Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/987
Title: แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์
Other Titles: TEACHERS' WORKING MOTIVATION OF PHRAPATHOM WITTHAYALAI 2 LUANG PHO-NGOEN ANUSORN SCHOOL
Authors: จันดี, วราลักษณ์
CHANDEE, WARALUK
Keywords: แรงจูงใจ
การปฏิบัติงานของครู
MOTIVATION
TEACHERS' WORKING
Issue Date: 14-Mar-2560
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์ 2) แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากรคือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระ รวม 11 คน และ ครูผู้สอน จำนวน 27 คน รวมทั้งสิ้น 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ตามแนวคิดของบาร์นาร์ด (Barnard) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. แรงจูงใจของครูในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเปนรายดานอยูในระดับมากโดยเรียงลําดับตาม คามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปนอย ดังนี้ ด้านผลประโยชน์ทางอุดมคติ ด้านความดึงดูดใจทางสังคม ด้านสภาพการอยู่ร่วมกัน ด้านโอกาสที่จะมีส่วนร่วมในการทำงานอย่างกว้างขวาง ด้านสิ่งจูงใจเกี่ยวกับสภาพการทำงาน โดยปรับสภาพการทำงานให้เหมาะสมกับตรงความสามารถของบุคคล และทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานแต่ละบุคคล ด้านสิ่งจูงใจที่เป็นวัตถุ ด้านสิ่งจูงใจที่เกี่ยวกับโอกาสของบุคคล ด้านสิ่งจูงใจด้านสภาพทางกายภาพที่พึงปรารถนา 2. แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์ ได้แก่ผู้บังคับบัญชาควรส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีความรัก ความสามัคคีให้โอกาสบุคลากรแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เสริมสร้างกำลังใจดูแลบุคลากรเหมือนคนในครอบครัว การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องอำนวยความสะดวกอย่างเพียงพอ ผลักดันให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการทำงาน กระตุ้นให้บุคลากรทุกคนตระหนักว่ามีความสำคัญในการมีส่วนร่วม แบ่งความรับผิดชอบภาระงานอย่างเท่าเทียมกัน ให้โอกาสบุคลากรก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เพิ่มความดึงดูดใจในการทำงานในตำแหน่งหน้าที่งานพิเศษและมอบอำนาจในการตัดสินใจให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่งานนั้น มีกรอบทิศทางเป้าหมายในการบริหารและการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและเป็นระบบ The purposes of this research were to find : 1) Teacher motivation of Phraprathomwitthayalai 2 Luang Pho-Ngoen Anusorn school 2) The guidelines of teacher motivation of Phraprathomwitthayalai 2 Luang Pho-Ngoen Anusorn school. This research is a descriptive study; the population for this research was 38 of administrators and teachers in Phraprathomwitthayalai 2 Luang Pho-Ngoen Anusorn school. The research instruments used was a questionnaire based on Barnard’s concepts. The statistical index were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and content analysis The results were found that: 1. Teacher motivation of Phraprathomwitthayalai 2 Luang Pho-Ngoen Anusorn school as both overview and individual component, were at a high level, ranking from the highest to the lowest: Ideal benefactions, associational attractiveness, the condition of communion, the opportunity of enlarged participation, adaptation of conditions to habitual methods and attitudes, material inducements, personal non-material opportunities, and desirable physical conditions. 2. Teacher motivation guidelines of Phraprathomwitthayalai 2 Luang Pho-Ngoen Anusorn school were: The administrator should promote employees to work together with love, happiness and harmony. Moreover, the administrator should give employees an opportunity to exchange their ideas on each problem, should support and take a good care of employees like family, purchase equipments and facilities sufficiently, encourage participation in the work. In addition, the administrator should simulate everyone to realize the importance of participation, assign equally works responsibility, give chances to progress in the work, add works attraction for special position and give decision with appropriate position. Furthermore, the administrator should have frameworks, goals of administration to work obviously and systematically.
Description: 57252355 ; สาขาวิชาการบริหารการศึกษา -- วราลักษณ์ จันดี
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/987
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57252355 วราลักษณ์ จันดี.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.