Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1852
Title: The analysis of mural painting in buddhaisawan chapel compared with buddhist scriptures
การวิเคราะห์เรื่องราวจิตรกรรมพุทธประวัติในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์เปรียบเทียบกับคัมภีร์ในพุทธศาสนา
Authors: Sirichai JARIYASUDHAMMAKUL
สิริชัย จริยสุธรรมกุล
SAKCHAI SAISINGHA
ศักดิ์ชัย สายสิงห์
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: จิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติ
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
THE LIFE OF BUDDHA MURALS
BUDDHAISAWAN CHAPEL
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This thesis has examined the presumption of the Pathomsombodhikatha by the Supreme Pariarch H.R.H. Prince Paramanujitajinorasa. The prince was the main scripture who influenced the painting of The Life of Buddha Murals in The Buddhaisawan Chapel together with the painting of The Life of Buddha Mural which painted in early Rattanakosin era, including Wat Dusidaram, Wat Ratchasittharam, Wat Thongdhammachart and Wat Suthatthepwararam. They were all compared to find out the popularity and influence of the Buddhist scriptures which impacted the painting of The Life of Buddha Murals at the time. The study shows that the painting of The Life of Buddha Murals in The Buddhaisawan Chapel wasn’t only influenced by Pathomsombodhikatha, as most of the historian and most of peoples presume. From 32 scenes of the painting of The Life of Buddha Murals in The Buddhaisawan Chapel, there are six scenes that not appear in Pathomsombodhikatha and there are four scenes that insignificantly appear in Pathomsombodhikatha. The selected scenes which were painted could be due to Somdet Phra Bawornrajchao Maha Sura Singhanat’s, the chapel proprietor, intention. As his intention of building the Chapel was to dedicate the chapel to houses the Phra Buddha Sihing image, the buddha image which was believed it was the most similar to the Buddha. Thus, the painter may want to express the Buddha’s power and virtue via the painting by using the Jayamangala Gatha (the eight victories and blessing) as the inspiration. The Jayamangala Gatha has eight scenes including Mara Defeated, Alavaka Converted, Pacifying of Nalagiri, Conversion of Angulimala, Exposure of Cinca’s Lies, Saccaka Humbled, Nandopananda Tamed and Baka Brahma Cured of Conceit. Some of the scenes in Jayamangala Gatha is insignificantly appear in Pathomsombodhikatha, but significantly appear in other scriptures such as Chompubodi Sutra, Nandopananda Sutra, etc. In addition, using only stories or scenes from Pathomsombodhikatha, the painter may not have enough information to paint. As a consequence, the painter has to use stories or scenes from other scriptures apart from Pathomsombodhikatha for The Mural painting. After comparing The Life of Buddha Murals in The Buddhaisawan Chapel and other four temples built in early Rattanakosin era, the most painted scenes were The Parents of the Bodhisattva scene, The Bodhisattva in Tusita Heaven scene, The Bodhisattva abandons his Princely Life scene, The Lord Indra playing the 3-stringed instrument scene, The Battle with Mara scene, The Buddha begins to Preach scene and The Division of the Relics scene. The painter uses the information from other scriptures apart from Pathomsombodhikatha painted those scenes such as Mahawong Sutra (The proceed to Longka City scene) and Chompubodi Sutra (Telling of Phraya Maha Chompu scene), etc.
ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ได้ศึกษาและตรวจสอบข้อสันนิษฐานเดิมที่ว่าคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถา ฉบับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นคัมภีร์หลักที่มีอิทธิพลต่อจิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และได้นำจิตรกรรมฝาผนังในพระอารามหลวงยุคสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประกอบด้วย 1. วัดดุสิดารามวรวิหาร 2. วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร 3. วัดทองธรรมชาติวรวิหาร และ 4. วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร มาเปรียบเทียบ เพื่อศึกษาหาความนิยมและอิทธิพลของคัมภีร์พุทธประวัติต่างๆ ที่มีต่อการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติในสมัยนั้น ผลการศึกษาพบว่า จิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ไม่ได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถา ฉบับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เพียงคัมภีร์เดียว ตามที่นักประวัติศาสตร์และคนทั่วไปสันนิษฐานไว้ โดยจากจิตรกรรมจำนวน 32 ฉาก มีถึง 6 ฉากที่เนื้อหาไม่ปรากฏในคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถา และมี 4 ฉากปรากฏเนื้อความเพียงเล็กน้อยในคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถา ซึ่งเหตุการณ์เลือกฉากและตอนใดมาเขียนนั้น อาจเกี่ยวข้องกับพระราชประสงค์ของผู้สร้าง คือ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งทรงกอปรด้วยพระราชศรัทธาทรงพระราชอุทิศให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งได้รับการเคารพนับถือตามตำนานว่าเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นให้ละม้ายพระโฉมของพระพุทธเจ้าที่สุด ดังนั้นช่างผู้ออกแบบจิตรกรรมจึงอาจจะต้องการแสดงถึงพระคุณลักษณะพิเศษทางฤทธิ์บารมีของพระพุทธเจ้าผ่านเรื่องราวในชัยมงคลคาถาอันเป็นบทสรรเสริญชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้าทั้ง 8 ครั้ง คือ เรื่องของมารผจญ เรื่องของอาฬวกยักษ์ เรื่องของช้างนาฬาคิรี เรื่องขององคุลีมาล เรื่องของนางจิญจมาณวิกาเรื่องของสัจจกนิครนถ์ เรื่องของนันโทปนันทนาคราช และเรื่องของท้าวผกาพรหม ซึ่งเนื้อหาบางตอนไม่ได้ถูกกล่าวถึงในปฐมสมโพธิกถา แต่ถูกกล่าวไว้อย่างละเอียดในคัมภีร์อื่น เช่น อรรถกถาเรื่องต่างๆ ชมพูบดีสูตร นันโทปนันทสูตร เป็นต้น นอกจากนั้นการใช้เนื้อหาจากคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถามาเพียงคัมภีร์เดียวอาจให้ข้อมูลการเขียนที่ไม่เพียงพอ ผู้ออกแบบจึงต้องอาศัยคัมภีร์พุทธประวัติเล่มอื่นๆ มาใช้ในการเขียนจิตรกรรมพุทธประวัตินี้  จากการศึกษาเปรียบเทียบกับพระอารามหลวงอีก 4 พระอาราม พบว่าฉากพุทธประวัติที่มีความนิยมถูกนำมาเขียนในจิตรกรรมสมัยนั้น มีจำนวน 7 ฉาก ประกอบด้วย ฉากอภิเษกพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา ฉากอัญเชิญสันดุสิตเทวบุตรจุติมาตรัสรู้  ฉากเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ฉากพระอินทร์ดีดพิณสามสาย ฉากมารผจญ ฉากทรงแสดงปฐมเทศนา และฉากแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งช่างได้เขียนจิตรกรรมโดยได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์พุทธประวัติเล่มอื่นๆ ในพระพุทธศาสนานอกจากคัมภีร์พระปฐมสมโพธิกถาอีกด้วย เช่น คัมภีร์มหาวงศ์ คือ ฉากเสด็จกรุงลงกา, อรรถกถา คือ ฉากโปรดองคุลีมาล และคัมภีร์ชมพูบดีสูตร คือฉากเล่าเรื่องพระยามหาชมพู โดยผนังที่ 13 เป็นตอนพระพุทธเจ้าทรงทรมานพระยามหาชมพู ผนังที่ 14 เป็นตอน พระเจ้าพิมพิสารเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทูลถึงเรื่องราวที่ท้าวชมพูบดีมาระราน และผนังที่ 15 เป็นตอนพระยาชมพูบดีทรงฟันยอดปราสาทพระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1852
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57107207.pdf7.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.