Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3181
Title: REFLECTION OF PLACE THROUGH ARCHITECTURE EXPRESSION: SPACE-MATERIAL
การสะท้อนตัวตนของสถานที่ผ่านที่ว่างและวัสดุ
Authors: Pakawadee BANTAOTIRAT
ภควดี บรรเทาธิรัต
Jeerasak Kuesombot
จีรศักดิ์ เกื้อสมบัติ
Silpakorn University. Architecture
Keywords: ความเป็นสถานที่
วัสดุ
การสื่อความหมาย
Sense of place
material
signification
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract: his thesis examines the concept of place in architecture. The objective is to study and analyze the relationship between human and place. The study assumes that space and material are related and used together to analyze the meaning of place in architecture. Focusing on Christian Norberg-Schulz’s theory, this thesis addresses the notion of “Place” and Phenomenology as central to the concept of Atmosphere in architecture.  It examines the notion of perception and uses it the analyze the relationship about human, material, and place.  The last process is an analysis of architectural case studies, focusing on “material” as "the language of architecture." Space and materials are basic elements found throughout the history of architecture.  Materials can be seen as a beginning point that connects human with his place.  The first type of materials used in architecture were natural materials found in surrounding environment.  They were subsequently developed and transformed to serve changing demands.  As one of the most important condition of place is the relationship between things and their specific context, materials therefore play a role both symbolic and pragmatic, creating language in architecture. From the research, this thesis found that space and materials can be seen as tool to for us to understand the meaning of place in three ways.  First is the communication of place through materials and methods of construction locally found.  Second is the communication of place through symbolic interpretation of materials that can be signify contextual qualities of each place.  Third is the communication of place through abstract interpretation of materials that can signify the quality of place related to abstract concepts such as history and human psychology.  These different ways are finally culminated in our understanding of place as a quality of its atmosphere. 
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาความเป็นสถานที่ (Place) ในงานสถาปัตยกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับความเป็นสถานที่ โดยตั้งสมมุติฐานว่า ที่ว่าง(Space) และวัสดุ(Material) สามารถนำไปพัฒนาเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะใช้ในวิเคราะห์พิจารณาความหมายของความเป็นสถานที่ในงานสถาปัตยกรรมได้ โดยใช้แนวคิดของ Christian Norberg-Schulz(Genius Loci : towards a Phenomenology of Architecture) เป็นกรอบในการศึกษาความเป็นสถานที่ และใช้แนวความคิดเกี่ยวกับบรรยากาศในงานสถาปัตยกรรม(Atmosphere) อันเป็นแนวความคิดเชิงปรากฏการณ์วิทยา ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการรับรู้ และการตีความของมนุษย์ เป็นเครื่องมือในการหาความสัมพันธ์ แล้วจึงสรุปเป็นกรอบของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ วัสดุ และความเป็นสถานที่ จากนั้นเป็นศึกษาผ่านตัวอย่างสถาปัตยกรรมที่ “วัสดุ” ทำหน้าที่เป็น “ภาษาของสถาปัตยกรรม” ผลการศึกษาพบว่า  ที่ว่าง(Space) และ วัสดุ(Material) เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่ปรากฎในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม วัสดุถือได้ว่าเป็นจุดแรกในการเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์กับความเป็นสถานที่ โดยวัสดุเริ่มแรกของสถาปัตยกรรมนั้นเป็นวัสดุที่พบตามธรรมชาติ และถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองการใช้งานของมนุษย์ เช่นเดียวกับงานสถาปัตยกรรม และเงื่อนไขที่สำคัญของความเป็นสถานที่ คือ ความสัมพันธ์กับบริบทที่ตั้งที่มีความเฉพาะเจาะจง อีกทั้งวัสดุต่างๆ มีภาษาที่แสดงออกเฉพาะของตัวมันเอง ทำให้เกิดวิธีการสื่อสารที่หลากหลาย ทั้งจากที่มาของมัน, คุณสมบัติทางกายภาพ, วิธีการประกอบสร้าง รวมถึงการตีความในเชิงสัญวิทยา จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ที่ว่างและวัสดุ เปรียบสเมือนเลนส์ที่มนุษย์สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการอ่านความเป็นสถานที่ได้ โดยสามารถสื่อสารได้  3 รูปแบบ คือ (1) การสื่อสารถึงความเป็นสถานที่โดยตรง ผ่านการใช้วัสดุที่มาจากสถานที่นั้นๆ หรือใช้รูปแบบของวิธีการก่อสร้างพื้นถิ่น (2) การสื่อสารถึงความเป็นสถานที่ผ่านการตีความกายภาพของที่ตั้ง อันเกิดจากการเลือกใช้วัสดุที่มีความสัมพันธ์กับการหยิบยืม หรือลอกเลียนแบบคุณลักษณะหรือรูปแบบบางอย่างของบริบท (3) การสื่อสารถึงความเป็นสถานที่ผ่านการสื่อสารเชิงนามธรรม เกิดการตีความความเป็นสถานที่และวัสดุที่ค่อนข้างซับซ้อนทั้งในมิติของประวัติศาสตร์ คุณสมบัติเชิงกายภาพของวัสดุ และความรู้สึกของมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการทำความเข้าใจความเป็นสถานที่ผ่านงานสถาปัตยกรรม เราต้องตระหนักถึงคุณลักษณะและบรรยากาศในงานสถาปัตยกรรมที่มีความหมายเฉพาะเจาะจง
Description: Master of Architecture (M.Arch)
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3181
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620220046.pdf7.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.