลขคณิตสูงกว่าหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูผู้สอน 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของกลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตหนองหญ้าไซ 1) ผู้บริหารควรเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินงานอาเซียนอย่างชัดเจน 2) ควรกำหนดแผนการดำเนินงานอาเซียนในแผนยุทธศาสตร์ของโรงเรียน 3) ผู้บริหารควรเป็นผู้นำในการจัดสรรงบประมาณการปฏิบัติงานด้านอาเซียนอย่างเพียงพอ 4) การวางแผนพัฒนาที่ดีคือการจัดให้มีการประชุม สัมมนาเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการเรียนรู่สู่ประชาคมอาเซียน อันนำไปสู่การปฏิบัติที่จริงจังและเป็นรูปธรรม 5) ผู้บริหารควรเป็นผู้นำในการสร้างเครือข่ายการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน 6) ควรจัดตารางสอนให้นักเรียนเข้าไปศึกษาหาความรู้และทำกิจกรรมในศูนย์อาเซียนศึกษาเพิ่มขึ้น 7) โรงเรียนควรจัดทำแผนการนิเทศการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนอย่างเป็นระบบ โดยการร่วมมือกันของทุกคนในโรงเรียน 8) ผู้บริหารเป็นผู้นำในการนำครูในโรงเรียนเข้าสมัครเป็นสมาชิกสมาชิกสมาคม/ชมรมครูอาเซียน 9) โรงเรียนควรจะปรับปรุงระบบสื่อสารให้ทันสมัยในรูปแบบที่หลากหลาย มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เนตที่รวดเร็วขึ้นเพื่อให้การประชาสัมพันธ์ได้ทันท่วงที The purposes of this research were to find: 1) The ASEAN Community learning management of Sahawittayakhet Nongyasai school cluster, 2) The comparision between opinions of administrators, heads of department, and teachers, on The ASEAN Community learning management of Sahawittayakhet Nongyasai school cluster and 3) Development on the process of The ASEAN Community learning management of Sahawittayakhet Nongyasai school cluster. The unit of analysis was school in Sahawittayakhet Nongyasai school cluster. There were 12 schools. The respondents were; 1) administrators 2) heads of department and 3) teachers in Sahawittayakhet Nongyasai school cluster, with the total of 36. The research instrument was questionnaire about “The ASEAN Community learning management”, based on Office of the Basic Education Commission: OBEC. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and content analysis. The findings revealed as follows: 1. The ASEAN Community learning management of Sahawittayakhet Nongyasai school cluster was found at the high level. When concern in each aspect, The ASEAN Community learning management of Sahawittayakhet Nongyasai school cluster found that there were 5 aspects at a high level; leaning activity exchange, support material resources, committee appointment, development teachers plans and committee meeting. While 4 aspects were at a moderate level; summary report and public relations, committee appointment for establishing school network, support the teacher and personnel to ASEAN association’s member and school supervision. 2. The comparision between opinions of administrators, heads of department, and teachers, on The ASEAN Community learning management of Sahawittayakhet Nongyasai school cluster and were different as a whole and individual of aspects. The arithmetic mean of administrators were higher than head of department and teachers. 3. Development on the process of The ASEAN Community learning management of Sahawittayakhet Nongyasai school cluster; 1) Administrators should have a transformational leadership to perform The ASEAN Community learning management clearly. 2) Plans for learning management of the ASEAN in the school Strategic Plan. 3) Administrators should support material resources adequately. 4) Good planning is to arrange a meeting, seminars for knowledge and understanding about The Asean Community learning management, leading to serious and tangible action. 5) Administrators should be a leader to establish the school network in community. 6) Schools should arrange the timetable and increase its activities in the ASEAN Studies Center. 7) Schools should plan supervision of The Asean learning management in a systematic manner by the cooperation of everyone. 8) Administrators should be a leader bringing their teachers to join the ASEAN association’s member. 9) Schools should be updated to modern communication systems in a variety of formats. It should have a faster Internet connection to provide timely information.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนen_US
dc.subjectกลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตหนองหญ้าไซen_US
dc.subjectTHE ASEAN COMMUNITY LEARNING MANAGEMENTen_US
dc.subjectSAHAWITTAYAKHET NONGYASAI SCHOOL CLUSTERen_US
dc.titleการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของกลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตหนองหญ้าไซen_US
dc.title.alternativeTHE ASEAN COMMUNITY LEARNING MANAGEMENT OF SAHAWITTAYAKHET NONGYASAI SCHOOL CLUSTERen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57252368 อารยา แก้วมณี.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.