Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2809
Title: The Development Guidelines for Cultural Tourism Co-Experiences of Songkhla Old Town and Georgetown
แนวทางการพัฒนาประสบการณ์ร่วมทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองเก่าสงขลาและเมืองจอร์จทาวน์
Authors: Sarawatsadee NAWAKANWORRAKUL
ศราวัสดี นวกัณห์วรกุล
DUANG-NGERN SUEPHAKDE
ดวงเงิน ซื่อภักดี
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: แนวทางการพัฒนา
ประสบการณ์ร่วมทางการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
the development guidelines
co-experience tourism
cultural tourism
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The research aims 1) to study the potential of cultural tourism in Songkhla Old Town and George Town, 2) to present the model and activities of cultural tourism co-experiences in Songkhla Old Town and George Town, 3) to study the circumstances of cultural tourism in Songkhla Old Town, to analyze its strengths, weaknesses, opportunities, as well as threats (SWOT Analysis), and to analyze TOWS Matrix and 4) to provide the guidelines for developing cultural tourism management of Songkhla Old Town resulting in having its sustainability. This is a qualitative research using a case study approach, documentary research and survey method. Seventeen key informants from different sections consisting of governmental sectors, academic staffs, tourism entrepreneurs and community representatives, were interviewed by using an in-depth interview. A focus group was also utilized in order to elicit the information from eight people who have background knowledge or experiences of the similarities of cultural tourism between Songkhla Old Town and George Town. In addition, the referendum was conducted to investigate the agreement of the presented guidelines from people who live in Songkhla Old Town. The findings showed that Songkhla Old Town and George Town have the potential to develop the towns as cultural tourist attractions in order to create activities and co-experiences that allow people to appreciate the culture of Songkhla Old Town in four aspects: 1) History, 2) Architecture, 3) Local life, and 4) Food under “HALF” Model.  It was found that the guidelines for development of cultural tourism management of Songkhla Old Town leading to its sustainability are composed of four strategies. Firstly, SO strategies consist of the promotion and the development of cultural tourism, which encourage to have a variety of activities, to be qualified reaching international standards, and to be suitable for an area circumstance. This also includes the development of connected routes cultural tourism in multiple dimensions, and the human resource development to have professional staff in cultural tourism. The second strategy is WO, which covers the development of infrastructure and tourism facilities to respond to regional tourism connection, and to develop the interpretive tools for cultural tourism in Songkhla Old Town Town. The third strategy is ST, which promotes the confidence in life safety and security and promote Creative Tourism. The last strategy is WT, which promotes the Community–Based Tourism.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้  1) เพื่อศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองเก่าสงขลาและเมืองจอร์จทาวน์  2) เพื่อนำเสนอรูปแบบและกิจกรรมประสบการณ์ร่วมทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมระหว่างเมืองเก่าสงขลาและเมืองจอร์จทาวน์  3) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองเก่าสงขลา และการวิเคราะห์ TOWS Matrix Analysis 4) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองเก่าสงขลาสู่ความยั่งยืน การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แนวกรณีศึกษา (Case Study Approach) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 17 คน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ ผู้ประกอบการท่องเที่ยว และภาคประชาชน สำหรับการสนทนากลุ่ม (Focus group) เป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีภูมิหลังหรือประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองเก่าสงขลาและเมืองจอร์จทาวน์ที่คล้ายคลึงกัน จากภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการ จำนวน 8 คน รวมทั้งการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และวิธีการสำรวจ (Survey Method) ประชามติของประชาชนในเมืองเก่าสงขลา ผลการวิจัย พบว่า เมืองเก่าสงขลาและเมืองจอร์จทาวน์ มีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สามารถสร้างประสบการณ์ร่วมกันได้ โดยสามารถสร้างรูปแบบประสบการณ์ร่วมทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองเก่าสงขลาและเมืองจอร์จทาวน์ใน 4 มิติ ได้แก่ 1) มิติด้านประวัติศาสตร์ (History) 2) มิติด้านสถาปัตยกรรม (Architecture) 3) มิติด้านวิถีชีวิตชุมชน (Life Style) และ4) มิติด้านอาหาร (Food)  ภายใต้ “HALF” Model เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมและประสบการณ์ร่วมในเส้นทางสัมผัสวัฒนธรรมเมืองเก่าสงขลา (Songkla Old Town)  สำหรับแนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองเก่าสงขลา สู่ความยั่งยืน ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์เชิงรุก (SO) ได้แก่ การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้มีรูปแบบหลากหลาย มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากลและเหมาะสมกับบริบทเชิงพื้นที่ การพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในหลากหลายมิติ และการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมืออาชีพ 2) กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO) ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวเพื่อตอบรับการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างภูมิภาค และการพัฒนาเครื่องมือสื่อความหมายทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในย่านเมืองเก่าสงขลา 3) กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST) ได้แก่ การสร้างความเชื่อมั่นด้านความมั่นคงและความปลอดภัย รวมทั้งการส่งเสริมรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และ 4) กลยุทธ์เชิงรับ (WT) ได้แก่ การสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชน
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2809
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57604922.pdf12.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.