Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3034
Title: THE DEVELOPMENT OF READING COMPREHENSION ABILITY AND MEDIA LITERACY SKILLS OF PRATHOMSUKSA 6 STUDENTS BY APPLYING THE TEACHING METHOD OF AKITA PREFECTURE
การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความและการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยประยุกต์ใช้แนวการสอนของจังหวัดอะคิตะ
Authors: Phensiri SUESUD
เพ็ญศิริ ซื่อสัตย์
Pinpon Kongwijit
พิณพนธ์ คงวิจิตต์
Silpakorn University. Education
Keywords: การอ่านจับใจความ, การรู้เท่าทันสื่อ, แนวการสอนของจังหวัดอะคิตะ
READING COMPREHENSION
MEDIA LITERACY
TEACHING STYLE OF AKITA PREFECTURE
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this research were to: 1)compare reading comprehension ability of prathom suksa six students before and after learning management by applying the teaching methodology of Akita province. 2) compare knowledge follow up on media of prathom suksa six students before and after learning by applying the teaching method of Akita prefecture.  The sample was a class of 30 students in grade 6 in the 2nd  semester of academic year 2019 grade 6 students at Anubanbangkruay (Wat Siprawat) School under the Office of Nontaburi Educational Service Area 1 by simple random sampling by using the classroom as 1 random unit.  The researcher spent four weeks for teaching, four periods per week, 2 periods for pre and post-test, totaling 18 periods. The research instruments were 1) 4 learning management plans for reading comprehension. 2) Reading comprehension test.  3) Media literacy test Data were analyzed by means of arithmetic mean (M), standard deviation (SD) and dependent t - test. The  research reaults findings were as follows: 1. Reading ability comprehension of  grade 6 students after learning by applying the teaching method of Akita prefecture higher than of before at .05 level of statistical significance. 2. Media literacy of  grade 6 students learning by applying the teaching method of Akita province after studying higher than before at .05 level of statistical significance.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้แนวการสอนของจังหวัดอะคิตะ และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัด การเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้แนวการสอนของจังหวัดอะคิตะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1  โรงเรียนอนุบาลบางกรวย (วัดศรีประวัติ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน  30 คน ดำเนินการทดลอง โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง และทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน อย่างละ 1 ชั่วโมง รวมเวลาที่ใช้การทดลองทั้งสิ้นจำนวน 18 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่านจับใจความ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความ และ 3) แบบวัดความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อ  สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบที แบบกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Sample -test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้แนวการสอนของจังหวัดอะคิตะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้แนวการสอนของจังหวัดอะคิตะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3034
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60255311.pdf8.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.