Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2594
Title: AN ETHNOSEMANTIC STUDY OF SPIRIT TERMS IN UBON RATCHATHANI
คำเรียกประเภทผีในภาษาไทยถิ่นอุบลราชธานีตามแนวทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์
Authors: Pattralada THONGTOW
ภัทรลดา ทองเถาว์
SUWATTANA LIAMPRAWAT
สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ
Silpakorn University. Arts
Keywords: คำเรียกประเภทผี
อรรถศาสตร์ชาติพันธุ์
Spirit Terms
Ethnosemantic
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The study of spirit terms in Ubon Ratchathani dialect is ethnosemantic study. The objective of this study was to analyze semantic compositions about villagers, culture and belief about spirit of people in Ubon Ratchathani Province. Data was collected by interviewing 40 people who spoke Ubon Ratchathani dialect in 4 districts, including Phibun Mangsahan District, Det Udom District, Don Mot Daeng District and Muang Samsip District. The sample group was 10 people from each district. They had to be people who used Ubon Ratchathani dialect as native language, and they didn't use to change their domiciles. The age was up to 50 years old. Their gender could be female or male. The results indicated that there were 40 terms of types of ghosts. The terms could be divided by using 9dimensions, including body, food, serviceable/punishment, dwellings, role, origin, gender, age and specific characteristics. Body and serviceable/punishment dimensions covered terms of all types of ghosts. The results of folk taxonomy for showing word semantic relationship  could be sequenced in five level, unique beginner had 1 term, which was phi:1 ‘ghosts’, life form had 2 terms, which were phi:1sa:ŋ1/ma:n3 ‘bad spirit’ and ʔa:2hak4 ‘good spirit’, generic had 21 terms such as na:ŋ3maj6  ‘Femal tree spirit’ caw6thi:4caw6tha:ŋ3 ‘local spirit’, Specific had 14 terms such as phi:1pu:4ta:2/caw6pu:4 ‘Grandfather spirit’ phi:1hɯan3 ‘household spirit’ phi:1huaj5/ phi:1nɔ:ŋ1 ‘brook spirit’ In addition, varietal had 2 terms, which were mɛ:4thɔ:3la4ni:3 ‘soil goddess’ mɛ:4pho:3sop1   and ‘Goddess of rice’. The results of cultural and belief analysis about ghosts of people in Ubon Ratchathani Province indicated that 1) ghosts had living as the same as humans, 2) ghosts were the respectable and disgusting things, 3) ghost power was related to dwellings and functions and 4) there was a dependence between ghosts and people in Ubon Ratchathani Province.
การศึกษาคำเรียกประเภทผีในภาษาไทยถิ่นอุบลราชธานี เป็นการศึกษาโดยใช้แนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางความหมาย จัดจำพวกแบบชาวบ้าน และวิเคราะห์วัฒนธรรมรวมถึงความเชื่อเกี่ยวกับผีของชาวจังหวัดอุบลราชธานี ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาในจังหวัดอุบลราชธานีทั้งหมด 4 อำเภอ คือ อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอเดชอุดม อำเภอดอนมดแดง และอำเภอม่วงสามสิบ อำเภอละ 10 คน รวมผู้บอกภาษาทั้งหมด 40 คน โดยต้องเป็นผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นอุบลราชธานีเป็นภาษาแม่ ไม่เคยย้ายภูมิลำเนา มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และเป็นเพศหญิงหรือเพศชายก็ได้  ผลการศึกษาพบว่า คำเรียกประเภทผีในภาษาไทยถิ่นอุบลราชธานีผีมีทั้งหมด 40 คํา และสามารถจำแนกคำเรียกประเภทผีทั้งหมดออกจากกันด้วยมีมิติแห่งความแตกต่างทางความหมายทั้งหมด 9 มิติ ได้แก่ มิติร่างกาย มิติคุณโทษ มิติอาหาร มิติที่อยู่อาศัย มิติหน้าที่ มิติที่มา มิติเพศ มิติอายุ และ มิติลักษณะพิเศษ โดยมีมิติร่างกาย และ มิติคุณโทษ เป็นมิติที่ครอบคลุมคำเรียกประเภทผีทุกคำ ผลการศึกษาการจัดจำพวกแบบชาวบ้านเพื่อแสดงความสัมพันธ์ทางความหมายของคำเรียกประเภทผีทั้งหมด สามารถจัดได้ 5 ลำดับ ได้แก่ ลำดับจุดเริ่มต้นหนึ่งเดียว มี 1 คำ คือ ผี  ลำดับรูปแบบชีวิต 2 คำ คือ อารักษ์  และ ผีสาง/มาร ลำดับบอกหมวด 21 คำ คือ เทพ/เทวดา ผีเชื้อ/ผีบรรพบุรุษ เจ้าที่เจ้าทาง นางไม้ กุมารทอง ผีตายโหง สัมภเวสี  ลูกกรอก ยมบาล แม่เก่าแม่หลัง ผีเป้า/ผีโพง ปอบ เปรต  ผีห่า ผีแม่ม่าย ผีพราย ผีโป่ง ผีบังบด กองกอย กระหัง และ กระสือ ลำดับเฉพาะเจาะจง 14 คำ คือ แถน/ผีฟ้า เทพบุตร เทพธิดา/นางฟ้า ผีหลักเมือง/ผีบ้านผีเมือง ผีเรือน ผีปู่ตา/เจ้าปู่ ผีไท้ ผีห้วย/ผีหนอง ผีป่า/ผีดง ผีตาแฮก/ผีไร่ผีนา นางตานี นางตะเคียน ผีน้ำ/ผีเงือก ผีตายทั้งกลม  และ ลำดับลักษณะพิเศษ 2 คำ คือ แม่ธรณี และ แม่โพสพ ผลการวิเคราะห์วัฒนธรรมและความเชื่อเกี่ยวกับผีของชาวอุบลราชธานีพบว่าผีมีความเป็นอยู่เช่นเดียวกันกับมนุษย์ ผีเป็นสิ่งที่ทั้งน่าเคารพและน่ารังเกียจ พลังอำนาจของผีมีความสัมพันธ์กับที่อยู่อาศัยและหน้าที่ และ การพึ่งพาอาศัยระหว่างผีและมนุษย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการอนุรักษ์ป่าในชุมชน
Description: Master of Arts (M.A.)
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2594
Appears in Collections:Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60202203.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.