Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1478
Title: EFFECTS OF E-LEARNING BY USING PROBLEM-BASED LEARNING FOR ENHANCE CRITICAL THINKING  PROBLEM SOLVING ABILITY AND COOPERATIVE WORK OF UNDERGRADUATE STUDENTS, FACULTY OF EDUCATION.
ผลการเรียนอีเลิร์นนิงแบบใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ   ความสามารถในการแก้ปัญหาและการทำงานร่วมกันของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์
Authors: Kantaporn JOLUMLUK
กานตพร เจาะล้ำลึก
Anirut Satiman
อนิรุทธ์ สติมั่น
Silpakorn University. Education
Keywords: อีเลิร์นนิง
การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
วิจารณญาณ
การแก้ปัญหา
การทำงานร่วมกัน
E-LEARNING
PROBLEM-BASED LEARNING
CRITICAL THINKING
PROBLEM SOLVING
COOPERATION
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were 1) to create and evaluate the quality of e-learning by using problem-based for innovation and information technology for education subject 2) to compare an critical thinking ability scores of students on pretest and posttest 3) to compare the problem solving ability scores of students on those test 4) to study the result of undergraduate students coordination 5) to compare pretest and posttest of learning achievement 6) to study opinions of students who studied on the e-learning. The participants consisted of 32 undergraduate students of Faculty of Education, Silpakorn University who enrolled in innovation and information technology for education subject in first semester in 2017, and they were selected by purposive sampling. The instrument were 1) structured interview 2) e-learning learning plan by using problem-based 3) e-learning lessen by using problem-based for innovation and information technology for education subject 4) the critical thinking test 5) the problem solving ability test 6) the cooperative behavior test 7) the learning achievement test 8) a questionnaire about opinion toward study on e-learning by using problem-based through problem solving and cooperative ability.  The result revealed that 1) the quality of e-learning by using problem-based in term of content was in highest level (x=4.58, S.D.= 0.52 ), and in term of e-learning appearance was also in the same level (x=4.60 , S.D.= 0.52) 2) the critical thinking ability score on posttest (x=31.72, S.D.= 2.75) was higher than pretest (x=26.88, S.D.= 3.14) 3) there was a significant difference in problem solving ability scores of students on those test at .05 which posttest score (x=21.66, S.D.= 1.73) was higher that pretest (x=13.16, S.D.= 1.63) 4) the cooperation of students who enrolled in innovation and information technology for education subject was highly excellent in overall (x=2.61, S.D.= 0.51) 5) on learning achievement, there was a significant difference at .05 which posttest score (x=19.34 , S.D.= 3.72 ) was higher than pretest (x=15.91 , S.D.= 2.28) 6) the opinions of students toward this e-learning was highly excellent (x=4.58, S.D.= 0.52)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินคุณภาพบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อการคิดอย่าง  มีวิจารณญาณ  วิชา นวัตกรรม คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนและหลังเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 4) เพื่อศึกษาผลการทำงานร่วมกันของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 5) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 6) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา นวัตกรรม คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 32 คนโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 2) แผนการจัดการเรียนรู้อีเลิร์นนิงแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน  3)บทเรียนอีเลิร์นนิงโดยการใช้ปัญหาเป็นฐาน 4) แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 5) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา 6) แบบวัดพฤติกรรมการทำงานร่วมกัน 7) แบบวัดวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อจัดการเรียนด้วยการเรียนแบบอีเลิร์นนิงโดยการใช้ปัญหาเป็นฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบใช้ปัญหาเป็นฐานด้านเนื้อหา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด(x=4.58 , S.D.= 0.52 ) และด้านออกแบบอีเลิร์นนิง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x=4.60 , S.D.= 0.52) 2) คะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียน (x=31.72, S.D.= 2.75) สูงกว่าก่อนเรียน (x=26.88, S.D.= 3.14)  3) คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียน (x=21.66, S.D.= 1.73) สูงกว่าก่อนเรียน  (x=13.16, S.D.= 1.63) 4) การทำงานร่วมกันของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบใช้ปัญหาเป็น ในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีมาก (x=2.61, S.D.= 0.51) 5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบใช้ปัญหาเป็นฐานวิชา นวัตกรรมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา ผลการเรียนหลังเรียน (x=19.34 , S.D.= 3.72 ) สูงกว่าก่อนเรียน (x=15.91 , S.D.= 2.28) 6) ความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน อยู่ในระดับดีมาก (x=4.58, S.D.= 0.52)
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1478
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57257201.pdf5.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.