Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1093
Title: | ผลของเปลือกข้าวโพดหมักโดยใช้แบคทีเรียกรดแลคติคในน้ำหมักเปลือกผลไม้ต่อการย่อยได้โภชนะและสมรรถนะการเจริญเติบโตในแพะลูกผสม |
Other Titles: | EFFECTS OF FERMENTED CORN PEEL WITH FRUIT JUICE OF EPIPHYTIC LACTIC BACTERIA (FJLB) ON NUTRIENTS DIGESTIBILITY AND GROWTH PERFORMANCE IN CROSSBRED GOAT |
Authors: | สีสาวแห, ยุพา SEESAWHEA, YUPHA |
Keywords: | น้ำหมัก เปลือกข้าวโพด เปลือกผลไม้ ระบบ in vitro แพะลูกผสม FERMENTED JUICE CORN PEEL FRUIT PEEL IN VITRO SYSTEM CROSSBRED GOAT |
Issue Date: | 3-Mar-2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | การศึกษาในครั้งนี้ประกอบด้วย 3 การทดลอง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) โดยการทดลองที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำหมักจากเปลือกผลไม้ 3 ชนิด (เปลือกสับปะรด เปลือกมะละกอ และเปลือกมะม่วง) พบว่าน้ำหมักจากเปลือกสับปะรดมีปริมาณแบคทีเรียกรดแลคติคและปริมาณกรดแลคติคทั้งหมดสูง แต่มีปริมาณน้ำตาลต่ำลง ส่งผลให้ค่า pH ลดต่ำลง (P<0.01) อีกทั้งยังมีปริมาณเชื้อราและยีสต์ต่ำกว่าน้ำหมักจากเปลือกผลไม้ในกลุ่มการทดลองอื่นๆ (P<0.05) แต่มีปริมาณแบคทีเรียกลุ่มแอโรบิคในน้ำหมักจากเปลือกผลไม้ในแต่ละกลุ่มการทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ที่ระยะการหมัก 30 ชั่วโมง การทดลองที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงเปลือกข้าวโพดหมักโดยใช้แบคทีเรียกรดแลคติคจากน้ำหมักเปลือกผลไม้ (Fermented juice of epiphytic lactic bacteria: FJLB) ทั้ง 3 ชนิด (เปลือกสับปะรด เปลือกมะละกอ และเปลือกมะม่วง) ต่อองค์ประกอบทางเคมี ความสามารถในการย่อยได้ในหลอดทดลองและผลผลิตแก๊สสะสม พบว่าเปลือกข้าวโพดหมักที่เติมน้ำหมักจากเปลือกสับปะรดมีค่า pH อยู่ระหว่าง 3.11-3.63 และมีความสามารถในการย่อยได้ของอินทรียวัตถุในหลอดทดลองสูงกว่าเปลือกข้าวโพดหมักในกลุ่มการทดลองอื่นๆ (P<0.01) แต่อย่างไรก็ตามค่าปริมาณความเข้มข้นของกรดไขมันที่ระเหยได้ทั้งหมด แอมโมเนียไนโตรเจน ค่าจลศาสตร์การหมักย่อย และค่า pH ของของเหลวจากกระเพาะรูเมนของเปลือกข้าวโพดหมักในแต่ละกลุ่มการทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ที่ระยะเวลาหมัก 14 วัน สำหรับการทดลองที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงเปลือกข้าวโพดหมักโดยใช้แบคทีเรียกรดแลคติคในน้ำหมักจากเปลือกสับปะรดต่อสัมประสิทธิ์การย่อยได้โภชนะและสมรรถนะการเจริญเติบโตในแพะลูกผสมพันธุ์พื้นเมือง x บอร์ เพศผู้ จำนวน 9 ตัว โดยแพะมีน้ำหนักตัวเริ่มต้นเฉลี่ย 14.25 ± 1.08 กิโลกรัม อายุเฉลี่ย 3-4 เดือน พบว่าปริมาณการกินได้ทั้งหมด สมรรถนะการเจริญเติบโต ปริมาณกลูโคสและยูเรียไนโตรเจนในกระแสเลือด และปริมาณสมดุลไนโตรเจนของร่างกายของแพะในแต่ละกลุ่มการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) แต่พบว่าแพะที่ได้รับเปลือกข้าวโพดที่เติมกากน้ำตาลมีค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง เยื่อใย ADF และเซลลูโลสต่ำกว่าแพะในกลุ่มการทดลองอื่นๆ (P<0.05) ดังนั้นการทดลองสามารถสรุปได้ว่าเปลือกข้าวโพดหมักที่เติมน้ำหมักจากเปลือกสับปะรดสามารถนำไปใช้เป็นสารเสริมในการปรับปรุงเปลือกข้าวโพดหมักได้ เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณการกินได้ทั้งหมดและสมรรถนะการเจริญเติบโต แต่เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยได้โภชนะในแพะลูกผสม The study consisted of 3 experiments. This study was designed in a completely randomized design (CRD). Firstly, the objective was to study the quality of fermented juice from various fruit peels (pineapple peel, papaya peel and mango peel). The results showed that fermented juice from the pineapple peel had higher lactic acid bacteria count and higher total lactic acid content but lower total sugar residual content and lower pH value than other treatments (P<0.01). Moreover, fermented juice from the pineapple peel had lower molds and yeast than other treatments (P<0.05) but aerobic bacteria count was not significantly different among treatments (P>0.05) after fermentation for 30 hours. Secondly, the objective was to improve corn peel silage using fermented juice of epiphytic lactic bacteria (FJLB) from various fruit peel (pineapple peel, papaya peel and mango peel) on chemical compositions, in vitro digestibility and gas production. The results showed that corn peel silage with FJLB from pineapple peel had pH value between 3.11-3.63 and higher in vitro organic matter digestibility than other treatments (P<0.01). However, total volatile fatty acid (TVFA), ammonia nitrogen (NH3-N), fermentation kinetics and rumen fluid pH value after incubation were not significantly different among treatments (P>0.05) after incubation for 14 days. Thirdly, the objective attempted to improve nutrient digestibility of corn peel silage using fermented juice produced by epiphytic lactic bacteria (FJLB) from pineapple peel and to investigate its effects on growth performance in 9 male crossbred goat (Native x Boer). The average initial weight and the average age of goats were 14.25 ± 1.08 kg. and 3-4 months, respectively. The results showed that total feed intake (FI), growth performance, blood glucose, blood urea nitrogen and nitrogen content of goats were not significantly different among treatments (P>0.05). However, goat fed with corn peel silage with molasses had dry matter, acid detergent fiber and cellulose digestibility lower than other treatments (P<0.05). In conclusion, FJLB from pineapple peel can be used as corn peel silage additive. Corn peel silage with FJLB from pineapple peel had no adverse effect on total feed intake and growth performance beside it boosted digestibility in crossbred goats. |
Description: | 57751202 ; สาขาวิชาสัตวศาสตร์ -- ยุพา สีสาวแห |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1093 |
Appears in Collections: | Animal Sciences and Agricultural Technology |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57751202 ยุพา สีสาวแห.pdf | 3.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.