Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3504
Title: Buddhist Banner of Tai: Yuan Lue and Lao in Thailand
ตุง พุทธศิลป์คนไต: ยวน ลื้อและลาวในประเทศไทย
Authors: Natchanoke TAENGTABTIM
เนตรชนก แตงทับทิม
SAKCHAI SAISINGHA
ศักดิ์ชัย สายสิงห์
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: ตุง ยวน ลื้อ ลาว
BUDDHIST BANNER YUAN LUE LAO
Issue Date:  26
Publisher: Silpakorn University
Abstract: 1. A kind of Tung that not depicted motif appears to be the basis of all ethnic groups. Tung Tai Yuan has limitations in creating motifs. Tung Tai Lue and Laos, both Isan and Tai Lao in the Central region, large number of motifs appeared in Tung. 2.Tung Tai Yuan depict the image as symbolic but Tung of Tai Lue demonstration of traditional rituals related to Funeral procession and is associated with the worship of ancestors which is traditional belief. Tung Lao Isan mostly display an illustration of the Jataka named Vessantara. 3.Tung in some localities has been used to express and record the local social history by the female weaver. This is the movement of function, shifting from the offering object to other purposes and in the second half of the 21th century, Tung tends to be used more in the decorative basis.
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด คติที่มา รูปแบบศิลปกรรมและเทคนิคศิลปกรรมของตุง โดยเลือกศึกษาในกลุ่มคนไต ได้แก่ ยวน ลื้อและลาวในประเทศไทย จากการศึกษา สรุปได้ผลการศึกษาได้ ดังนี้ 1.ตุงแบบที่ไม่ปรากฏรูป ปรากฏเป็นพื้นฐานของตุงของทุกชาติพันธุ์ โดยตุงไตยวน มีข้อจำกัดในการสร้างรูปแม่ลาย ส่วนตุงไตลื้อและลาว ทั้งลาวอีสานและไตลาวภาคกลาง ปรากฏตุงแบบปรากฏแม่ลายเป็นจำนวนมาก 2.ตุงของชาวไตยวน แสดงภาพเป็นภาพสัญลักษณ์ ส่วนตุงของชาวไตลื้อ แสดงภาพจำลองประเพณีพิธีกรรม ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับปราสาทศพ ขบวนแห่และมีความเกี่ยวข้องกับการบูชาบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิม ส่วนทุงลาวอีสาน แสดงภาพแบบภาพประกอบ ชาดกเรื่องเวสสันดรเป็นสำคัญ 3.ตุงในบางท้องถิ่น ได้ถูกใช้เป็นพื้นที่ในการแสดงออกและบันทึกประวัติศาสตร์ทางสังคมของท้องถิ่น โดยช่างทอสตรีในชนบทซึ่งนับว่า เป็นการคลี่คลายและเปลี่ยนแปลง จากการเป็นเครื่องสักการะ การถวายเป็นเครื่องบูชา ใช้ในงานเฉลิมฉลองสมโภชหรือเครื่องตกแต่งซึ่งเป็นประโยชน์ใช้สอยมาแต่เดิม ไปสู่ความหมายอื่นและในช่วงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 26 มีแนวโน้มถูกใช้ในงานประดับตกแต่งมากขึ้น
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3504
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61107802.pdf45.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.