Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2799
Title: Self – Management Strategy A Case Studies of Rock Band Artists.
กลยุทธ์การบริหารจัดการตนเองกรณีศึกษาศิลปินวงร็อค
Authors: Kittiwat MOONDECH
กิตติวัฒน์ มูลเดช
EK-KARACH CHAROENNIT
เอกราช เจริญนิตย์
Silpakorn University. Music
Keywords: กลยุทธ์
การบริหารจัดการตนเอง
ศิลปินวงร็อค
Strategy
Self – Management
Rock band artists
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this research were: 1) to study factors affecting self management: a case study of rock band artists; 2) to study brand management that affects self-management: a case study of rock band artists; 3) to study artist needs; 4) to build self-management strategies: a case study of rock band artists. This research used qualitative data collection methods. Informants were purposively selected, namely 3 mangers of rock band artist, 6 rock band hosts, and 6 rock band artists. The findings showed that factors affecting self-management of rock band artists included the lack of managerial plan to deal with emergence of breakthrough band competitors; the lack of managerial plan to exercise bargaining power over employer and band members as well as the lack of plan in analyzing the current commercial situation and competition from other rock bands. Concerning the management for continuous employment, the emphasis was directed towards the quality of live performance and the maintenance of fan base. The management of brand affecting the self management: a case study of rock band artists consisted of the band's musical style and impression to the public also conformed with the decision to hire bands. The employer decided which band to be hired by mainly considering nature of the events they were going to host. The public attention and popularity of rock band artists were based on band's uniqueness, musical identity, show performance, and fan base. The needs of rock band artists towards self- management plan were common understanding of the band's objectives and understanding among band members in order to reach mutually set targets, and responsibilities towards assigned tasks using self-management plan. Based on the aforementioned findings, the researcher developed a strategic plan for rock band artist's self management entitled SEE-Q which respectively stood for Sustainable Artists Development (S), Excellence Self- Management (E), Efficiency Communication (E), and Quality Teamwork (Q).
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการตนเอง กรณีศึกษาศิลปินวงร็อค 2) ศึกษาการบริหารตราสินค้าที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการตนเอง กรณีศึกษาศิลปินวงร็อค 3) ศึกษาความต้องการของศิลปิน 4) สร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการตนเองกรณีศึกษาศิลปินวงร็อค งานวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้จัดการศิลปินวงร็อค จำนวน 3 ราย ศิลปินวงร็อค จำนวน 6 วง และผู้จ้างงานศิลปินวงร็อค จำนวน 3 ราย ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการตนเองกรณีศึกษาศิลปินวงร็อค คือ ขาดวิธีการบริหารจัดการผลกระทบที่เกิดจากศิลปินหน้าใหม่ที่เข้ามาเป็นคู่แข่งทางการตลาด ขาดแนวทางบริหารจัดการกับอำนาจต่อรองจากผู้ว่าจ้างรวมถึงสมาชิกในภายในวงรวมถึงการวิเคราะห์สถานการณ์การแข่งขันทางการตลาดของศิลปินวงร็อคอีกด้วย สำหรับประเด็นการบริหารจัดการศิลปินให้มีงานจ้างอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการโดยให้ศิลปินวงร็อคเน้นไปที่ศักยภาพในการแสดงสดและการรักษาฐานแฟนเพลง ส่วนการบริการจัดการตราสินค้าที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการตนเองต้องประกอบไปด้วยการจัดการแนวเพลงและภาพลักษณ์ของศิลปินวงร็อค ในส่วนของเหตุผลที่ผู้ว่าจ้างตัดสินใจว่าจ้างศิลปินมีสาเหตุหลักมาจากการเลือกศิลปินให้ตรงกับลักษณะงาน สำหรับประเด็นการรับรู้เกี่ยวกับผลงาน ส่วนของความนิยมของศิลปินโดยเน้นไปที่เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ แนวเพลง การแสดงสดและฐานแฟนเพลงของศิลปิน ความต้องการของศิลปินเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการศิลปินวงร็อคด้วยตัวเองพบว่า ศิลปินวงร็อคต้องการจะให้สมาชิกในวงเข้าใจจุดประสงค์ของสมาชิกแต่ละท่าน เข้าใจในเป้าหมายที่วางเอาไว้  มีส่วนร่วมในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยอาศัยการบริหารจัดการตนเองที่มีต่อส่วนรวม จากผลการวิจัยที่กล่าวมาข้างต้นนั้นผู้วิจัยได้นำไปสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการตนเองกรณีศึกษาศิลปินวงร็อค คือ กลยุทธ์ SEE-Q ซึ่งประกอบไปด้วย S (Sustainable Artists Development) หมายถึง การพัฒนาชื่อเสียงศิลปินอย่างยั่งยืน E (Excellence Self- Management) หมายถึง แนวทางการบริหารจัดการตนเองที่เป็นเลิศ E (Efficiency Communication) หมายถึงการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ Q (Quality Teamwork) หมายถึง การทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ
Description: Master of Music (M.Mus)
ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2799
Appears in Collections:Music

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60701312.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.