Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3302
Title: A STUDY OF LOCAL HISTORY OF KHLONG KRACHAENG DISTRICT FOR HIGH SCHOOL STUDENTS USING SSAS MODEL
การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคลองกระแชงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SSAS
Authors: Sakanya TALUENGJIT
สกัญญา ตลึงจิตร
Sasiphat Champa
ศศิพัชร จำปา
Silpakorn University. Education
Keywords: รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SSAS
การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
กระบวนการสร้างองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์
SSAS MODEL
LOCAL HISTORY TEACHING
CONSTRUCTING HISTORICAL KNOWLEDGE
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this research were to 1) compare the learning outcomes on local history of Khlong Krachaeng district of high school students before and after the participation in the learning management using SSAS model 2) study the development of constructing Historical Knowledge of the high school students participation in the learning management local history of Khlong Krachaeng district using SSAS model 3) study the opinion of high school students participation in the learning management about local history of Khlong Krachaeng district using SSAS model. The sample of this research consisted of 38 . The instruments employed to collect data were: 1) unit plans   2) a learning achievement test 3) a constructing Historical Knowledge test and 4) a questionnaire on the opinion of high school students participation in the learning management . The collect data was analyzed by t-test , mean  and standard deviation  The finding were as follows:           1. The learning outcomes on local history of Khlong Krachaeng district of the high school students participation in the learning management using SSAS model  after using was higher than before at the level of .05 significance.           2. The development of constructing Historical Knowledge in the learning management using SSAS model was developed to higher level.           3. The opinion of high school students participation in the learning management using SSAS model was at the highest level of agreement.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคลองกระแชงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SSAS ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) ศึกษาพัฒนาการของกระบวนการสร้างองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SSAS และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคลองกระแชงตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SSAS ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5/12 โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี  ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2563  จำนวน 38 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1)  แผนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคลองกระแชงตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SSAS 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ 3) แบบวัดกระบวนการสร้างองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า           1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคลองกระแชงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SSAS หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05           2. ผลการศึกษากระบวนการสร้างองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SSAS มีพัฒนาการสูงขึ้น           3. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคลองกระแชงตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SSAS อยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3302
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60262319.pdf5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.