Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1143
Title: Pattern of Toothwear and Dietary Behavior at Nong Rachawat, Suphan Buri
รูปแบบการสึกของฟันกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร จังหวัดสุพรรณบุรี
Authors: Watinee TANOMPOLKRANG
วาทินี ถนอมพลกรัง
Rasmi Shoocongdej
รัศมี ชูทรงเดช
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: ร่องรอยการสึกขนาดเล็ก
รอยสึก
สมัยหินใหม่
ฟัน
พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
microwear
tooth wear
Neolithic
dietary behavior
abrasion
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This study aims to further understand the pattern of tooth wear and dietary behavior of people in Nong Rachawat archaeological site, Suphan buri province. Nong Rachawat dates to Neolithic period (3,800 to 4,000 years ago). Thirteenth samples of the first or the second lower molar on the mandible from 49 human bones, discovered from 2014 to 2015, were identified with a stereo microscope at 50X, 100X, and 200X magnification and compared with 10 samples of the first lower molar of people in current population. The modern samples were divided into 2 groups, including the group for ones who prefer meat consumption and the other for those who prefer vegetable consumption. The researcher decided to examine the molar teeth in particular since the molars are primarily used for grinding food. The findings revealed that the tooth abrasion of the prehistorical people at Nong Rachawat Archaeological was the combination between the scratch and the pit. The number of the scratches were more frequently found than the pits, and their sizes were different. When compared with the samples collected from the present people’s molars, the qualities of scratch and pit were similar to those of who prefer meat consumption rather than vegetable consumption. When considering from the other artifacts which were mutually discovered such as rice husks in the earthenware and bones of Bovidae Cervidea, Reptilia and fish. This led to conclude that the food consumed by the people contained quite rough and hard fiber. Moreover, the way of grinding food was chewing by slanting the jaws rather than biting. In sum, the way of living was a mixed subsistence strategies of hunting-gathering and agriculture.
การศึกษานี้เป็นการศึกษาร่องรอยการสึกขนาดเล็กบนผิวฟัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนการบริโภคอาหารของคนก่อนประวัติศาสตร์ที่แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยหินใหม่ที่สำคัญอายุประมาณ 3,800-4,000 ปีมาแล้ว โดยศึกษาจากตัวอย่างฟันกรามล่างซี่ที่ 1 หรือ 2 ที่ติดอยู่ในตำแหน่งเดิมบนขากรรไกรล่าง ด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูงชนิด Stereo Microscope กำลังขยาย 50X, 100X และ 200X จำนวน 13 ตัวอย่าง จากโครงกระดูกมนุษย์ทั้งหมด 49 โครงที่ได้จากการขุดค้นในปี พ.ศ.2557-2558 และเปรียบเทียบกับตัวอย่างฟันกรามล่างซี่ที่ 1 ของประชากรในปัจจุบันจำนวน 10 ตัวอย่าง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มบริโภคเนื้อสัตว์เป็นส่วนใหญ่และกลุ่มบริโภคพืชเป็นส่วนใหญ่ การเลือกศึกษาเฉพาะฟันกรามนั้นเนื่องจากฟันกรามเป็นฟันที่มีหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหารและเป็นหลัก  ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบร่องรอยการสึกของฟันคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี มีรูปแบบการสึกแบบผสมระหว่าง รูปแบบการสึกที่เป็นลักษณะของร่องรอยขูดขีด (Scratch) และร่องรอยหลุม (Pit) ปะปนกัน ร่องรอยขูดขีดจะมีลักษณะเป็นเส้นตรงยาว วางตัวในทิศทางต่างๆ ร่องรอยหลุมจะมีลักษณะเป็นหลุมที่มีความกว้างหรือยาวในอัตราส่วนใกล้เคียงกัน โดยในตัวอย่างฟันจากแหล่งโบราณคดีหนองราชวัตรพบว่ามีจำนวนร่องรอยขูดขีดมากกว่าร่องรอยหลุม ขนาดของร่องรอยไม่เท่ากัน เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างในปัจจุบันพบว่ามีลักษณะคล้ายกับร่องรอยการสึกของกลุ่มคนบริโภคเนื้อสัตว์เป็นส่วนใหญ่มากกว่ากลุ่มคนบริโภคพืชเป็นหลัก เมื่อพิจารณาจากโบราณวัตถุอื่นๆที่พบร่วมกัน เช่น เศษเปลือกข้าวในเนื้อภาชนะดินเผา และกระดูกสัตว์ที่พบร่วมกัน นำไปสู่การสันนิษฐานถึงแบบแผนการบริโภคอาหารของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตรว่ามีการบริโภคอาหารที่มีลักษณะเส้นใยค่อนข้างหยาบและแข็ง มีลักษณะการดำรงชีวิตแบบเก็บของป่าล่าสัตว์ผสมผสานกับการปลูกพืช
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1143
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56102202.pdf6.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.