Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1161
Title: Services of a Digitized Glass Plates Negatives Collection in National Archives of Thailand
การจัดบริการภาพถ่ายจากฟิล์มกระจกที่อยู่ในรูปดิจิทัลของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
Authors: Pawida SOMWONG
ภาวิดา สมวงศ์
Vispat Chaichuay
วิศปัตย์ ชัยช่วย
Silpakorn University. Graduate School
Keywords: การบริการภาพถ่าย
ฟิล์มกระจก
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
archival services
glass plate negatives
National Archives of Thailand
digital archival services
framework for sevices
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The Objectives of qualitative research are explanation about (1) the current situation and problem of Glass Plates Negatives collection services in National Archives of Thailand and (2) development of a conceptual framework for services of a digitized glass plates negatives collection in National Archives Thailand. It is collected by studying from documentary study, in-depth interview and observation. Key Informants have 13 person including Information provider group and client group. Then information is qualitative analysis.  The research results are (1) services of National Archives which is same in the past or reactive. It continues to focus on users who walk in National Archives.  So the problems are lack of guidelines or methodology in digital archival services, not effective search engine and unclear in copyright and term of services. (2) conceptual framework for services of a digitized glass plates negatives collection has 2 main components including (1) the provision of service resources; (2) the method of service provision; Both of these sections are consistent. The response to the service is important. It has a subset of physical infrastructure, budget, personnel, access methods, methods and procedures, terms and conditions of use. This research will lead to the development of photos from Glass Plate Negatives Collections service management model of National Archives of Thailand and accommodate changes outside.  Moreover, It will guide to research related issues.  
การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1)ศึกษาสภาพปัจจุบันในการจัดบริการภาพถ่ายจากฟิล์มกระจกของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ(2)พัฒนากรอบแนวคิดในการจัดบริการภาพถ่ายจากฟิล์มกระจกในรูปแบบดิจิทัลของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ การศึกษาจากเอกสาร (Documentary Study) การสัมภาษณ์ (Interview) ร่วมกับการสังเกต (Observation) ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ประกอบด้วยย  กลุ่มของหน่วยงานผู้ให้บริการ (Information Provider) และ กลุ่มของผู้รับบริการ (Client) รวม 13 ราย ผลการวิจัยพบว่า 1.การบริการยังเป็นแบบดั้งเดิม (Reactive) ที่เน้นกลุ่มผู้ใช้บริการภายในหอจดหมายเหตุแห่งชาติเป็นหลัก ปัญหาสำคัญที่พบคือ ยังขาดแนวทางหรือวิธีการที่ชัดเจนเกี่ยวกับการบริการสำหรับเอกสารที่เป็นแบบดิจิทัล, เครื่องมือช่วยค้นยังขาดเอกภาพและประสิทธิภาพ, ข้อกำหนดสิทธิ์และเงื่อนไขในการใช้บริการยังไม่ชัดเจน 2.กรอบแนวคิดในการจัดการบริการภาพถ่ายจากฟิล์มกระจกที่อยู่ในรูปดิจิทัล  มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ (1) การจัดเตรียมทรัพยากรด้านการบริการ (2) วิธีการจัดบริการ ซึ่งทั้งสองส่วนนี้มีความสอดคล้องกัน คือต้องตอบสนองผู้รับบริการเป็นสำคัญ และมีองค์ประกอบย่อย คือ โครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ, งบประมาณ, บุคลากร, วิธีการเข้าใช้บริการ, วิธีการและขั้นตอนการให้บริการ, ข้อกำหนดสิทธิ์และเงื่อนไขในการใช้บริการ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการจัดนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการจัดบริการภาพถ่ายจากฟิล์มกระจกของหอจดหมายเหตุแห่งชาติให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง ตลอดจนเป็นแนวทางการวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อไป  
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1161
Appears in Collections:Graduate School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57903201.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.