Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1333
Title: A study and product development  for supporting religious activities of elderly people in the former urban area’s. Case study: Nang-Loeng Community in Bangkok Thailand
การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนาสำหรับผู้สูงอายุ ในพื้นที่ชุมชนเมืองเก่า กรณีศึกษา: ชุมชนนางเลิ้ง กรุงเทพมหานคร
Authors: Kaninnat OLANWONGSAKUL
คณินณัฎฐ์ โอฬารวงศ์สกุล
Ptave Arrayapharnon
ปฐวี อารยภานนท์
Silpakorn University. Decorative Arts
Keywords: ชุมชนเมืองเก่า
กิจกรรมทางศาสนา
OLD COMMUNITT AREA
RELIGIOUS ACTIVITIES
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The main purpose of this research paper is to systematically investigate elderlies’ social activities and religious activities performed in Nang-Loeng, an old community area in Bangkok, Thailand, that affect product design used to support those activities. The process of this research is as follows: (1) Collect physical data from the focus group of 34 elderlies, resided in the area for more than 30 years, via direct observation, together with structured interviews, of social activities and religious practices. (2) Design products to support social and religious activities in two categories: easy-to-use products (A model) and compact- Foldable products (B model). Three models in each category are produced using 3D simulation and are then investigated and rated by product professionals. Two most rated models, one from each category, are finally chosen for further developments. (3) Survey satisfaction among the focus group’s subgroup of 20 elderlies who have been deeply religious and have been seriously practicing religious activities. by using questionnaires with discrete rating scale from1 to 5. The statistics used for data analyses are mean and standard deviation, and the results are shown descriptively. The results suggest that the A1 model (easy-to-use products) is deemed most appropriate among elderlies in the following aspects: Movement support: The study indicates ‘high’ level of satisfaction with mean score of 4.45 and standard deviation 0.51. Suitability: The study indicates ‘high’ level of with mean score of 4.35 and standard deviation 0.67. Religious activities promotion: The study indicates ‘high’ level of satisfaction with mean score of 4.35 and standard deviation 0.67. Seating support: The study indicates ‘high’ level of satisfaction with mean score of 4.30 and standard deviation 0.66. Support usage as a table: The study indicates ‘high’ level of satisfaction with mean score of 4.20 and standard deviation 0.62. Support usage as a container: The study indicates ‘high’ level of satisfaction with mean score of 4.05 and standard deviation 0.69. Durability: The study indicates ‘high’ level of satisfaction with mean score of 4.05 and standard deviation 0.69. Productivity: The study indicates ‘high’ level of satisfaction with mean score of 4.10 and standard deviation 0.45. Finally product continuation: The study indicates ‘high’ level of satisfaction with mean score of 3.85 and standard deviation 0.49.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมทางสังคม และกิจกรรมทางศาสนาที่สอดคล้องกับการใช้พื้นที่ชุมชนของผู้สูงอายุ ที่ส่งผลต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์สนับสนุนกิจกรรมทางสังคมและศาสนา เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนาสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนเมืองเก่า กรณีศึกษา: ชุมชนนางเลิ้ง กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีขั้นตอนในการวิจัยดังนี้ 1.การเก็บข้อมูลกายภาพโดยการสำรวจเพื่อทราบรายละเอียด การสังเกตการณ์ทางตรงด้านพฤติกรรม และการดำเนินกิจกรรมทางศาสนา ร่วมกับการใช้แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง โดยกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนมานานกว่า 30 ปี จำนวน 34 คน 2.ออกแบบผลิตภัณฑ์สนับสนุนกิจกรรมทางศาสนาสำหรับผู้สูงอายุใน ชุมชนนางเลิ้ง โดยมีแนวทางการออกแบบ 2 แนวทาง คือ รูปแบบ A ที่มีการใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน และรูปแบบ B ที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ เพื่อการจัดเก็บ โดยทำการออกแบบแนวทางละ 3 แบบร่าง และแบบจำลองผลิตภัณฑ์ สำหรับใช้ในการสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่าเลือกแบบที่มีความเหมาะสมมากที่สุดแนวทางละ 1 แบบ เพื่อทำการพัฒนาต้นแบบต่อไป 3.สอบถามความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 20 คน ซึ่งคัดเลือกจากผู้สูงอายุในชุมชนนางเลิ้งที่มีการนับถือ และประกอบกิจกรรมทางศาสนา โดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และแสดงผลในรูปแบบการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ A1 (แนวคิดที่ใช้งานอย่างง่าย) เป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับกิจกรรมทางศาสนาของผู้สูงอายุ สามารถใช้งานได้เหมาะสมกับพื้นที่ชุมชน โดยมีความพึงพอใจต่อรูปแบบของผลิตภัณฑ์มีส่วนช่วยในการช่วยพยุงร่างกายในการเดิน ของผู้สูงอายุในพื้นที่ชุมชน ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.45 (S.D.=0.51) ด้านรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เข้ากับความเป็นชุมชน และบริบทของพื้นที่กรณีศึกษา  ในด้านรูปแบบของผลิตภัณฑ์มีส่วนช่วยนำพาผู้สูงอายุไปประกอบกิจกรรมทางศาสนา มีระดับความเหมาะสมเท่ากันใน ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.35 (S.D.=0.67) ด้านรูปแบบของผลิตภัณฑ์ในการใช้นั่งพักคอย นั่งพักชั่วคราวมีการใช้งานที่ง่ายในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.30 (S.D.=0.66)  ด้านรูปแบบของผลิตภัณฑ์มีส่วนช่วยในการใช้แทนโต๊ะสำหรับประกอบกิจกรรมทางศาสนาในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.20 (S.D.=0.62) ด้านรูปแบบของผลิตภัณฑ์มีส่วนช่วยในการบรรจุสิ่งของเพื่อประกอบกิจกรรมทางศาสนา และด้านผลิตภัณฑ์มีภาพลักษณ์ที่ดูแข็งแรง ปลอดภัย สร้างความมั่นใจในการใช้งาน มีความพึงพอใจที่เท่ากันในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.05 (S.D.=0.69) ด้านรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ง่ายในระบบอุตสาหกรรม หรือผลิตได้ง่ายในชุมชนในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.10 (S.D.=0.45) ท้ายที่สุดด้านการมีโอกาสวางขายในท้องตลาด ต่อยอดเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ทางธุรกิจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.85 (S.D.=0.49)
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1333
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57155204.pdf11.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.