Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3060
Title: STRATEGIES OF MUNICIPALITY SOLID WASTE MANAGEMENT SYSTEM DEVELOPMENT FOR SAMUTSONGKHRAM PROVINCE’S URBAN AND RURAL TOWARD SUSTAINABILITY
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนเมืองและชุมชนชนบท ในจังหวัดสมุทรสงคราม
Authors: Uthid DUANGPHASUK
อุทิศ ดวงผาสุข
Sawanya Thammaapipon
สวรรยา ธรรมอภิพล
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ระบบการจัดการขยะมูลฝอย
ชุมชนเมือง
ชุมชนชนบท
การจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน
DEVELOPMENT STRATEGY
SOLID WASTE MANAGEMENT SYSTEM
URBAN COMMUNITY
RURAL COMMUNITY
SUSTAINABLE SOLID WASTE MANAGEMENT
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this research were 1) to study the situation of waste in urban and rural communities, 2) to study the condition of the community solid waste management, 3) to create a solid waste management strategy suitable for urban and rural areas, 4) to convey the strategy of the development of solid waste management system to the community. First step was the study of community waste situation using secondary data and quartering analysis technique was implemented to survey the primary data. Second step was to study community waste management condition using document research technique, in-depth interviews, group discussion and SWOT analysis technique. Third step was to synthesize strategic development consensus from 17 experts by using TOWS matrix together with Consensus Oriented Decision Making Model (CODM). Lastly, the forth step was the strategies implementation using quantitative technique by applying pre – and post – test in knowledge, attitude and skills of community waste management and satisfaction survey of community waste management course. The validity was tested by Index of Item-Objective Congruence (IOC) from experts and the reliability was tested with cronbach's alpha coefficient and Kuder- Richardson’s method. According to the study, 1) the average of community's waste situation in urban areas was 33,018.33 kg/day which was calculated to be waste generation ratio as 1.18 kg/person/day. The average of waste in rural areas was 10,337.99 kg/day which was calculated to be waste generation ratio as 0.37 kg/person/day. The comparison of the amount, waste generation rate and composition of organic solid waste and recycled solid waste between urban and rural communities, it was statistically significant different at .05 level, but the composition of general solid waste was no different. 2) The management condition of both communities are characterized as follows: For Strengths was found that the management gave importance to the campaign also a variety of communication channels and existing of environmental concern group in the community. On the weaknesses, it was found that the number of personnel in rural communities was insufficient to manage. People lack awareness about environmental problem, awareness, knowledge and skills in solid waste management. As long as a lack of effective law enforcement. On opportunity, it was found that the current environmental concern and government policies at all levels are conducive to management has modern communication technology and on the obstacle side, it was found that there was a lack of law for managing solid waste at the household level. Also, Lack of measures to support urban expansion economy and tourist city. 3) The results of the strategies components of the community solid waste management which appropriate for urban and rural communities in Samut Songkhram province were (1) Recognition Stimulation (2) Network Enhancement (3) Clean Tourism (4) Law Enforcement (5) Knowledge Center. 4) The results of the strategies implementation by comparing pre – and post – test after the training, it was founded that the level of knowledge, attitude and skills was statistically significant different at .05 level. The benefit of this study is that the strategies and approaches can be applied appropriately to the real problem of each community.