Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3411
Title: | A STUDY OF FACTORS FOR CHEMICAL COST REDUCTION IN THE BRAKE PAD MANUFACTURING PROCESS การศึกษาปัจจัยเพื่อลดต้นทุนผงเคมีในการผลิตผ้าเบรก |
Authors: | Sorawich SUWANAGSORN สรวิชญ์ สุวรรณอักษร CHOOSAK PORNSING ชูศักดิ์ พรสิงห์ Silpakorn University. Engineering and Industrial Technology |
Keywords: | ผ้าเบรก ค่าความเผื่อของชิ้นงาน การออกแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียลเต็มรูปที่ 2 ระดับ การออกแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียลเต็มรูปที่ 3 ระดับ Brake Pad Tolerances 2k Full Factorial Design 3k Full Factorial Design |
Issue Date: | 18 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The case study company had a surplus chemical powder from brake pad manufacturing processes at 180,000 kilogram per year or 15.84% of all chemical powder in manufacturing processes and was resulting high manufacturing cost. The cost of a surplus chemical powder was about 13 million baht per year. The objective of this research was to find the cause and reduced a surplus chemical powder from brake pad manufacturing processes. Brainstorming of case study company experts found cause of a surplus chemical powder in brake pad manufacturing from necessary tolerance weight of chemical powder in the production so that no problem in production: 1) variation of thickness in grinding process 2) variation of thickness in hot press process and 3) variation of slotting process and chamfering process. After that break pad thickness variation problem was analyzed preliminary affect factor by Why-Why Analysis. And factors were analyzed for decide which factors affected the problem by 2k Full Factorial Design experiment. The factors that were obtained were then tested in 3k Full Factorial Design to find the optimal levels of various factors. In conclusion, the optimum level of each factor from the experiment can be reduced chemical powders by 8.75% in the brake pads production and can be reduced cost by 2.60% in brake pad manufacturing processes. บริษัทกรณีศึกษามีปริมาณของผงเคมีที่เหลือจากกระบวนการผลิตผ้าเบรกมากถึง 180,000 กิโลกรัมต่อปี หรือประมาณ 15.84% ของปริมาณวัตถุดิบเคมีที่ใช้ในการผลิต ซึ่งส่งผลให้มีต้นทุนการใช้ผงเคมีในการผลิตผ้าเบรกเพิ่มสูงขึ้นคิดเป็นมูลค่าวัตถุดิบเคมีที่สูญเสียไปประมาณ 13 ล้านบาทต่อปี ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุของปัญหาที่ส่งผลให้มีปริมาณผงเคมีที่เหลือใช้จากการผลิตผ้าเบรก และเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้มีปริมาณผงเคมีที่เหลือจากกระบวนการผลิตผ้าเบรกลดลง โดยจากการระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญของทางบริษัทกรณีศึกษาพบว่า สาเหตุของปริมาณผงเคมีที่เหลือจากการผลิตเป็นจำนวนมากนั้น เกิดจากในกระบวนการผลิตผ้าเบรกมีความจำเป็นต้องเผื่อน้ำหนักผงเคมีไว้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการผลิต ได้แก่ 1) ค่าเผื่อความผันแปรของความหนาชิ้นงานในกระบวนการฝนตกแต่ง 2) ค่าเผื่อความผันแปรของความหนาชิ้นงานในกระบวนการอัดขึ้นรูปร้อน และ 3) ค่าเผื่อเนื้อชิ้นงานสำหรับการผ่าร่องและการลบมุม จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์เพื่อค้นหาปัจจัยเบื้องต้นที่อาจจะส่งผลกระทบต่อความผันแปรของขนาดความหนาชิ้นงาน โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ปัญหา Why-Why Analysis และนำปัจจัยเหล่านั้นไปทำการออกแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียลเต็มรูปที่ 2 ระดับ (2k Full Factorial Design) เพื่อค้นหาปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบอย่างแท้จริง และนำปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบอย่างแท้จริงนั้นไปทำการออกแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียลเต็มรูปที่ 3 ระดับ (3k Full Factorial Design) เพื่อหาค่าระดับที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัย ซึ่งค่าระดับที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัยที่ได้จากการทดลองนั้น เมื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิตจริงสามารถลดปริมาณการใช้ผงเคมีในการผลิตผ้าเบรกลดลงได้ 8.75% ทำให้สามารถลดต้นทุนในการผลิตผ้าเบรกลงได้ 2.60% |
Description: | Master of Engineering (M.Eng.) วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3411 |
Appears in Collections: | Engineering and Industrial Technology |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61405315.pdf | 5.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.