Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2932
Title: สุนทรียภาพแห่งความน่ากลัว AESTHETICS OF HORROR
Other Titles: AESTHETICS OF HORROR
Authors: นภัส กังวาลนรากุล
Napat KANGWANNARAKUL
Keywords: ความกลัว, ความน่ารัก, ภูตผีปีศาจ, กระดาษ, เงา
Issue Date: 16-Jun-2020
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: ความน่ากลัวของภูตผีปีศาจ เกิดจากความกลัวอันเป็นพื้นฐานของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดความเชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็น ความตาย ภัยธรรมชาติ โรคระบาด และ ผลกรรมชั่วดี สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดภาพจินตนาการกลายเป็นตัวตนสมมติของความกลัวในจิตใจ เป้าหมายของการศึกษานี้ คือ การศึกษาการรับรู้ความงามที่อยู่เหนือความงามตามปกติ ด้วยกลวิธีของการสร้างภาพจินตนาการภูติผีปีศาจ และ นำความรู้สร้างสรรค์ผลงานของการรับรู้ความงามของภูตผีปีศาจ ในรูปแบบของการนำลักษณะความน่าเกลียดน่ากลัวของผี และ ความน่ารักที่เป็นคู่ตรงข้ามมารวมเป็นหนึ่งเดียวกัน จนกลายเป็นผีที่มีรูปร่างที่สวย มีความร้ายรั้น อยู่ในบริบทบนพื้นที่สมมติของโลกหลังความตาย การศึกษานี้ ได้มีการศึกษากระบวนการวิเคราะห์จากพื้นฐานความเชื่อของภูตผีปีศาจในแง่มุนของทั้งตะวันตก และ ตะวันออก จนไปถึงการศึกษาวิธีการออกแบบสร้างสรรค์ภาพลักษณ์ของภูตผีปีศาจที่ปรากฏในผลงานที่เกี่ยวข้องกับแนวความคิด และ วิธีการนำเสนอการจัดวางพื้นที่สมมติของโลกความตาย กระบวนการสร้างรูปทรงที่ปรับระดับรายละเอียดของความเหมือนจริง และ การสร้างภาพตัวแทนของสิ่งที่น่าเกลียด และ สิ่งที่สวยงามที่รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ส่งผลทำให้ภาพลักษณ์ภูตผีปีศาจมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยกระบวนการสร้างสรรค์เทคนิคการตัดกระดาษด้วยมือ การฉายแสงเงา และ การจัดวางบนพื้นที่ในห้องมืด เปลี่ยนแปลงพื้นที่ตามปกติให้เป็นพื้นที่อันน่าหวาดกลัวตามที่ข้าพเจ้าต้องการ ผลการสร้างสรรค์ เกิดเป็นการสร้างภาพผีที่มีรูปแบบการลดทอนระดับความเหมือนจริงให้อยู่ในระดับเรียบง่าย ก่อให้เกิดลักษณะภาพที่น่ารัก และ น่ากลัวปนเปกัน ลักษณะกายภาพของวัสดุกระดาษ ทำให้โครงสร้างรูปทรงเกิดมิติลวงตา ภายใต้รูปร่างของรูปทรงสองมิติ แต่เมื่อปรากฏอยู่ท่ามกลางอากาศ จนไปถึงการฉายแสงเงา จัดวางระยะห่างภาพในพื้นที่ห้องมืด ทำให้เกิดมิติทั้งกายภาพ และ ในจิตใจ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2932
Appears in Collections:Arts



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.