Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3095
Title: Environment Factors Affecting the Deterioration of the Mural Painting inside the Crypt of Wat Ratchaburana, Phra Nakhon Sri Ayutthaya Province
สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพของภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภายในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Authors: Kannika SUTEERATTANAPIROM
กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์
Pira Venunan
ภีร์ เวณุนันทน์
Silpakorn University. Graduate School
Keywords: การอนุรักษ์เชิงป้องกัน
การควบคุมสภาพแวดล้อมในพื้นที่เฉพาะ
กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ
preventive conservation
microclimate control
crypt of Wat Ratchaburana
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research is to study three environmental factors namely, temperature, relative humidity and air quality, affecting the deterioration of the mural paintings inside the crypt of Wat Ratchaburana, Phra Nakhon Sri Ayutthaya Province. The findings are as follows:  Wat Ratchaburana was built by Chao Sam Phraya in 1424. The crypt of Wat Ratchaburana was still in good condition. The cella or central small hall inside the prang containing the crypt, there is a-two-level crypt inside. The space inside the crypt is in microclimate. The mural paintings inside the crypt are generally seen as cracking, color change and fading, salt weathering and dust. Moreover, snake stains, millipedes and bats are found inside the central hall. The environmental monitoring conducted inside the crypt showed that there was no control of temperature, relative humidity and particles and dust in the air. Temperature and relative humidity have changed following by weather conditions which caused the deterioration of mural painting. The sulfate salts, nitrate salts and potassium nitrate salts are found on the mural painting. Therefore, the preventive conservation should focus on close the crypt, temperature, and relative humidity control, improve ventilation system and bat repellent and control. The doors and windows should be opened to increase ventilation and air exchange rates, if there is no climate control system in the present day
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพของจิตรกรรมฝาผนังภายในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตรวจสอบและประเมินสาเหตุของการเสื่อมสภาพ เพื่อเข้าใจบริบทของสิ่งแวดล้อมรอบตัวอันเป็นสาเหตุของการเสื่อมสภาพของภาพจิตรกรรมฝาผนัง และเสนอแนวทางการป้องกันการเสื่อมสภาพ จากการวิจัยพบว่า วัดราชบูรณะสร้างในสมัยเจ้าสามพระยา ราวปี พ.ศ.1967 มีพระปรางค์เป็นประธานของวัด สามารถเดินเข้าไปยังห้องโถงกลางขององค์พระปรางค์ได้ ภายในห้องโถงกลางมีบันไดลงไปยังกรุตอนล่างที่มีอยู่อีก 2 ชั้น ภายในกรุพระปรางค์มีสภาพแวดล้อมในพื้นที่เฉพาะ (microclimate) ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในมีสภาพชำรุดและเสื่อมสภาพเปื่อย สีจืดจาง พบคราบเกลือ ฝุ่น พบซากงูลอกคราบ ซากกิ้งกือ และมีค้างคาวอาศัยภายในโถงกลางเป็นจำนวนมาก จากการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม พบว่าในปัจจุบันยังไม่มีการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น อนุภาคและฝุ่นละอองในอากาศ ให้มีค่าคงที่หรือมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ค่าที่ได้จึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศภายนอก ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเสื่อมสภาพและการชำรุดเสียหายของภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดยพบฝุ่นละอองและคราบเกลือซัลเฟต เกลือไนเตรตและเกลือโพแทสเซียมไนเตรต ซึ่งส่วนหนึ่งมีที่มาจากมูลค้างคาว ดังนั้นการอนุรักษ์เชิงป้องกันการเสื่อมสภาพของภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จึงควรปิดกรุ และควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ปรับปรุงระบบระบายอากาศใหม่และกำจัดค้างคาว ในกรณีที่ยังไม่สามารถจัดหาระบบควบคุมความชื้นและอุณหภูมิให้คงที่ ควรเปิดประตูและหน้าต่างบริเวณห้องโถงกลางเพื่อระบายและถ่ายเทอากาศ 
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3095
Appears in Collections:Graduate School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61904202.pdf12.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.