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชน เขตพื้นที่ชุมชนเมืองและชุมชนชนบท ในจังหวัดสมุทรสงคราม 2) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เขตพื้นที่ชุมชนเมืองและชุมชนชนบทในจังหวัดสมุทรสงคราม 3) เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ในจังหวัดสมุทรสงคราม 4) เพื่อถ่ายทอดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอย สู่ชุมชนในจังหวัดสมุทรสงครามโดยในขั้นตอนที่ 1 เป็นการศึกษาสถานการณ์ของขยะมูลฝอยชุมชน ใช้เทคนิคการวิจัยเอกสารข้อมูลทุติยภูมิ สำรวจข้อมูลปฐมภูมิด้วยเทคนิค Quartering  ขั้นตอนที่ 2 เป็นการศึกษาสภาพการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ใช้เทคนิคการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกต และเทคนิคการวิเคราะห์ SWOT ขั้นตอนที่ 3 เป็นการสังเคราะห์ฉันทามติของการพัฒนายุทธศาสตร์โดยใช้เทคนิควิธีสังเคราะห์ TOWS matrix และ เทคนิคการประชุมอภิปรายกำหนดเป้าหมายเพื่อหาฉันทามติ (CODM) จากผู้เชี่ยวชาญ 17 คน และขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นตอนนำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบทดสอบก่อนและหลัง ด้านความรู้ ทัศนคติ ทักษะ ของการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนผ่านหลักสูตรการจัดการขยะมูลฝอยระดับครัวเรือน และสำรวจความพึงพอใจของหลักสูตร ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือ ด้วยค่าดัชนีความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ (IOC) จากผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบความเชื่อมั่น ด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค และ วิธีการของคูเดอร์ริชาร์ดสัน จากผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนในเขตชุมชนเมือง มีปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยโดยเฉลี่ย 33,018.33 กิโลกรัม/วัน คิดเป็นอัตราการเกิดขยะมูลฝอย 1.18 กิโลกรัม/คน/วัน สถานการณ์ขยะมูลฝอยในชนบทปริมาณและอัตราการเกิดขยะมูลฝอยในพื้นที่ชุมชนชนบท มีปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยโดยเฉลี่ย 10,337.99 กิโลกรัม/วัน คิดเป็นอัตราการเกิดขยะมูลฝอย 0.37 กิโลกรัม/คน/วัน องค์ประกอบขยะมูลฝอยส่วนใหญ่ทั้งเขตเมืองและเขตชนบท คือ ขยะมูลฝอยอินทรีย์ เมื่อเปรียบเทียบ ปริมาณ และอัตราการเกิด และองค์ประกอบขยะมูลฝอยอินทรีย์ และขยะมูลฝอยรีไซเคิล ระหว่างเขตชุมชนเมืองและเขตชุมชนชนบทแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 แต่องค์ประกอบของขยะมูลฝอยทั่วไปไม่แตกต่างกัน 2) สภาพการจัดการของทั้งสองชุมชนมีลักษณะ ดังนี้ ด้านจุดแข็ง พบว่า ผู้บริหารให้ความสำคัญ มีช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย มีกลุ่มอนุรักษ์ในชุมชน ด้านจุดอ่อน พบว่า จำนวนบุคลากรในเขตชุมชนชนบทไม่เพียงพอในการจัดการ ประชาชนขาดการรับรู้ถึงสภาพปัญหา  ความตระหนัก ความรู้และทักษะในการจัดการขยะมูลฝอย ขาดการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ ด้านโอกาส พบว่า กระแสอนุรักษ์และนโยบายของภาครัฐทุกระดับเอื้อต่อการจัดการ มีเทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่ทันสมัย และด้านอุปสรรค พบว่า ขาดกฎหมายในการจัดการขยะมูลฝอยในระดับครัวเรือนเป็นการเฉพาะ ขาดมาตรการรองรับการขยายตัวของเมือง เศรษฐกิจและเมืองท่องเที่ยว 3) ผลการศึกษายุทธศาสตร์การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนที่เหมาะสมกับชุมชนเมืองและชุมชนชนบท ในจังหวัดสมุทรสงคราม พบ 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ (1) กระตุ้นจิตสำนึกสร้างการรับรู้ถึงสถานการณ์ผลกระทบของขยะมูลฝอยในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต นำสู่การสร้างความรู้และทักษะในการจัดการขยะมูลฝอยระดับครัวเรือน (2) สร้างการมีส่วนร่วมรวมพลังประชารัฐเพื่อสร้างรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร (3) สร้างเมืองท่องเที่ยวสะอาดปราศจากขยะมูลฝอย (4) ปรับปรุงและบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ (5) จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนด้วยรูปแบบที่เป็นมิตร ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) ผลการศึกษาการนำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติจากการทดสอบหลักสูตร ด้วยการเปรียบเทียบก่อนและหลังการอบรม พบว่าระดับความรู้ ระดับทัศนคติ และทักษะ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยหลังการอบรมมีระดับความรู้ ทัศนคติและทักษะสูงกว่าก่อนการอบรม และระดับความพึงพอใจต่อหลักสูตรการอบรมอยู่ในระดับสูง ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ คือ การนำยุทธศาสตร์และแนวทางที่ได้ไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพปัญหาที่แท้จริงแต่ละชุมชน
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3060
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59604919.pdf9.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.