Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3110
Title: THE COMPARISON ON THE EDUCATIONAL MANAGEMENT OF HIGHER EDUCATION BETWEEN THAILAND AND PEOPLE’S REPUBLIC OF CHINA
การเปรียบเทียบการบริหารจัดการอุดมศึกษาระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน
Authors: Jiewei LUO
Jiewei Luo
Prasert Intarak
ประเสริฐ อินทร์รักษ์
Silpakorn University. Education
Keywords: การบริหารจัดการอุดมศึกษาของประเทศไทย/การบริหารจัดการอุดมศึกษาของสาธารณรัฐประชาชนจีน
EDUCATION MANAGEMENT OF HIGHER EDCATION THAILAND / EDUCATION MANAGEMENT OF HIGHER EDCATION PEOPLE’S REPUBLIC OF CHINA
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The Educational Management of Thailand and People’s Republic of China in 6 aspects found that; 1) the policy, strategies and higher education law aspect of both countries were similar in the management process based on law, objectives of education focused on the promotion of labour development, research, innovation and technology, workforce development for 21st century. Whereas the difference of the two countries were found that Thailand focused on reducing the invasion. While the People's Republic of China aimed to reform higher education. 2) Higher educational management system aspect of both countries were similar in the type of operation with private and public based on state policies. Whereas the difference found that Thailand was decentralized while the People’s Republic of China was centralized management. 3) Financial and budget management of higher education aspect of both countries were similar on the finance management which based on regulations and laws of government. Whereas the difference found that Thailand managed and controled by the government and also each of institution controled their income by institution itself. While the People’s Republic of China divided budget system in two parts: central budgeting and local budgeting, China had cooperative budgeting between government and institution. 4) The management of graduate study aspect of both countries were similar in the purposed of developing the student for 21st century characteristics. Whereas the difference found that Thailand was democratic management. While the People's Republic of China was socialist, the students must be required to study the Communist Party of China. 5) The Personnel management of Higher Education aspect of both countries were similar in policy and structure framework. Whereas the difference found that Thailand focused on conection network while People's Republic of China focused on reform Personnel management system, and 6) The management of higher education quality assessment aspect of both countries were similar in the external and internal system assessment. Whereas the difference found that the quality assessment of Thailand was conducted by Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization), (ONESQA), while People's Republic of China was assessed by Ministry of Education.
การวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบการบริหารจัดการอุดมศึกษาระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารจัดการอุดมศึกษาของประเทศไทย 2) การบริหารจัดการอุดมศึกษาของสาธารณรัฐประชาชนจีน และ3) ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการอุดมศึกษาของประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยทำการศึกษาเอกสาร และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการอุดมศึกษาของประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน  6 ด้านพบว่า 1) ด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ กฎหมายของอุดมศึกษา มีความคล้ายกันในส่วนของการบริหารที่กำหนดให้อยู่ภายใต้กฏหมายและวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนากำลังคน งานวิจัยนวัตกรรม และเทคโนโลยี พัฒนากำลังคนสู่ศตวรรษที่ 21 ส่วนที่ต่างกันคือ ประเทศไทยมุ่งพัฒนาเชิงพื้นที่ลดความเลื่อมล้ำ ในขณะที่สาธารณรัฐประชาชนจีนมุ่งปฏิรูปการศึกษา 2) ด้านการบริหารจัดการระบบสถาบันอุดมศึกษา มีความคล้ายกันโดยแบ่งกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเอกชนและรัฐบาล บริหารตามนโยบายของรัฐ ส่วนที่ต่างกันคือประเทศไทยมีการบริหารจัดการแบบกระจายอำนาจ ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีนมีการจัดการ แบบรวมอำนาจ 3) ด้านการบริหารจัดการการเงินและงบประมาณของอุดมศึกษา มีความคล้ายกันคือมีการบริหารจัดการการเงินตามนโยบายการเงินของรัฐ อยู่ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ต่างกัน คือ ระบบควบคุมทางการเงินของประเทศไทยแบ่งเป็นฝ่ายบริหารด้านงบประมาณบริหารจัดการตามกฏระเบียบด้านเอกสาร และหน่วยงานภายในของสถาบันเป็นศูนย์กลางความรับผิดชอบ บริหารรายได้ที่เข้ามาในสถาบัน ในขณะที่สาธารณรัฐประชาชนจีนแบ่งเป็น งบส่วนกลาง และงบส่วนท้องถิ่น การบริหารด้านงบประมาณบริหารจัดการร่วมกันระหว่างภาครัฐและสถานศึกษา 4) ด้านการบริหารจัดการผลิตบัณฑิต ส่วนที่คล้ายกัน คือการมุ่งพัฒนาส่งเสริมบัณฑิตตามนโยบายเพื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ส่วนที่ต่างกัน คือระบบอุดมศึกษาไทยเป็นประชาธิปไตยในการบริหารจัดการ สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นแบบสังคมนิยม นักศึกษาทุกคนต้องเรียนวิชาพรรคคอมมิวนิสต์จีน 5) ด้านการบริหารจัดการบุคลากรของอุดมศึกษา ส่วนที่คล้ายกันคือการบริหารจัดการบุคลากรอุดมศึกษาตามโครงสร้างกรอบยุทธศาสตร์นโยบายบริหาร ส่วนที่ต่างกัน คือประเทศไทยพัฒนาคนเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายเพิ่มองค์ความรู้ แต่สาธารณรัฐประชาชนจีนมุ่งปฏิรูประบบการบริหารบุคลากร และ6) ด้านการบริหารจัดการประเมินคุณภาพอุดมศึกษา ส่วนที่คล้ายกันมีการประเมินระบบอุดมศึกษาตามรูปแบบโครงสร้างภายในและภายนอก ส่วนที่ต่างกันคือ การประเมินคุณภาพสถานศึกษาของประเทศไทยอยู่ภายใต้การประเมินโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชน (สมศ.) ในขณะที่สาธารณรัฐประชาชนจีนภาครัฐถูกประเมินโดยกระทรวงศึกษาธิการ  
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3110
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60252924.pdf4.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.