Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2557
Title: Style and Techniques of ornamenting Buddha Image in The Rattanakosin Period
รูปแบบและกรรมวิธีการสร้างพระพุทธรูปครองจีวรลายดอกสมัยรัตนโกสินทร์
Authors: Arnuparp NANTI
อานุภาพ นันติ
Patsaweesiri Preamkulanan
พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: จีวรลายดอก
พระพุทธรูปครองจีวรลายดอก
แนวคิดแบบสัจนิยม
รัชกาลที่ 3
ลงยาสี
ลงยาราชาวดี
ลงรักปิดทอง
ลายดอกพิกุล และลายไทย
สำริด
ORNAMENTING ROBE
ORNAMENTING BUDDHA IMAGE
ENAMEL
BLUE ENAMEL
PIKUL PATTERN AND THAI PATTERN.
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The ornamented the Buddha image were created according to the realism concepts which appeared in the reign of King Rama 1The pattern was apparent in the reign of King Rama 3. In that period, the robes of the pattern of flowers were given to Theravada senior monk As shown in the archives of the reign of the king Rama 3 Kathina Buddhist festival in 1825 B.E. From the study, it can be concluded that the ornamented the Buddha image for the royal dedication. Therefore, there is a process of decoration with a dyed enameling, blue enameling (Rachawadee), gold casting, lacquer casting with gilding Which is a process of in the Grand Palace Before the process of casting bronze with lacquer gilding will be released  to outside the Grand Palace. Together with mold stone which causes the creation of Pikul pattern more And also can be distributed from the study. According to the royal temple, Chinese and Vietnamese shrine can be divided 8 groups with different patterns. And there is a hidden meaning about Buddhism in the future, such as the Buddha image found in the creation of the Maitreya Buddha decorated with the inscription stating the purpose of consecration for Buddhism in the future there is also a pattern of canthus leaves. Leaf patterns that are common used for architectural decorations Appeared in decorated Buddha image in the Kamalawat Chinese shrine that show changing  patterns of decoration in the modern era, not limited of Pikul  pattern.
พระพุทธรูปครองจีวรลายดอกเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นตามแนวคิดแบบสัจนิยมซึ่งปรากฏเค้าลางมาแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ปรากฏการสร้างเด่นชัดในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งในสมัยนั้นมีการถวายจีวรลายดอกแด่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ดังปรากฏในจดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 ชื่อบัญชีผ้าพระกฐินและผ้าไตร ปี จ.ศ.1187 จากการศึกษาทำให้สามารถสรุปได้ว่า พระพุทธรูปครองจีวรลายดอกเป็นการสร้างเพื่อการบำเพ็ญพระราชอุทิศถวาย จึงมีกรรมวิธีการสร้างจีวรลายดอกด้วยการลงยสี การลงยาราชาวดี การถมทอง การหล่อสำริดลงรักปิดทอง ซึ่งเป็นกรรมวิธีการสร้างในพระบรมมหาราชวังก่อนที่การกรรมวิธีการหล่อสำริดลงรักปิดทองจะเผยแพร่ออกสู่นอกพระบรมมหาราชวัง พร้อมกับแม่พิมพ์หินสบู่ ที่ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ลวดลายจีวรลายดอกพิกุลมากขึ้นจากการศึกษาสามารถแบ่งกลุ่มจีวรลายดอกจากที่ทำการศึกษา ตามพระอารามหลวง และศาสนสถานจีนและญวณ ได้ทั้งหมด ๘ กลุ่ม ซึ่งมีลวดลายที่แตกต่างกัน และมีความหมายแผงไว้เรื่องพระพุทธศาสนาในภายภาคหน้า เช่น ลายพระพุทธรูป พบในการสร้างจีวรลายดอกพระศรีอาริยเมตไตรย และพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ที่มีจารึกระบุจุดประสงค์ของการถวายเพื่อการพระพุทธศาสนาในภายภาคหน้า นอกจากนี้ยังมีลายใบอะแคนทัส ลายใบไม้ที่นิยมใช้ในการตกแต่งงานสถาปัตยกรรม ปรากฏบนจีวรพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร วัดมังกรกมลวาส แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบจีวรลายดอกไปตามยุคสมัยใหม่ไม่จำกัดเพียงแค่ลายดอกพิกุล
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2557
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58107316.pdf11.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.