Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2189
Title: Model of Knowledge Management on Sustainable Water ResourceManagement Through the Process of Self – knowledge Building inBuriram Province
รูปแบบการจัดการความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเองของชุมชนในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์
Authors: Piyamas MERDTHAISONG
ปิยะมาศ เมิดไธสง
KANIT KHEOVICHAI
คณิต เขียววิชัย
Silpakorn University. Education
Keywords: การจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน
กระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเองของชุมชน
sustainable water resource management
self-knowledge building process
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This qualitative research was conducted to investigate basic information, local context and best practice in sustainable water resource management through self-knowledge building process of communities in Buriram Province consisted of Baan Lim-thong, Amphur Nangrong and Baan Bukantong, Amphur Lamplaimat. The research took Constructionism theory of Seymour Papert as framework to find out process of self-knowledge building in water resource management which being un-endless resources.   As high demand of using water resource in various activities such as consumption, cultivation, livestock breeding caused demand-supply problems in water resources.   The villagers had to mobilize and build their self/community knowledge which lead to be learning society in finally. The 2 pilot communities are the best practice community in sustainable water resources management, which were studied their factors and background by qualitative research. The finding are as follows : 1) basic information, local context and best practice in sustainable water resource management through self-knowledge building process of communities in Buriram Province 1.1 Bann Lim-thong Community found drough and flood problems in the past as no water management until 1997. Aunty Noi or Mrs.Sanit Tipnangrong had built self-knowledge in sustainable water resource successfully and set of museum on community water management from royal idea which being lively museum and get opportunity in sharing water resource management really. 1.2 Bann Bukantong Community were lack of water resource in soil for agriculture until Mrs.Sangchan Phuansuk had built underwater resource management as well as setting of Farmer Economic Sufficiency Center for underwater administration and meeting & training place on developing products, marketing and network coordination. This Center are built and managed by villagers for villagers really. 2) Model of self - knowledge management in sustainable water resource management constructionism in Buriram Province are CCEI Model: C = Crisis, C = Consructionism, E = Epiphany, I = Innovation which defined that successful community had to find community crisis, included and shared together to create innovation for sustainable problem solving.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพบริบทและวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการจัดการความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructionism) ของชุมชนในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ และ 2) ศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructionism) ของชุมชนในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ 2 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนบ้านลิ่มทอง ต.หนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ และชุมชนบ้านบุก้านตง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ โดยนำทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructionism) ของซีมัวร์ แพเพิร์ท มาเป็นกรอบในการศึกษาถึงกระบวนการที่ชาวบ้านสร้างความรู้ของตนขึ้นมาได้อย่างไรในด้านการจัดการน้ำ  ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่แม้จะเสริมสร้างขึ้นใหม่ได้และไม่มีวันสูญสิ้นแต่ด้วยปริมาณความต้องการใช้น้ำเพื่อกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ทำให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ของคนในชุมชนอีกต่อไป ซึ่งความรู้ที่สร้างขึ้นมานี้จะต้องมีการจัดการความรู้เนื่องจากการแก้ปัญหาเรื่องน้ำเป็นปัญหาร่วมกันของคนในชุมชน ความรู้ของคนเพียงคนเดียวไม่อาจใช้แก้ปัญหาให้สำเร็จลงได้ จึงจำเป็นต้องสร้างความรู้ขึ้นมาทั้งชุมชนอันจะนำไปสู่การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ขึ้นมาในที่สุด สำหรับชุมชนทั้งสองชุมชนนี้เป็นชุมชนที่สามารถบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจนประสบผลสำเร็จนับเป็นชุมชนต้นแบบที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ดังนั้นเพื่อเป็นการมุ่งเน้นหาคำตอบถึงวิธีการของชุมชนว่าเป็นอย่างไรและอะไรที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ ผู้วิจัยจึงได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษาวิจัย ซึ่งผลการวิจัย พบว่า 1. ข้อมูลพื้นฐานสภาพบริบทและวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice) ประกอบด้วย 1.1. ชุมชนบ้านลิ่มทอง ประสบปัญหาน้ำแล้งน้ำหลาก ในอดีตชุมชนยังไม่มีการบริหารจัดการน้ำ จนกระทั่งในปี 2540 นางสนิท ทิพย์นางรอง ได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองในด้านการบริหารจัดการน้ำแล้ง น้ำหลากจนประสบความสำเร็จสามารถจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตและนับเป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศให้ชุมชนอื่นๆ ได้ศึกษาและปรับประยุกต์ใช้ต่อไป 1.2 ชุมชนบ้านบุก้านตง ประสบปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำบนดินเพื่อนำมาใช้ในการเกษตร ในอดีตชุมชนยังไม่มีการบริหารจัดการน้ำ จนกระทั่งในปี 2544 นางแสงจันทร์ ปวงสุข ได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองในด้านการบริหารจัดการน้ำใต้ดินจนประสบความสำเร็จและจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เกษตรกรเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลความรู้ในเรื่องการบริหารจัดการน้ำใต้ดิน รวมถึงเป็นสถานที่ในการจัดประชุม จัดอบรมพัฒนาผลผลิต การตลาด การประสานงานเครือข่าย ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้เกิดจากชาวบ้าน ดำเนินการโดยชาวบ้านและเพื่อชาวบ้านอย่างแท้จริง 2) รูปแบบการจัดการความรู้ด้านการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructionism) ของชุมชนในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ คือ โมเดล CCEI C=Crisis C=Constructionism E=Epiphany I=Innovation ซึ่งหมายถึงชุมชนจะประสบผลสำเร็จได้ต้องผ่านการเกิดวิกฤติในชุมชน จากนั้นมีการสร้างองค์ความรู้ และประสบการณ์มาสร้างนวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหาชุมชนอย่างยั่งยืน
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2189
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55260807.pdf6.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.