Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2836
Title: DEVELOPMENT OF STANDARD CRITERIA FOR ENTREPRENEURIAL UNIVERSITY
การพัฒนาเกณฑ์ประเมินมาตรฐานการเป็นมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ
Authors: Supitcha CHEEVAPRUK
สุพิชชา ชีวพฤกษ์
PITAK SIRIWONG
พิทักษ์ ศิริวงศ์
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: การพัฒนาเกณฑ์
เกณฑ์มาตรฐานการเป็นมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ
มหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ
CRITERIA DEVELOPMENT
STANDARD CRITERIA FOR ENTREPRENERIAL UNIVERSITY
ENTREPRENERIAL UNIVERSITY
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research was aim to 1) study entrepreneurial university characteristics and 2) develop standard criteria of entrepreneurial university. A research methodology was divided into 2 steps; first step was to find entrepreneurial university characteristics in Thai context by documentary research and in-depth interview techniques. The second step was to develop criteria, Ethnographic Futures Research (EDFR) was implemented with 17 key informant experts. Then Analysis Hierarchy Process (AHP) was applied in this step to synthesize and ensure the validity of the criteria. Lastly consistency of standard criteria for entrepreneurial university was assessed by the experts through imitate circumstances by applying Item-Objective Congruence Index (IOC) technique. The result of entrepreneurial university characteristics revealed that the entrepreneurial university in Thailand, was a university that change the society and create value added based on university context. It was a university, that had entrepreneurial mindset as a pillar of the university but still preserved main missions of higher education; producing graduate, research, academic services and maintain art and cultures, with emphasized on creating graduates with entrepreneurial mindset, supporting research and innovation and exchanging knowledge transferred between external stakeholders. The result of standard criteria of entrepreneurial university development showed five main criterions so called PEACH which were 1) Policy and Leadership 2) Entrepreneurial output 3) Agility operation 4) Capability and organization and 5) Holistic Educational Activities. Then AHP was applied to analyzed the consistency ratio of all criterions and the value was 0.027 – 0.096 which was acceptable if the value did not exceed 0.1. According to the IOC technique evaluation, it was found that total score from the experts was higher than 0.5 which meant their opinions were conformed.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ 2) เพื่อพัฒนา เกณฑ์ประเมินมาตรฐานการเป็นมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ งานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนโดยขั้นตอนที่ 1 ใช้เทคนิคการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก ขั้นตอนที่ 2 ใช้เทคนิคการวิจัยอนาคต (EDFR) จากผู้เชี่ยวชาญ ที่ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 17 คน และการประยุกต์เทคนิคกระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้น (Analysis Hierarchy Process: AHP) เพื่อสรุปองค์ประกอบเกณฑ์ประเมินมาตรฐานการเป็นมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ และการประเมินหาความสอดคล้องของเกณฑ์ประเมินมาตรฐานการเป็นมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ ผ่านสถานการณ์จำลองการโดยใช้เทคนิคการหาค่าดัชนีความสอดคล้องเกณฑ์ (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญและ นำไปทดลองเกณฑ์ ผลการศึกษาคุณลักษณะมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ พบว่า มหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ ในบริบทประเทศไทยนั้นเป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคมจากการเพิ่มมูลค่าตามทบริบทของมหาวิทยาลัย มีกระบวนการพื้นฐานทางความคิดแบบผู้ประกอบการเป็นหลักสำคัญของมหาวิทยาลัย โดยยังคงไว้ ซึ่งพันธกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาในการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการและการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม แต่มีการมุ่งเน้นในการผลิตบัณฑิตที่มีแนวคิดความเป็นผู้ประกอบการ วิจัยและสร้างความรู้ใหม่ รวมถึงนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ สนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้กับหน่วยงานภายนอก ผลการพัฒนาเกณฑ์ประเมินมาตรฐานการเป็นมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ พบว่า ได้พัฒนาเกณฑ์ที่เรียกว่า PEACH ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านนโยบายและการนำองค์กร (P) 2) ด้านผลลัพธ์เชิงประกอบการ (E)  3) ด้านความคล่องตัว ในการปฏิบัติงาน (A) 4) ด้านความสามารถบุคลากรและองค์การ (C) และ 5) ด้านกิจกรรมการศึกษาแบบองค์รวม เชิงประกอบการ (H) จากการพิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า เกณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม และจาก การประยุกต์เทคนิคกระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้นมีผลการวิเคราะห์อัตราส่วนความสอดคล้องของ ทุกด้านที่ได้มีค่าเท่ากับ 0.027 – 0.096 โดยมีค่าน้อยกว่า 0.10 อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ผลการประเมินเกณฑ์ ด้วยเทคนิค IOC ผ่านการจำลองสถานการณ์ผู้เชี่ยวชาญให้คะแนนการพิจารณาเกณฑ์สูงกว่า 0.5 แสดงให้เห็นว่า เกณฑ์การประเมินมีความสอดคล้อง อีกทั้งผลการทดลองการนำเกณฑ์ไปใช้สะท้อนให้เห็นถึงระดับการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยต่อไป
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2836
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59604916.pdf4.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.