Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1011
Title: | การพัฒนารูปแบบเพื่อสนับสนุนการมีธรรมาภิบาลในกระบวนการงบประมาณแผ่นดิน |
Other Titles: | THE MODEL DEVELOPMENT FOR SUPPORTING GOOD GOVERNANCE OF THE NATIONAL BUDGET PROCESS้ |
Authors: | ศุภธีระธาดา, เจริญพงษ์ SUPPATHEERATHADA, JAROENPONG |
Keywords: | ธรรมาภิบาล กระบวนการงบประมาณแผ่นดิน ธรรมาภิบาลในกระบวนการงบประมาณแผ่นดิน รูปแบบเพื่อสนับสนุนการมีธรรมาภิบาล GOOD GOVERNANCE BUDGET PROCESS GOOD BUDGETARY GOVERNANCE MODEL DEVELOPMENT FOR SUPPORTING GOOD GOVERNANCE |
Issue Date: | 15-Aug-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบเพื่อสนับสนุนการมีธรรมาภิบาลในกระบวนการงบประมาณแผ่นดินที่เหมาะสมกับบริบทของการบริหารจัดการภาครัฐของไทย และ 2) ประเมินความเป็นไปได้ของการนำรูปแบบเพื่อสนับสนุนการมีธรรมาภิบาลในกระบวนการงบประมาณแผ่นดินไปใช้กับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และใช้วิธีการวิจัยแบบพหุวิธี (Multi Methods) มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (R1) ศึกษาข้อมูล เอกสารและงานวิจัยเพื่อสังเคราะห์และออกแบบยกร่างรูปแบบเพื่อสนับสนุนการมีธรรมาภิบาลในกระบวนการงบประมาณแผ่นดิน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (D1) พัฒนาร่างรูปแบบให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการ ด้านธรรมาภิบาลในกระบวนการงบประมาณแผ่นดิน ตลอดจนมีความเหมาะสมกับบริบทของการบริหารจัดการภาครัฐไทย โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (R2) ทดลองใช้รูปแบบกับหน่วยงานนำร่องและเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (D2) ประเมินความเป็นไปได้และความเหมาะสมของรูปแบบโดยใช้การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อนำผลมาใช้พัฒนารูปแบบให้เกิดความเหมาะสมกับการนำไปใช้ต่อไป ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบเพื่อสนับสนุนการมีธรรมาภิบาลในกระบวนการงบประมาณแผ่นดินที่เหมาะสมกับบริบทของการบริหารจัดการภาครัฐและมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้กับส่วนราชการมีองค์ประกอบได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ประเด็นนำทาง 23 ประเด็น และแนวทางเพื่อสนับสนุนการมีธรรมาภิบาล 76 ข้อ และผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านนโยบาย ควรกำหนดให้การส่งเสริมสนับสนุนธรรมาภิบาลในกระบวนการงบประมาณแผ่นดินเป็นนโยบายสาธารณะและวาระแห่งชาติ ควรมีกลไกหรือหน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบการขับเคลื่อนการสร้างธรรมาภิบาล ควรสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการสร้างธรรมาภิบาลและควรมีการพัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงบประมาณให้รองรับการสนับสนุนธรรมาภิบาล 2) ด้านการนำไปปฏิบัติ ควรสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับธรรมาภิบาล ควรขับเคลื่อนการนำรูปแบบไปใช้ในเชิงรุก ควรกำหนดเป้าหมายและวางแผน การขับเคลื่อนรูปแบบอย่างมุ่งเป้า ควรจัดทำคู่มือการใช้งานรูปแบบ และควรติดตามประเมินผลการนำรูปแบบไปใช้งาน 3) สำหรับการวิจัยครั้งต่อไป ควรวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์การประเมินผลการมีธรรมาภิบาลในกระบวนการงบประมาณ และควรวิจัยในกลุ่มตัวอย่างอื่นหรือในเชิงกว้างหรือเชิงลึกเพื่อพัฒนารูปแบบให้เกิดความสมบูรณ์ This research and development (R & D) with an integration of multi methods aims to 1) develop a model to support a good governance in the budget process that is appropriate to the context of the Thai public sectors management, and 2) evaluate the feasibility of using the model to support good governance in the budgeting process of public sectors, non-government organizations, and other government organizations. The 4 steps of the R & D were carried out including; 1) literature review, synthesis, and drafting the model (R1), 2) developing a draft model in accordance with problems and needs of a good governance in the budget process of Thailand by using Delphi technique (D1), 3) pilot study using interview (R2), 4) assessment the feasibility and appropriateness of the model using focus group, and developing the model (D2). The results showed that the components of the model supporting a good governance in the budget process that was appropriate to the context of the Thai public sectors management included principle, objectives, 23 guiding issues, and 76 guidance to supporting the good governance. The researcher proposed three recommendations including 1) policy (building public policy/national agenda in promoting and supporting the creation of good governance in the budget process, setting a mechanism or hosting organization to be responsible for driving the good governance, and encouraging a public participation in building the good government), 2) the model implementation (providing correct understanding about good governance, promoting proactive working, setting goals and planning with goal-driven model, creating a guidelines manual, and monitoring and evaluation, 3) suggestions for further research (doing research on the development of indicators and assessment’s criteria of the good governance in the national budget process, and studying in the different sample or running in-depth or wide research. |
Description: | 54604917 ; สาขาวิชาการจัดการ -- เจริญพงษ์ ศุภธีระธาดา |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1011 |
Appears in Collections: | Management Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
54604917 เจริญพงษ์ ศุภธีระธาดา.pdf | 16.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.