Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1429
Title: THE EFFECTS OF COLLABORATIVE LEARNING ACTIVITIES VIA THE INTERNET WITH REFLECTIVE WRITING TECHNIQUE ON THE MEDIA LITERACY OF HIGH SCHOOL STUDENTS IN NAKHON PATHOM PROVINCE
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยเทคนิคการเขียนสะท้อนความคิด เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครปฐม
Authors: Sumitr POOKPANIT
สุมิตร์ ผูกพานิช
Siwanit Autthawuttikul
ศิวนิต อรรถวุฒิกุล
Silpakorn University. Education
Keywords: การเรียนรู้ร่วมกัน
การเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เทคนิคการเขียนสะท้อนความคิด
การรู้เท่าทันสื่อ
Collaborative Learning
Learning via The Internet
Reflective Writing
Media Literacy
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of these research were 1) To examine the media literacy of high school students in Nakhon Pathom Province for developing collaborative learning activities via the internet with reflective writing technique on the media literacy. 2) To create and develop collaborative learning activities via the internet with reflective writing technique on the media literacy. 3) To study the result of learning activities via the internet with reflective writing technique on the media literacy. Target example of this research were 1) Media literacy target example was 400 of high school students in Nakhon Pathom Province by cluster random sampling 2) Target example of experimental was 30 of high school student class of 6/2 from Sriwichai wittaya School by purposive sampling.  The research instrument were 1) Interview questionnaire for specialists in collaborative learning activities via the internet with reflective writing technique on the media literacy 2) Media Literacy survey 3) Collaborative learning activities via the internet with reflective writing technique on the media literacy guidelines 4) Learning activities website 5) Learning achievement test 6) Reflective writing technique evaluation test 7) Media creativity evaluation test 8) Satisfaction questionnaire of high school student with learning activities. The data were analyzed by percentage (%), mean, standard deviation (S.D.) and dependent t – test. The results of this research were as follow: 1) The media literacy of high school students in Nakhon Pathom Province was high level. (Average = 3.74 / S.D. = 0.90) 2) Result of creating and developing collaborative learning activities via the internet with reflective writing technique on the media literacy in Content Validity topic by Index of consistency : IOC = 1.00 3) The effects of collaborative learning activities via the internet with reflective writing technique on the media literacy were as follow : 3.1) Learning achievement of Media Literacy of high school students who attend collaborative learning activities via the internet with reflective writing technique on the media literacy found that after participation had higher media literacy knowledge than before with statistic significant 0.01 3.2) Reflective writing result was good level. (Average = 8.48 / S.D. = 1.13) 3.3) Result of media creativity of high school students was excellent level. (Average = 3.68 / S.D. = 0.51) and 3.4) their satisfaction on learning activities was was high level. (Average = 4.47 / S.D. = 0.56)
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยเทคนิคการเขียนสะท้อนความคิด เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ 2) เพื่อออกแบบ และพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยเทคนิคการเขียนสะท้อนความคิด เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ 3) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยเทคนิคการเขียนสะท้อนความคิด เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) กลุ่มตัวอย่างการสำรวจการรู้เท่าทันสื่อเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครปฐมจำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม 2) กลุ่มตัวอย่างการทดลองเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยเทคนิคการเขียนสะท้อนความคิด เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ 2) แบบสำรวจการรู้เท่าทันสื่อ 3) คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยเทคนิคการเขียนสะท้อนความคิด เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครปฐม 4) เว็บไซต์กิจกรรมการเรียนรู้ 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6) แบบประเมินการเขียนสะท้อนความคิด 7) แบบประเมินผลงานการสร้างสรรค์สื่อ 8) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test Dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสำรวจการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครปฐม (ค่าเฉลี่ย = 3.74 / S.D. = 0.90)  2) ผลการออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยเทคนิคการเขียนสะท้อนความคิด เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) = 1.00  3) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยเทคนิคการเขียนสะท้อนความคิด เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ มีดังนี้ 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยเทคนิคการเขียนสะท้อนความคิด เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ หลังการเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3.2) ผลการเขียนสะท้อนความคิด อยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 8.48 / S.D. = 1.13) 3.3) ผลงานการสร้างสรรค์สื่อของนักเรียน อยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.68 / S.D. = 0.51) และ 3.4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.47 / S.D. = 0.56)
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1429
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56257337.pdf6.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.