Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1089
Title: ผลของการหมักเปลือกลูกตาลโดยใช้แบคทีเรียกรดแลคติคในน้ำพืชหมักต่อการย่อยได้โภชนะและสมรรถนะการเจริญเติบโตในแพะลูกผสม
Other Titles: EFFECTS OF FERMENTED SUGAR PALM PEEL WITH FJLB ON NUTRIENTS DIGESTIBILITY AND GROWTH PERFORMANCE IN CROSSBRED GOAT
Authors: ชาญปรีชา, ทิพาพร
CHANPRECHA, TIPAPRON
Keywords: เปลือกลูกตาล
แพะ
สมรรถนะการเจริญเติบโต
การย่อยได้โภชนะ
น้ำพืชหมักจากหญ้า
SUGAR PALM PEEL
GOAT
GROWTH PERFORMANCE
NUTRIENTS DIGESTIBILITY
FERMENTED JUICE FROM GRASS
Issue Date: 3-Mar-2560
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: จากการศึกษาในครั้งนี้ประกอบด้วย 3 การทดลอง โดยการทดลองที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำพืชหมักจากหญ้าเนเปียร์, หญ้ารูซี่ และหญ้ากินนี โดยวางแผนการทดลองแบบ 3 x 2 factorial in Completely randomized design (CRD) ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ ชนิดน้ำพืชหมักของหญ้า และระดับการเติมน้ำตาลกลูโคส โดยพบว่าน้ำพืชหมักจากหญ้ารูซี่ที่เติมน้ำตาลกลูโคสมีจำนวนของแบคทีเรียกรดแลคติคและปริมาณกรดแลคติคที่สูง ส่งผลให้ค่า pH ลดต่ำลง และยังมีปริมาณน้ำตาลทั้งหมดสูงกว่าน้ำพืชหมักจากหญ้าเนเปียร์และหญ้ากินนี (P < 0.05) นอกจากนี้น้ำพืชหมักจากหญ้ารูซี่ที่เติมน้ำตาลกลูโคสมีจำนวนแบคทีเรียกลุ่มแอโรบิค จำนวนเชื้อราและยีสต์ต่ำกว่าน้ำพืชหมักจากหญ้าเนเปียร์และหญ้ากินนีที่บ่มเป็นระยะเวลา 36 ชั่วโมง( P< 0.05) ส่วนการทดลองที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับปรุงเปลือกลูกตาลหมักโดยใช้แบคทีเรียกรดแลคติคจากน้ำพืชหมัก โดยวางแผนการทดลองแบบ 2 x 4 factorial in CRD ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ ชนิดของน้ำพืชหมักและระยะเวลาการหมัก พบว่าเปลือกลูกตาลหมักที่เติมน้ำพืชหมักจากหญ้ากินนีร่วมกับน้ำตาลกลูโคสมีค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้งในหลอดทดลอง ปริมาณแอมโมเนียไนโตรเจน และปริมาณกรดไขมันที่ระเหยได้ทั้งหมดสูงกว่าเปลือกตาลหมักในกลุ่มการทดลองอื่นๆ (P < 0.01) ที่หมักเป็นเวลา 21 วัน การทดลองที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเปลือกลูกตาลหมักโดยใช้แบคทีเรียกรดแลคติคในน้ำพืชหมักต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต และการย่อยได้โภชนะในแพะพันธุ์ลูกผสม (พื้นเมือง x บอร์) จำนวน 9 ตัว เพศผู้ มีน้ำหนักตัวเริ่มต้นเฉลี่ย 13.67 ± 0.58 กิโลกรัม อายุเฉลี่ย 3 – 4 เดือน โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD พบว่าแพะที่ได้รับเปลือกลูกตาลหมักในแต่ละกลุ่มการทดลองมีปริมาณการกินได้ สมรรถนะการเจริญเติบโต ปริมาณกลูโคส ยูเรียไนโตรเจนในกระแสเลือด และสมดุลไนโตรเจนไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) ยกเว้นปริมาณไนโตรเจนที่ขับออกทางปัสสาวะ โดยแพะที่ได้รับเปลือกลูกตาลหมักที่เติมน้ำพืชหมักจากหญ้ากินนีมีปริมาณไนโตรเจนที่ขับออกทางปัสสาวะสูงกว่าแพะที่ได้รับเปลือกลูกตาลหมักในกลุ่มการทดลองอื่นๆ (P < 0.05) นอกจากนี้แพะที่ได้รับเปลือกลูกตาลหมักที่ไม่เติมน้ำพืชหมักมีค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของโปรตีนต่ำ แต่มีค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของเฮมิเซลลูโลส เซลลูโลส และพลังงานที่ย่อยได้สูงกว่าแพะที่ได้รับเปลือกลูกตาลหมักในกลุ่มการทดลองอื่นๆ (P < 0.01) ดังนั้นในการทดลองครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าเปลือกลูกตาลหมักโดยใช้แบคทีเรียกรดแลคติคในน้ำพืชหมักจากหญ้ากินนีสามารถใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบทดแทนในการเลี้ยงแพะได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของโภชนะ และสมรรถนะการเจริญเติบโตในแพะลูกผสม This study consisted of 3 experiments. Firstly, the objective was to study quality of fermented juice from napier grass, ruzi grass and guinea grass. This study was assigned with 3 x 2 factorial in completely randomized design (CRD). This study consisted of 2 factors such as type of fermented juice from grass and addition level of glucose. The results showed that fermented juice from ruzi grass with glucose had higher lactic acid bacterial count (LAB) and lactic acid content caused lower pH value. Moreover, fermented juice from ruzi grass with glucose had higher total sugar content than fermented juice from napier grass and guinea grass (P < 0.05). In addition, fermented juice from ruzi grass with glucose had lower aerobic bacterial, yeast and mold count than fermented juice from napier grass and guinea grass at hour 36 (P < 0.05). Secondly, the objective was to improve sugar palm peel with fermented juice of epiphytic lactic acid bacteria (FJLB). This experiment was designed in a 2 x 4 factorial in CRD. This study consisted of 2 factors such as types of FJLB and times of silage. The results showed that sugar palm peel silages with FJLB from guinea grass with glucose had higher in vitro dry matter digestibility (IVDMD), ammonia nitrogen (NH3-N) volume and total volatile fatty acid (TVFA) than sugar palm peel silages other treatments (P < 0.01) at 21 day of fermentation. Thirdly, the objective was to study effect of sugar palm peel with FJLB on growth performance and nutrients digestibility in crossbreed goat (Native x Boer) for 9 male crossbreed goats. The average initial weight of 13.67 ± 0.58 kg and age 3 - 4 month. This experiment was assigned into CRD. The results showed that goat fed sugar palm peel silage had feed intake, growth performance, glucose and urea nitrogen in blood, and nitrogen balance was not different statistically among treatments (P > 0.05), except of nitrogen excreted in the urine. Goat fed sugar palm peel silage with FJLB from guinea grass was had higher nitrogen excreted in the urine than goat fed sugar palm peel silage other treatments (P < 0.05). In addition goat fed sugar palm peel silage without FJLB was had lower digestibility coefficient of crude protein, but had higher digestibility coefficient of hemicellulose, cellulose and digestible energy than goat fed sugar palm peel silage other treatments (P < 0.01). In this experiment, we can conclude that sugar palm peel silage with lactic acid bacterial in FJLB from guinea grass is can use substitute as source roughage for goat diet no adverse effect on nutrients digestibility and growth performance in crossbreed goat.
Description: 57751201 ; สาขาวิชาสัตวศาสตร์ -- ทิพาพร ชาญปรีชา
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1089
Appears in Collections:Animal Sciences and Agricultural Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57751201 ทิพาพร ชาญปรีชา.pdf3.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.