Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2540
Title: PAINTINGS ON THE MANUSCRIPTS IN SOUTHERN THAILAND AND ITS REFLECTION OF PEOPLE, SOCIETY AND ARTISANS
จิตรกรรมในหนังสือบุด: ภาพสะท้อนความคิด สังคมและภูมิปัญญาช่าง ช่วงพุทธศตวรรษที่ 25
Authors: Chutarat CHITSOPA
จุฑารัตน์ จิตโสภา
SAKCHAI SAISINGHA
ศักดิ์ชัย สายสิงห์
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: หนังสือบุด
จิตรกรรม
ภาคใต้
พุทธศตวรรษที่ 25
Bud
Paintings
Southern Thailand
20 A.D.
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This thesis studied paintings in the Bud manuscripts, the manuscripts found in southern part of Thailand. Aims of this study were to analyze pattern, origin, inspiration and function of illustration in the Bud manuscripts as reflection of idea and local way of life. There were two types of Bud manuscripts. The religious Bud manuscripts such as the seven scriptures of Abhidhamma and the Phra Malai. Another type of Bud manuscript was the Sattra, secular type mostly involving horoscope. Study methods included interpretation of illustrations and analyzed pattern of arts as well as painting technique. Then, comparing to other local artworks and pictorial books found in central part of Thailand during the same period. Results of this study showed that there were two kinds of stories to be scripted as Bud manuscripts. First, the religious Bud manuscripts mostly depicted the seven scriptures of Abhidhamma and the Phra Malai. The most popular religious stories were the Vessantara Jataka and the Phra Malai. These religious pictorials were used as decorations during Buddhist monks’ prayers and intermission.Majority of religious Bud scriptures were painted with Thai traditional technique inspired by Traibhumi pictorial manuscripts made in Ayutthaya and Thonburi era.Another type of Bud manuscripts were secular books called “the Sattra” mostly  the melodrama that has never been written in other kind of pictorials. The melodramatic Sattra manuscripts were generally painted in mythical surrealistic fashion with depicted protagonists as more contemporary and more realistic then the religious Bud’s. Furthermore, there were also impersonation of traditional Southern shadow play. Apparently, the secular Sattra scriptures were unique example of Southern arts illustrated local way of living that counted on superstition and narrative culture of oral history popular in Southern Thailand in the 25th Buddhist Century through horoscope compared with life of the novel protagonists.
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาภาพจิตรกรรมในหนังสือบุด สมุดภาพประเภทหนึ่งที่พบในภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบ ที่มา แรงบันดาลใจและหน้าที่ของภาพจิตรกรรมในหนังสือบุด เพื่อสะท้อนความคิดและวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น หนังสือบุดที่นำมาศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ หนังสือบุดที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา มีพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ กับพระมาลัย และหนังสือบุดที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับทางโลกมีเรื่องศาสตราที่ใช้สำหรับทำนายโชคชะตา การศึกษาจะเป็นการตีความภาพจิตรกรรมและวิเคราะห์รูปแบบกับเทคนิคที่ช่างใช้เขียนภาพ อาศัยนำมาเทียบเคียงกับงานศิลปกรรมที่พบในท้องถิ่น และสมุดภาพที่พบในภาคกลางที่มีอายุร่วมสมัยกัน ผลการศึกษาพบว่าเรื่องที่นำมาเขียนเป็นจิตรกรรมแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มตามประเภทของหนังสือ กล่าวคือหนังสือบุดเรื่องพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ กับพระมาลัยจะเน้นเขียนเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ที่สำคัญคือเวสสันดรชาดก กับพระมาลัย ซึ่งเป็นเรื่องที่นิยมเขียนในสมุดภาพตั้งแต่สมัยอยุธยามาแล้ว หน้าที่ของภาพจิตรกรรมกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ใช้เป็นภาพประดับสำหรับภิกษุพักสายตาระหว่างสวด หรือช่วงพักสวดอีกต่อหนึ่ง ยกเว้นเรื่องเวสสันดรกับพระมาลัยที่ใช้เป็นภาพประกอบเรื่อง เทคนิคการเขียนเป็นแบบไทยประเพณี อาศัยแรงบันดาลใจจากสมุดภาพไตรภูมิสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีเป็นหลัก ส่วนหนังสือบุดเรื่องศาสตรา จะเน้นเขียนเรื่องจากวรรณกรรมประเภทนิทานประโลมโลก  ซึ่งไม่เคยปรากฏในสมุดภาพที่พบตามภูมิภาคอื่น ๆ มาก่อน เทคนิคที่ช่างนำมาใช้เขียนภาพจิตรกรรมในหนังสือบุดเรื่องศาสตรา เป็นแบบปรัมปราคติกึ่งสมจริง มีการดัดแปลงเครื่องแต่งกายของตัวพระตัวนางให้ดูร่วมสมัย และดูสมจริงกว่างานจิตรกรรมในกลุ่มศาสนา ที่สำคัญปรากฏการเขียนภาพตัวบุคคลที่คล้ายตัวหนังตะลุงรวมอยู่ด้วย จึงถือได้ว่าหนังสือบุดเรื่องศาสตรา เป็นเอกลักษณ์สำคัญของงานช่างภาคใต้ สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ยังพึ่งพาเรื่องโชคลาง และวัฒนธรรมการเล่าเรื่องแบบมุขปาฐะที่ยังคงได้รับความนิยมอยู่ในภาคใต้ของไทยในช่วงเวลาร่วมสมัยกัน ผ่านการทำนายชะตาด้วยการเปรียบเทียบกับชีวิตของตัวละครในวรรณกรรม ทั้งนี้งานจิตรกรรมส่วนใหญ่กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 25
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2540
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57107903.pdf27.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.