Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3292
Title: THE DEVELOPMENT OF A LEARNING MANAGEMENT MODELFOR THAI LITERATURE BASED ON ACTIVE LEARNING TO ENHANCE CREATIVE PROBLEM SOLVING SKILL AND LITERARY APPRECIATIONOF HIGH SCHOOL STUDENTS
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยตามแนวคิด Active Learningเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และความซาบซึ้งในวรรณคดีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Authors: Prajak NOINUAY
ประจักษ์ น้อยเหนื่อย
MAREAM NILLAPUN
มาเรียม นิลพันธุ์
Silpakorn University. Education
Keywords: รูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย
แนวคิด ACTIVE LEARNING
ความสามารถในการแก้ปัญหา
Learning Management Model for Thai Literature Based
Active Learning
Creative Problem Solving/Literary Appreciation
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were to: 1) develop and determine the efficiency of a learning management model for Thai literature based on active learning, 2) evaluate the effectiveness of a learning management model for Thai literature based on active learning, 3) disseminate a learning management model for Thai literature based on active learning. The mixed method research with embedded design was conducted. The samples consisted of 30 mattayom 6/2 (grade 12) students from Suankularb Wittayalai Thonburi School; moreover, the target population consisted of 20 mattayom 5/6 (grade 11) students from Matthayom Wat Nongkhaem school during the second semester of academic year 2020. The research instruments composed of a learning management model for Thai literature based on active learning, a manual, lesson plans, an assessment of creative problem solving, an assessment of literary appreciation, and satisfaction survey. The data was analyzed by mean, standard deviation, a dependent t-test, and content analysis. The results were as follows: 1) “ACTIVE model” was a learning management model for Thai literature based on active learning to enhance creative problem solving and literary appreciation of high school student. The principle of the model was to enhance students’ creative problem solving and literary appreciation which changed students’ role from the recipients to collaborators of building knowledge and exposing knowledge by doing. The objective was to enhance creative problem solving and literary appreciation. The model was consisted of six learning steps. Those were 1) A: Activating learners thinking process, 2) C: Considering the content with three sub-steps (Analyzing the content, Appreciating the literature, and Identifying the problems), 3) T: Trying the solutions with two sub-steps (Discussing and Finding new solutions), 4) I: Ideating best solutions, 5) V: Verifying for appreciation, and 6) E: Expanding knowledge. The model was approved to conduct to the samples.   2) The effectiveness of the ACTIVE model indicated that 2.1) the students’ creative problem-solving ability after implementing the model were higher than before attending to the class at a .05 significance level, 2.2) after implementing the model, the students’ creative problem-solving ability were continually higher, 2.3) the students assimilated the literary appreciation after implementing the model, and 2.4) the students’ satisfaction of the model were in the level of strongly agree.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยตามแนวคิด Active Learning 2) ประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยตามแนวคิด Active Learning และ3) ขยายผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยตามแนวคิด Active Learning ดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนาโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธีที่มีลักษณะเป็นแบบแผน เชิงผสมผสานแบบรองรับภายใน (The Embedded Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี กลุ่มขยายผลการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 จำนวน 20 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย ตามแนวคิด Active Learning คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถ ในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ แบบวัดความซาบซึ้งในวรรณคดีไทย และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และความซาบซึ้งในวรรณคดีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีชื่อว่า “ACTIVE Model” หลักการมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และความซาบซึ้งในวรรณคดีไทยผู้เรียนเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้และแสดงความรู้ ด้วยการลงมือปฏิบัติ วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และความซาบซึ้ง ในวรรณคดีไทยประกอบด้วย 6 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความคิด (A: Activating) ขั้นที่ 2 พินิจเนื้อหา (C: Concentrating) มี 3 ขั้นตอนย่อย คือ 2.1 อ่านแบบวิจักษ์ (Analyzing) 2.2 ตระหนักในคุณค่า (Appreciating) 2.3 ระบุปัญหาที่พบ (Identifying) ขั้นที่ 3 พิจารณาแนวทางแก้ไข (Trying the solutions) แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 3.1 ร่วมสนทนา (Discussing) และ 3.2 ค้นหาวิธีแก้ปัญหาใหม่ (Finding new solutions) ขั้นที่ 4 เลือกใช้วิธีที่เหมาะควร (I: Ideating best solutions) ขั้นที่ 5 ทบทวนความเป็นไปได้ (V: Verifying for appreciation) และขั้นที่ 6 ขยายความรู้สู่ชุมชน (E: Expanding) มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ได้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง 2) ประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า 2.1) หลังใช้รูปแบบนักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2.2) หลังใช้รูปแบบนักเรียนมีพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สูงขึ้นอย่าต่อเนื่อง 2.3) หลังใช้รูปแบบนักเรียนมีความซาบซึ้ง ในวรรณคดีไทย และ 2.4) นักเรียนมีพึงพอใจต่อรูปแบบอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด 3) ผลการขยายผลรูปแบบพบว่า หลังใช้รูปแบบนักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 นักเรียนมีความซาบซึ้งในวรรณคดีไทย และมีความพึงพอใจ ต่อรูปแบบอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3292
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60253908.pdf16.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.