Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1519
Title: An Operational Preparation Promotion for Lifelong Learning of the Digital Community Centers
การส่งเสริมความพร้อมการดำเนินงานของศูนย์ดิจิทัลชุมชนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
Authors: Didsadaphan BUTKUL
ดิษฎาพันธ์ บุตรกุล
SIRINA JITCHARAT
ศิริณา จิตต์จรัส
Silpakorn University. Education
Keywords: ความพร้อมการดำเนินงาน
ศูนย์ดิจิทัลชุมชน
การเรียนรู้ตลอดชีวิต
Operational Preparation
The Digital Community Centers
The Lifelong Learning
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this study are 1) to study the Operational Preparation (OP) of the life long learning in the Digital Community Centers (DCCs) 2) to compare the relation between OP and the location and that between OP and the staff's ICT skill, and 3) to propose a set of recommendation for promoting OP in the DCCs. 440 questionnaires were collected from DCC administrators and their consumers, 5 point rating scale was used, the reliability was found at 0.978 and 0.955 respectively. and 5 experts were opted for reviewing the guideline. And percentage, standard deviation and t-test were used throughout the analysis.  The finding reveals that 1) the OP of their DCC, respondent was at a high level. The administrators see the importance of their resource personals was rated the high level, followed by site features, community participation, cooperation and management, occupations and intellects respectively; while the consumers prioritize community participation was rated the high level, followed by site features, cooperation and management, resource personals, occupations and intellects respectively. 2) there is not differ statistically significant at the 0.05 level between OP in DCC location and that in staffs' ICT skill. 3) to propose a set of recommendation for promoting OP. DCCs should locate in the centered community, has a building landmark, allocate a sufficient space and all necessary supplies, equip with a security standard, provide a high-speed Internet, has budget for their internal management, establish a database and provide information services, maintain equipment’s and all electrical devices, has a flexible service operation time, give trainings and support knowledge exchange, develop specialized skills for their staffs, has resource personals who can give advices, hold the entire community knowledge intellects, cooperate and initiate the PR plan with the community, and keep the strong connection with the community.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพร้อมการดำเนินงานของศูนย์ดิจิทัลชุมชนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) เปรียบเทียบความพร้อมการดำเนินงานของศูนย์ดิจิทัลชุมชนกับพื้นที่ตั้ง และทักษะด้าน ICT ของผู้ดูแล และ 3) เสนอแนวทางการส่งเสริมความพร้อมการดำเนินงานของศูนย์ดิจิทัลชุมชนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ จำนวน 440 ฉบับ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับผิดชอบ และผู้รับบริการ มีค่าความเชื่อมั่น 0.978 และ 0.955 ตามลำดับ และมีผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ที่คัดเลือกมาเพื่อประเมินแนวทางการส่งเสริมความพร้อมของศูนย์ดิจิทัลชุมชนเพื่อการเรียนตลอดชีวิต และสถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบโดยใช้ t-test  ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้รับผิดชอบและผู้รับบริการมีความพร้อมในการดำเนินการอยู่ในระดับมาก โดยผู้รับผิดชอบศูนย์ฯ ให้ความสำคัญกับบุคลากรมากที่สุด รองลงมาคือ ลักษณะสถานที่ตั้ง การมีส่วนร่วมของชุมชน การจัดการและการประสานงาน และภูมิปัญญาและอาชีพ ตามลำดับ ในขณะที่ผู้รับบริการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนมากที่สุด รองลงมาคือ ลักษณะสถานที่ตั้ง การจัดการและการประสานงาน บุคลากร และภูมิปัญญาและอาชีพ ตามลำดับ 2) ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างความพร้อมการดำเนินงานกับพื้นที่ตั้ง และความพร้อมการดำเนินงานกับทักษะด้าน ICT ของผู้ดูแล และ 3) แนวทางการส่งเสริมความพร้อมฯ ศูนย์ดิจิทัลชุมชนควรตั้งอยู่ภายในชุมชน มีอาคารที่เป็นเอกเทศ จัดสรรพื้นที่ วัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอ มีระบบรักษาความปลอดภัย มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง มีงบประมาณในการบริหารจัดการ มีการจัดทำและให้บริการฐานข้อมูล บำรุงรักษาวัสดุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยืดหยุ่นเวลาทำการ จัดฝึกอบรมและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะความชำนาญเฉพาะด้าน มีบุคลากรคอยให้คำแนะนำใช้งาน เป็นแหล่งรวบรวมความรู้และภูมิปัญญาชุมชน ประสานความร่วมมือและสร้างแผนประชาสัมพันธ์ร่วมกับชุมชน และสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนในโอกาสต่าง ๆ
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1519
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59251205.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.