Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1323
Title: Built Environment and Vernacular Architecture of Dai Lue Ethnic Group at Ban Ngay Nue, Phongsali, Lao PDR. : Past, Existing and Its Change
สภาพแวดล้อม และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นลื้อ บ้านงายเหนือ เมืองบุนเหนือ แขวงพงสาลี  สปป.ลาว : อดีต สถานการณ์ปัจจุบัน และความเปลี่ยนแปลง
Authors: Chanhthanom SOUKHASEUM
Chanhthanom SOUKHASEUM
Kreangkrai Kirdsiri
เกรียงไกร เกิดศิริ
Silpakorn University. Architecture
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this research are to study current situations and changes of vernacular architecture in Ban Ngay Nue, Phongsali, Lao PDR through spatial use and plan of the village so as to fulfill the body of knowledge about Lue settlement in South East Asia. Vernacular architecture of Lue can be classified into two types: four-side house and “Ruan Ha” and vernacular architecture at present, comprising “Ruan Song Jok” (two-gable house) and “Ruan Sam Jok” (three-gable house). In terms of functions, vernacular architecture of this area can be categorized into six forms: 1.) the staircase leads to the main hall and the fireplace is at the main hall; 2.) the staircase leads to the front terrace, with a door which separates the main hall, with the fireplace located there; 3.) the staircase leads to the front terrace, with the kitchen, connecting to the main hall; 4.) the staircase leads to the main hall, with a door separating the main hall; however, the terrace can lead to the kitchen; 5.) the staircase leads to the front terrace, with a door separating the main hall, and the kitchen is on the ground, and the bathroom was found; and 6.) the staircase leads to the hall inside the house, with a bedroom and a bathroom on the ground. These six types of houses portray the development of vernacular architecture and spatial use in this area
งานศึกษาวิจัยชิ้นนี้ มุ่งเน้นการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น บ้านงายเหนือ เมืองบุนเหนือ แขวงพงสาลี สปป.ลาว โดยทำการศึกษาอดีต สถานการณ์ปัจจุบันและความเปลี่ยนแปลงที่แสดงออกบนพื้นที่การใช้สอยของเรือนและระบบการวางแผนผังหมู่บ้านด้วยมุ่งหวังให้ข้อค้นพบที่จะเกิดขึ้นช่วยเติมเติมองค์ความรู้เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยกลุ่มลื้อให้สมบูรณ์มากขึ้น การศึกษาแบ่งลักษณะของรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เป็น 2 รูปแบบ คือ 1) สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นลื้อ แบบดั้งเดิม (เรือนจารีต) คือ เรือน 4 ด้าน และเรือนฮา และ 2) สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นลื้อแบบสถานการณ์ปัจจุบันจะเป็นเรือนโย (เรือน 2 จอก และเรือน 3 จอก หรือเรือน 2 จั่ว และเรือน 3 จั่ว) ทั้งนี้แบ่งตามหน้าที่การใช้สอยทั้งหมดมี 6 แบบแผน คือ แบบแผนที่ 1 บันไดเชื่อมต่อขึ้นสู่พื้นที่โถงของเรือนหลัก และมีแม่เตาไฟอยู่ในโถง, แบบแผนที่ 2 บันไดเชื่อมต่อขึ้นสู่ระเบียงหน้า (ค่อม) มีประตูกั้นระหว่างระเบียงหน้าสู่พื้นที่โถงของเรือนหลัก และมีแม่เตาไฟในโถง, แบบแผนที่ 3 บันไดเชื่อมต่อขึ้นสู่ระเบียงหน้า (ค่อม) มีประตูกั้นระหว่างระเบียงหน้าสู่พื้นที่โถงของเรือนหลัก และมีการต่อเติมเรือนไฟขนานกับเรือนหลัก โดยเชื่อมต่อสู่เรือนไฟผ่านโถง, แบบที่ 4 บันไดเชื่อมต่อขึ้นสู่ระเบียงหน้า (ค่อม) และสามารถเชื่อมต่อไปยังห้องโถงซึ่งมีประตูกั้น และจากระเบียงหน้าก็สามารถเชื่อมต่อไปสู่เรือนไฟที่ตั้งอยู่ด้านหัวของระเบียงหน้า, แบบที่ 5 บันไดเชื่อมต่อขึ้นสู่ระเบียงหน้า (ค่อม) มีประตูกั้นระหว่างระเบียงหน้าสู่พื้นที่โถงของเรือนหลัก แยกเรือนไฟเป็นเรือนเดี่ยวติดพื้นดิน และมีการก่อสร้างห้องน้ำอยู่ด้วย, แบบที่ 6 มีการก่อล้อมใต้ถุนเรือน และย้ายบันไดเข้าไปอยู่ในอาคารเชื่อมต่อจากใต้ถุนสู่พื้นที่โถงในเรือน มีห้องนอนใต้ถุนเรือนและมีเรือนไฟสร้างเป็นเรือนเดี่ยวติดพื้นดิน และมีการก่อสร้างห้องน้ำอยู่ด้วย ทั้งนี้ แบบแผนของเรือนทั้ง 6 รูปแบบนั้นสัมพันธ์กับพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมและการจัดวางพื้นที่ใช้สอยของเรือนลื้อในพื้นที่กรณีศึกษา
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1323
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58057208.pdf23.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.