Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3184
Title: LOCAL MURAL PAINTING IN UPPER ISAN REGION DURING THE 24TH - 25TH BUDDHIST CENTURIES
จิตรกรรมฝาผนังพื้นถิ่นอีสานตอนบน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 24 - 25
Authors: Phongsak AKARAWATTHANAKUL
พงษ์ศักดิ์ อัครวัฒนากุล
SAKCHAI SAISINGHA
ศักดิ์ชัย สายสิงห์
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: จิตรกรรมฝาผนัง
พื้นถิ่น
อีสานตอนบน
MURAL PAINTING
LOCAL
NORTHERN ISAN
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The study of Local Mural Painting in upper Isan region during 24th – 25th Buddhist Centuries focuses on analyzing its stories, concepts, techniques and the presentation methods.  The result shows that local mural painting in upper Isan region was influenced and inspired by Thai traditional painting and mix with unique style of upper Isan painting. Mural painting inside vihara at Wat Phochai Napheung, Loei province, is the most important example of the mural painting in the 24th Buddhist Century which shows the blending between local style of painting and traditional one.  The layout of painting comes from the same concept of traditional painting and also presents the life style of Laos and Siam people and communities.  The stories in painting are not popular at that moment such as Life of Buddha : The Victory over Nanthopananda Naga or the story of the Past Buddhas.  The important result from this study is that the mural painting inside vihara at Wat Phochai Napheung may be designed to support the sermons of the last great incarnation of the Buddha since the mural painting shows the complete story half of the wall inside vihara. In the 25th Buddhist Century, the mural painting in upper Isan region was still influenced and inspired by traditional painting in concept, presentation methods, style and technique.  The obvious evidence is the appearance of the story of the last great ten lives of the Buddha, Ramayana and Suriwong which are not generally popular in Isan.  Moreover, the main characters in mural painting still show traditional postures, unique technique of Northern Isan and real architectures including real vehicles which were used at that time such as bicycle, train and airplane.  These paintings can be found at mural painting outside vihara at Wat Phochai Napheung, Loei province and Wat Putthasima,  Nakhon Phanom province.  Moreover, the mural painting during the 25th Buddhist century shows the improvement in style of upper  Isan region at Khong river in Nakhon Phanom and Mukdahan provinces.
งานวิจัยเรื่อง จิตรกรรมฝาผนังพื้นถิ่นอีสานตอนบนพุทธศตวรรษที่ 24 – 25 มุ่งเน้นวิเคราะห์เรื่องราว รูปแบบ เทคนิค และการแสดงออกทางเชิงช่างที่ปรากฏในงานจิตรกรรม โดยทำการวิจัยจากวัดที่ยังเหลืองานจิตรกรรมฝาผนังให้ศึกษาได้ ดังนี้ วัดโพธิ์ชัยนาพึง อ.นาแห้ว จ.เลย วัดโพธิ์ค้ำ วัดหัวเวียงรังษี วัดพุทธสีมา อ.ธาตุพนม จ.นครพนม วัดศรีมหาโพธิ์ และวัดลัฎฐิกวัน อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร ผลของงานวิจัยพบว่า จิตรกรรมฝาผนังอีสานตอนบนมีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนงานจิตรกรรมฝาผนังอีสานแถบอื่นๆ แสดงถึงการได้รับอิทธิพลและแรงบันดาลใจมาจากจิตรกรรมแบบไทยประเพณีผสมกับงานพื้นถิ่น  จิตรกรรมฝาผนังอีสานตอนบนช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 ที่แสดงให้เห็นถึงการได้รับอิทธิพลจากจิตรกรรมแบบไทยประเพณีมากกว่างานพื้นถิ่น ได้แก่ งานจิตรกรรมภายในวิหารวัดโพธิ์ชัยนาพึง อ.นาแห้ว จ.เลย วัดโพธิ์ค้ำ และวัดหัวเวียงรังษี อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ในขณะที่จิตรกรรมปลายพุทธศตวรรษที่ 25 แสดงลักษณะพื้นถิ่นมากกว่า ได้แก่ จิตรกรรมภายนอกวิหารวัดโพธิ์ชัยนาพึง อ.นาแห้ว จ. เลย วัดพุทธสีมา อ.ธาตุพนม จ.นครพนม วัดศรีมหาโพธิ์ และวัดลัฎฐิกวัน อ.หว้านใหญ่ จ. มุกดาหาร การนำเสนอเรื่องราวจิตรกรรมฝาผนังอีสานตอนบน นิยมแสดงเนื้อหาทั้งเรื่องแตกต่างจากจิตรกรรมฝาผนังอีสานโดยทั่วไป บางเรื่องเป็นเรื่องที่นิยมเขียนในจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยประเพณี เช่น อดีตพุทธ พุทธประวัติตอนพิมพาพิลาป ทศชาติ รามเกียรติ์ เป็นต้น นอกจากนี้ รูปแบบและเทคนิคทางช่างก็ยัง แสดงการได้รับอิทธิพลมาจากจิตรกรรมแบบไทยประเพณี เช่นการเขียนภาพบุคคลแบบนาฏลักษณ์ สถาปัตยกรรมแบบเหมือนจริง มีการทำแผนผังและการแบ่งภาพในงานจิตรกรรมอย่างเป็นระบบ งานจิตรกรรมฝาผนังอีสานตอนบนแสดงภาพสะท้อนวิถีชีวิตชาวบ้าน และสะท้อนเหตุการณ์ ประเพณี ที่เกิดขึ้นจริงในขณะนั้น เช่นภาพการคลอดลูก ประเพณีสู่ขวัญ ปรากฏภาพบุคคลแต่งกายแบบฝรั่ง และสิ่งของที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภคและพาหนะในการเดินทางที่เป็นของใหม่ ณ ขณะนั้น เช่น ไฟฟ้า รถไฟ จักรยาน และเครื่องบิน เป็นต้น อย่างไรก็ตามงานจิตรกรรมฝาผนังอีสานตอนบนยังคงแสดงออกถึงความเชื่อดั้งเดิมในเรื่องพญานาค เช่น พุทธประวัติตอนปราบนาคนันทโปนันทะ หรือแสดงภาพเมืองพญานาคผู้รักษาถาดของพระพุทธเจ้า เป็นต้น
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3184
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58107805.pdf44.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.